วารสารวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/sport en-US วารสารวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา 0859-6633 ประโยชน์ที่แท้จริงของการเล่นกีฬาและการสร้าง (True Benefits of Playing Sport and How to Make It) https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/sport/article/view/6909 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเล่นกีฬาเพื่อการแข่งขัน คนเรามักมองว่าเป็นเรื่องของชัยชนะและรางวัลตามด้วยเรื่องของสุขภาพและสังคม แต่ในความเป็นจริงแล้วกีฬาเพื่อการแข่งขันประโยชน์มากกว่านั้น ประโยชน์ที่แท้จริงของการเล่นกีฬาเพื่อการแข่งขัน คือ คุณค่าที่ได้จากการหล่อหลอมตัวเองจนเป็นคนที่มีความสามารถ เป็นคนที่มีคุณค่าในตัวคน ซึ่งเกิดจากการมุมานะ อดทน ตั้งใจ ตรงเวลา รับผิดชอบ มองโลกในทางบวก และจัดการแก้ปัญหาได้ สิ่งเหล่านี้เกิดในนักกีฬาเก่งทุกคน ซึ่งหลักการนี้สอดคล้องกับการเกิดแรงจูงใจตามลำดับความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์ (Maslow&rsquo;s Hierarchy of Need) บทความนี้ได้โยงใยการเป็นนักกีฬากับทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ เพื่อให้เห็นถึงประโยชน์ที่แท้จริงของการเป็นนักกีฬาและการสร้างให้บรรลุเป้าหมายที่แท้จริง ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงต้องมีความเข้าใจและนำไปใช้ตามบทบาทหน้าที่ของตัวเองเพื่อให้บรรลุตามความต้องการของนักกีฬา และเกิดความสำเร็จและเกิดประโยชน์ที่แท้จริงกับการเป็นนักกีฬา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; Objectives of playing sport among people seen to generally focus on winning and rewards. In fact, sport participation for competition is more than that just simple intention. Sport for competition can provide great opportunities to build value in every athlete through their hard work, commitment, responsibility, positive thinking, and problem solving. One of the theories that can be explained the process of self-valued orientation is Maslow&rsquo;s Hierarchy of Need theory. The paper tries to link Maslow&rsquo;s theory and application to people involved. It is important that we need to understand this connection and know how to use it to not only building good athletes but also as a good person.</p> นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร Copyright (c) 11 2 1 6 การพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบสอบถามทักษะการจัดการความเครียดทางกีฬา ฉบับภาษาไทย https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/sport/article/view/6910 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบสอบถามทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักกีฬาเยาวชนไทยที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 35 จำนวน 764 คน เพศชาย จำนวน 403 คน และเพศหญิง จำนวน 361 คน อายุระหว่าง 8-19 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬา (The Athletics Coping Skills Inventory &ndash; 28: ACSI &ndash; 28) (Smith, Schutz, Smoll, &amp; Ptacek, 1995) มีจำนวน 28 ข้อ แบ่งเป็น 7 ด้าน คือ การจัดการกับปัญหา การยอมรับคำแนะนำ สมาธิ ความเชื่อมั่นและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การตั้งเป้าหมายและการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจการแสดงความสามารถสูงสุดภายใต้ความกดดัน และอิสระจากความกังวล การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการแปลกลับจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยผลการแปลกลับมีความถูกต้องและมีความเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้กับนักกีฬาเยาวชนไทย สถิติที่ใช้การในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ที่ดี (X2/df = 1.12, RMSEA = 0.018, NNFI = 0.99, CFI = 0.99, RMR = 0.026, GFI = 0.93, AGFI = 0.92) โดยทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬา ประกอบด้วย 7 ด้าน คือ การจัดการกับปัญหา การยอมรับคำแนะนำ สมาธิ ความเชื่อมั่นและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การตั้งเป้าหมายและเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ การแสดงความสามารถสูงสุดภายใต้ความกดดัน และอิสระจากความกังวล มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแบบสอบถามทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬา ฉบับภาษาไทย สามารถใช้ประเมินทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬาได้</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The purpose of this study was to develop and validate of athletics coping skills inventory (ACSI). The subjects were 764 athletes (403 males and 361 females) who participated in the 35<sup>th</sup> Student sport games in Thailand, 2014. These students were aged from 8 to 19 years. The athletics coping skills inventory was developed by Smith, Schutz, Smoll and Ptacek (1995) consisted of 28 items for seven factors; coping with adversity, coach ability, concentration, confidence and achievement motivation, goal &ndash; setting and mental preparation, peaking under pressure, and freedom from worry and translated into Thai language. Result indicated that the athletics coping skills inventory: Thai versions were correct and appropriate for Thai youth athletes. Data were analyzed using the mean, percentage, frequency, cronbach&rsquo;s alpha coefficient and confirmatory factor analysis. This questionnaire was administered in the subjects&rsquo; sport competition. A confirmatory factor analysis revealed that the good fit model (X2/df = 1.12, RMSEA = 0.018, NNFI = 0.99, CFI = 0.99, RMR = 0.026, GFI = 0.93, AGFI = 0.92). The athletics coping skills consists of seven factors: coping with adversity, coach ability, concentration, confidence and achievement motivation, goal &ndash; setting and mental preparation, peaking under pressure, and freedom from worry. Alpha reliability was a 0.75. These analyses indicated that the Thai version ACSI questionnaire is a better fit and more powerful indicator for athletics coping skills.</p> สุพัชริน เขมรัตน์ อภิลักษณ์ เทียนทอง นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร Copyright (c) 11 2 7 20 กิจกรรมทางกาย...สู้การสร้างสังคมสุขภาพ https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/sport/article/view/6911 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &ldquo;กิจกรรมทางกาย&rdquo; (Physical Activity) คือ การทำกิจกรรมเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อหลักส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำให้มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นจากภาวะปกติขณะพัก การเคลื่อนไหวร่างกายใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเดินทาง หรือกิจกรรมนันทนาการ ล้วนเป็นกิจกรรมทางกายซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะการออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬาเท่านั้น การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมทางกายจะช่วยลดพฤติกรรมแน่นิ่งหรือพฤติกรรมเนื่อยนิ่ง (Sedentary Behavior) ในชีวิตประจำวัน และสามารถสร้างเสริมสุขภาพที่ดีได้ ตัวอย่างการเริ่มต้นสร้างกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันให้ตนเอง เช่น การเดิน การทำงานบ้าน การใช้บันไดแทนการขึ้นลิฟต์หรือบันไดเลื่อน การลุกเดินหรือลุกยืนสลับไปมาเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถการบริหารร่างกายง่ายที่โต๊ะทำงาน วันนี้หากเราตั้งใจที่จะขยับร่างกายเท่ากับท่านได้เริ่มต้นมีกิจกรรมทางกาย</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; Physical Activity is a movement part of the core muscle of our body with an increase amount of energy expense. This movement includes daily work, travelling, or any recreational activity. In addition, this activity is not limited only exercise of sport for health of competition. Understanding physical activity will help reducing our sedentary behavior in our daily life. In the opposite, it helps increasing a healthy life style. An example of having physical activity daily are walking, household work, using stairway instead of elevator, walk/ stand-up movement, and easy physical exercise at your desk. Intent to move today is equal to the beginning of physical activity.</p> วรรณี เจิมสุรวงศ์ Copyright (c) 11 2 21 31