วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/search2 en-US วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา 1685-6740 การเพิ่มเชาวน์ปัญญาด้านภาษาศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาด้วยโปรแกรมฝึกความสามารถด้านการใช้ภาษา: การศึกษาเชิงคลื่นไฟฟ้าสมอง https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/search2/article/view/6820 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมฝึกความสามารถด้านการใช้ภาษา สร้างแบบวัดเชาวน์ปัญญาด้านภาษาศาสตร์ ศึกษาผลของโปรแกรมฝึกความสามารถด้านการใช้ภาษาโดยเปรียบเทียบความแตกต่างของคลื่นไฟฟ้าสมองจากการทำแบบวัดเชาวน์ปัญญาด้านภาษาศาสตร์ ก่อนกับหลังฝึกด้วยโปรแกรมฝึกความสามารถด้านการใช้ภาษาและทดสอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและเชาวน์ปัญญาทั่วไปที่มีผลต่อคลื่นไฟฟ้าสมองหลังฝึกด้วยโปรแกรมฝึกความสามารถด้านการใช้ภาษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 81 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม (กลุ่มละ 19-21 คน) โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ 2x2 Factorial pretest and posttest Design (Between subjects) กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัย เก็บรวมรวมข้อมูลจากกิจกรรมการทดสอบผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วยแบบวัดเชาวน์ปัญญาด้านภาษาศาสตร์และวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) สถิติที่ใช้ได้แก่ การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และค่าขนาดอิทธิพล<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมฝึกความสามารถด้านการใช้ภาษาที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มเชาวน์ปัญญาด้านภาษาศาสตร์ได้จริง ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยพลังงานสัมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าสมองหลังฝึกสูงกว่าก่อนฝึก เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศหลังฝึกเพศชายมีคลื่นไฟฟ้าสมองสูงกว่าเพศหญิง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเชาวน์ปัญญาทั่วไปหลังฝึกกลุ่มที่มีเชาวน์ปัญญาทั่วไปต่ำมีคลื่นไฟฟ้าสมองสูงกว่ากลุ่มที่มีเชาวน์ปัญญาทั่วไปสูงมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับเชาวน์ปัญญาทั่วไปต่อคลื่นไฟฟ้าสมองช่วงความถี่ Gamma ที่ตำแหน่ง F3</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; This research aimed to create a language comprehension training program create a linguistic intelligence test and to study the results of the language comprehension training program. The study was comparing the differences in the EEG from making linguistic intelligence test before and after training with language comprehension training programs. The final study were testing of interactions between gender and general intelligence that affected on the EEG post-training with language comprehension training program. There are 81 students in sample group divide into 4 groups (19-21 per group) using 2x2 Factorial Pretest and Posttest Design (Between Subjects). The subjects were volunteers to participate in the research. Collected data from test activities via computer screen with linguistic intelligence test and EEG measurement. Statistics used are t-test dependent Two-way ANOVA and effect size.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The results of the research showed that the language comprehension training program could increase linguistic intelligence. In the overall the sample group had the absolute EEG after training was higher than before training. The EEG of boys were higher than girls. The EEG of low general intelligence groups were higher than high general intelligence groups. There were interaction between gender and general intelligence on the Gamma brain waves at position F3.</p> สุวารินทร์ ถิ่นทวี ภัทราวดี มากมี พีร วงศ์อุปราช Copyright (c) 17 2 1 18 ผลของการปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ที่มีต่อการควบคุมอารมณ์: การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/search2/article/view/6821 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สมาธิมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และผลของการฝึกสมาธิคือการสร้างความสมดุลทางร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ ดังนั้นในการวิจัยนี้มุ่งพัฒนาวิธีปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจและการปฏิบัติสมาธิแบบนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ที่มีต่อการควบคุมอารมณ์ และเพื่อศึกษาผลของการฝึกปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจและการปฏิบัติสมาธิแบบนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ที่มีต่อการควบคุมอารมณ์ ด้วยการ (1) เปรียบเทียบการควบคุมอารมณ์ จากการศึกษาเชิงพฤติกรรมระหว่าง การปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจ และการปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบการควบคุมอารมณ์ จากการศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง ระหว่างการปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจและการปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ วิเคราะห์ลักษณะคลื่นไฟฟ้าสมองขณะนั่งสมาธิของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครเข้าร่วมการทดลอง มีอายุระหว่าง 18-23 ปี จำนวน 42 คน ประกอบด้วย กลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจ (กลุ่มควบคุม) จำนวน 21 คน และกลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ (กลุ่มทดลอง) จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบรายงานการควบคุมอารมณ์ และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองระบบ Neuroscan และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยปรากฏว่า<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. ผลการพัฒนาวิธีปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจและวิธีปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์มีความเหมาะสมซึ่งส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพลังงานคลื่นไฟฟ้าสมอง<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. ผลเปรียบเทียบการควบคุมอารมณ์จากการศึกษาเชิงพฤติกรรม (1) ก่อนการทดลอง เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการควบคุมอารมณ์ พบว่า ด้านความยากลำบากในการควบคุมแรงกระตุ้นในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) หลังการทดลอง เปรียบเทียบการควบคุมอารมณ์ 6 มิติ พบค่าเฉลี่ยในกลุ่มควบคุมมากกว่ากลุ่มทดลอง<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. ผลเปรียบเทียบการควบคุมอารมณ์จากการศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง (1) การปฏิบัติสมาธิในกลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจ และกลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพลังงานคลื่นไฟฟ้าสมองคลื่นเธต้า (Theta) ช่วงเวลาพื้นฐาน (Baseline) ที่ตำแหน่งอิเล็กโทรด FZ TP7 CP1 (2) การปฏิบัติสมาธิในกลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบนับลมหายใจและกลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพลังงานคลื่นไฟฟ้าสมองคลื่นอัลฟ่า (Alpha) ช่วงเวลาพื้นฐาน (Baseline) ที่ตำแหน่งอิเล็กโทรด (N/A) อธิบายคือไม่พบผลกระตุ้นจากการปฏิบัติสมาธิทั้ง 2 วิธี สรุปการฝึกสมาธิแบบนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคลื่นเธต้าแต่ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคลื่นอัลฟ่า</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;Meditation is very important to human life. It creates physical and mental balancing. This research, therefore, aimed to develop mindfulness on breathing along with listening to binaural beats, and to study the effect of the proposed method on emotional control. The effect of the proposed method was compared with the normal mindfulness on breathing (control group) by considering on the emotion regulation score and the EEG power spectrum. Forty-two volunteer students, aged 18-23 years old, participated in this study. All of them were randomly assigned into two groups; 21 students in experimental group and 21 students in control group. The students in experimental group was trained to follow the mindfulness on breathing along with listening to binaural beats and control group practiced the normal mindfulness on breathing meditation. The research instruments consisted of an emotion regulation self-assessment and EEG recording in Neuroscan system. The descriptive statistics and <em>t</em>-test were analyzed in this study.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The research results show that:<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. The mindfulness on breathing along with listening to binaural beats and normal mindfulness on breathing meditation significantly effected on emotion regulation scores and also changing in brain waves.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. The results on emotional regulation showed that (1) there was significantly different on impulse control difficulties scores between 2 groups in pre-experimental stage, (2) the students in control group demonstrated significantly higher emotional regulation scores in 6 aspects after completing practicing period.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. The result on EEG waves in post test showed that (1) there were significant different in theta wave at three points of electrodes in baseline stage, including FZ, TP7 and CP1, (2) both groups did not present difference in alpha wave at baseline stage.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; In conclusion, the mindfulness on breathing meditation with binaural beats does not have an effect on the changing of theta and alpha wave.</p> วีรชัย คำธร ปรัชญา แก้วแก่น พีร วงศ์อุปราช Copyright (c) 17 2 19 37 การบูรณาการพหุประสาทสัมผัสร่วมกับการดูแลทารกแบบแกงการูต่อความสามารถทางปัญญาในทารกวัย 2 เดือน https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/search2/article/view/6822 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การบูรณาการพหุประสาทสัมผัสร่วมกับการดูแลทารกแบบแกงการูได้ถูกพัฒนาขึ้นบนรากฐานของ 3 องค์ความรู้เกี่ยวกับช่วงเวลาแห่งโอกาส วงจรการหลับ-การตื่น และทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ร่วมกับแบบจำลองนิเวศวิทยาเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางปัญญาในทารกแรกเกิด การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการบูรณาการพหุประสาทสัมผัสร่วมกับการดูแลทารกแบบแกงการูต่อความสามารถทางปัญญาในทารกวัย 2 เดือน โดยศึกษาจากพฤติกรรมการมองสิ่งคุ้นชินเมื่อทารกอายุ 1 และ 2 เดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกแรกเกิดคลอดปกติ อายุครรภ์ครบกำหนด และสุขภาพดี จำนวน 46 คน จัดเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 24 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 22 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับการส่งเสริมการบูรณาการพหุประสาทสัมผัสร่วมกับการดูแลทารกแบบแกงการูอย่างต่อเนื่องนาน 2 เดือน กลุ่มควบคุมได้รับการส่งเสริมการดูแลทารกแบบแกงการูอย่างต่อเนื่องนาน 2 เดือน วัดเวลามองรวมและการมองซ้ำจากการทดสอบการมองสิ่งคุ้นชิน วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติทดสอบที สถิติทดสอบเอฟและการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียวแบบวัดซ้ำผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเวลามองรวม จำนวนการมองซ้ำ ระหว่างทารกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเวลามองรวมและจำนวนการมองซ้ำน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการศึกษาสนับสนุนว่า แผนการบูรณาการพหุประสาทสัมผัสร่วมกับการดูแลทารกแบบแกงการูที่พัฒนาขึ้นนี้มีความเหมาะสมในการเสริมสร้างความสามารถทางปัญญาในทารกแรกเกิด</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;The multisensory integration with kangaroo mother care (MSI-KMC) program was deliberated seriously base on three dimensions: window of opportunity, sleep pattern in accordance with circadian rhythm, and Piaget&rsquo;s theory and ecological model, to enhance cognitive performance among newly born infants. This study aimed to elucidate the effects of multisensory integration with kangaroo mother care onto the early cognitive performance among two-month old infants. Visual habituation behavior was applied to determine such performance at the corrected age of one and two months old. Forty-six healthy term infants were recruited and assigned randomly into either experimental group or control group. The experimental group consisted of twenty four respondents receiving MSI-KMC intervention whereas the control group consisted of twenty two respondents receiving KMC intervention. Both groups practiced such assigned intervention for two months long interval. Consequently, total look duration and number of habituation trials were assessed and analyzed. Statistical t-test, F-test and one way repeated measure MANOVA were employed to test research hypotheses. The findings emerged accordingly. The experimental group had lower mean scores of the total look duration and the number of habituation trials than the control group significantly at p&lt;.01. The MSI-KMC program, therefore, could potentially be used to stimulate and advocate infants&rsquo; cognitive performance development.</p> วัชรี นุ่มประเสริฐ พีร วงศ์อุปราช พีร วงศ์อุปราช ปิยะทิพย์ ประดุจพรม Copyright (c) 17 2 38 54 การพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวของนักเรียนระดับประถมศึกษาด้วยโปรแกรม ไอเพกส์ https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/search2/article/view/6823 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอนาคตเพราะการดำรงชีวิตมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอันเกิดจากการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโปรแกรมไอเพกส์ (IPEGs Program: Innovation Program for Exercise Games) เพื่อพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลจุมพลโพนพิสัยการพัฒนากิจกรรมโปรแกรมไอเพกส์ ประกอบด้วย การศึกษาการเรียนรู้ด้วยตนเอง การสังเคราะห์เอกสาร การสร้างรูปแบบกิจกรรมโปรแกรมไอเพกส์มี 3 กิจกรรม คือ (1) การฝึกสมรรถภาพทางจิต (2) การฝึกสมรรถภาพทางกาย และ (3) การผ่อนคลาย และนำไปใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 80 คน 4 กลุ่มทดลอง โดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนตอบถูกจากแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว Flanker Task ก่อนและหลังการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และ two-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ย คะแนนความถูกต้องจากแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา จำแนกตามเพศและจำแนกตามระดับไอคิว ระหว่างก่อนกับหลังการใช้โปรแกรมไอเพกส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเพศชายระดับไอคิวสูงกว่าเพศหญิงนอกจากนี้ ระดับไอคิวสูงและต่ำมีปฏิสัมพันธ์ต่อเชาวน์ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว แต่เพศชายและเพศหญิงไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อเชาวน์ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวรวมทั้ง เพศกับระดับไอคิวไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันกับเชาวน์ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวของนักเรียนระดับประถมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The development of bodily-kinesthetic Intelligence is important to human life in the future because living in the future is at risk of chronic non-communicable diseases caused by sedentary behavior. The purposes of this study were to create IPEGs Program for enhance Bodily-Kinesthetic Intelligence in Anubanjumphol Phonpisaiprimary school students. The process to development IPEGs program consisted of a review of literature, the design of the learning activity. There are three activities in IPEGs program (1) mental fitness training (2) physical fitness training and (3) relaxation. This program had been use for grade 5, 80 students, 4 experimental groups by comparing the mean scores of the correct answers from the Flanker Task intelligence test before and after the experiment. Data analysis using t-test and two-way ANOVA. The result show that mean score of accuracy from bodily-Kinesthetic Intelligence through computer of primary school students classified by gender and IQ level between before and after using the IPEGs program, there was a statistically significant difference at .01 level. In which males have higher IQ levels than females. In addition, high and low IQ levels interact with intelligence and physical movements. However, males and females do not interact with physical intelligence and movement, including sex and IQ levels do not interact with physical intelligence and movement of elementary school students. Statistical significance at the level of .01</p> ประเสริฐ ทองทิพย์ ปรัชญา แก้วแก่น Copyright (c) 17 2 55 68 การวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของโทลูอีนที่มีผลต่อการเรียนรู้และความจำระยะยาวของหนูทดลองและพนักงานที่สัมผัสโทลูอีนความเข้มข้นต่ำเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/search2/article/view/6824 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษานี้มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบทางด้านการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำจากการสัมผัสโทลูอีนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของโทลูอีนที่รับสัมผัสแล้วส่งผลต่อพฤติกรรมทางระบบประสาทและสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับความจำในสัตว์ทดลองเพื่อวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของโทลูอีนที่รับสัมผัสแล้วส่งผลต่อการเกิดภาวะความจำบกพร่องและการเปลี่ยนแปลงของสารชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับความจำในมนุษย์และเพื่อศึกษาสหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างผลการประเมินความจำเบื้องต้นด้วยแบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทยกับสารชีวเคมีในร่างกายของพนักงานที่สัมผัสโทลูอีนแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะการศึกษาในสัตว์ทดลอง ใช้หนูเมาส์จำนวน 20 ตัว และระยะการศึกษาในพนักงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมรถยนต์ จำนวน 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Independent sample t-test, Paired sample t-test, One-way ANOVA และ Multiple correlation analysis<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัย พบว่าหนูกลุ่มทดลองที่สัมผัสโทลูอีนความเข้มข้น 50 ส่วนในล้านส่วน (t=3.29, p=.03) และหนูกลุ่มทดลองที่สัมผัสโทลูอีนความเข้มข้น 100 ส่วนในล้านส่วน (t=3.81, p=.02) มีค่าเฉลี่ยดัชนีการจดจำลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังรับสัมผัสโทลูอีน นอกจากนั้นยังพบว่า หนูกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสัมผัสโทลูอีนมีระดับของสารโดปามีน (Dopamine) ในสมองต่ำกว่าหนูกลุ่มทดลองที่สัมผัสโทลูอีนความเข้มข้น 50 ส่วนในล้านส่วน (MD=-45.35, p&lt;.05) ความเข้มข้น 100 ส่วนในล้านส่วน (MD=-35.28, p&lt;.05) และความเข้มข้น 150 ส่วนในล้านส่วน (MD=-34.77, p&lt;.05) แต่ไม่พบความแตกต่างของระดับของสารเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมองหนูกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองทุกกลุ่ม (F=.932, p=.450) ส่วนระดับของสารชีวเคมีในร่างกาย ได้แก่ โคเลสเตอรอลในเลือด (t=.27, p=.79) และเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลในเลือด (t=-1.37, p=.18) ระหว่างพนักงานที่สัมผัสโทลูอีนความเข้มข้น 50 ส่วนในล้านส่วนกับพนักงานที่ไม่สัมผัสโทลูอีน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน และค่าความสมบูรณ์ของเลือด ได้แก่ ระดับเซลล์เม็ดเลือดขาว (t=-1.11, p=.27) ระดับฮีโมโกลบิน (t=.87, p=.39) ระดับฮีมาโทคริต (t=1.02, p=.31) ระดับเกล็ดเลือด (t=-81, p=.42) ระหว่างพนักงานที่สัมผัสโทลูอีนความเข้มข้น 50 ส่วนในล้านส่วนกับพนักงานที่ไม่สัมผัสโทลูอีน พบว่า ไม่มีความแตกต่าง นอกจากนั้นยังพบว่าผลการประเมินความจำเบื้องต้นด้วยแบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย ระหว่างกลุ่มพนักงานที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการพ่นสีรถยนต์ที่มีการสัมผัสโทลูอีนความเข้มข้นประมาณ 50 ส่วนในล้านส่วนเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่า ไม่แตกต่างกัน (t=-.53, p=.60) อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นในการศึกษาในตัวอย่างเปิด โดยเฉพาะผู้ที่มีโอกาสรับสัมผัสโทลูอีนแต่ไม่ได้มีการป้องกันตนเองโดยการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเพื่อให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพเนื่องจากการรับสัมผัสโทลูอีนในความเข้มข้นต่ำเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; This study focused on the impact of brain function related to learning and memory from toluene exposure and the objectives were to analyze the level of exposed toluene concentrations that affected neurological behavior and neurotransmitters which related to animal memory, to analyze the toluene concentrations levels that affected human memory and changes in biochemistry and to study multiple correlations between human memory that assessed by the Thai Mental State Examination and biochemical substances in employees who were exposed to toluene. The study was divided into 2 phases including animal phase that was studied in 20 experimental mice and human phase in 60 employees who are working in the automotive industry. Independent sample t-test, paired-sample t-test, one-way ANOVA and Multiple correlation analysis were employed to analyze the data.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The results demonstrated that experimental mice that were exposed to toluene concentration of 50 PPM (t=3.29, p=.03) and experimental mice that exposed to toluene concentration of 100 PPM (t=3.81, p=.02) had the significant decrease inrecognition index after exposed to toluene. Control group of mice that not exposed to toluene have dopamine level in brain less than experimental mice that were exposed to toluene concentration of 50 PPM (MD=-45.35, p&lt;.05), concentration of100 PPM (MD=-35.28, p&lt;.05) and concentration of 150 PPM (MD=-34.77, p&lt;.05). However, there was no difference in serotonin level in brain between the experimental and control groups (F=.932, p=.450). The level of biochemical substances in the body, such as blood cholesterol (t=.27, p=.79) and HDL-Cholesterol in the blood (t=-1.37, p=.18) between employees who were exposed toluene with concentration of 50 PPM, versus employees who were not exposed to toluene were not different. Moreover, blood integrity values such as white blood cell levels (t=-1.11, p=.27), hemoglobin levels (t=.87, p=.39), hematocrit levels (t=1.02, p=.31), platelet levels (t=-81, p=.42) between employees who were exposed to toluene with concentrations of 50 PPM, versus employees who were not exposed to toluene were also not different. Among the employees working in the car spraying industry who are exposed the toluene with concentration of 50 PPM and the control group, there is no significant different of Thai Mental State Examination (t= -.53, p=.60). Further study is needed to investigate the effect of toluene exposure in the open-field where employee is not wearing the personal protective equipment to indicate the clearly health effects caused by exposing to long-term low-level of toluene.</p> พิชัย กันทะชัย ปรัชญา แก้วแก่น ยุทธนา จันทะขิน Copyright (c) 17 2 69 82 การพัฒนาวิธีจำแนกประเภทข้อมูลโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบปรับเหมาะผสมผสานการหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบกลุ่มอนุภาค สำหรับการจำแนกประเภทกลุ่มเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/search2/article/view/6825 <p class="Default">&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาวิธีจำแนกประเภทข้อมูลโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบปรับเหมาะ ผสมผสานการหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบกลุ่มอนุภาค 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพวิธีการจำแนกประเภทข้อมูล 3 วิธี ได้แก่ โครงข่ายประสาทเทียมแบบปรับเหมาะผสมผสานการหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบกลุ่มอนุภาค ( AANN-PSO) โครงข่ายประสาทเทียมแบบดั้งเดิมผสมผสานการหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบกลุ่มอนุภาค (ANN-PSO) และโครงข่าย ประสาทเทียมแบบดั้งเดิม (ANN) และ 3) ศึกษาการจำแนกประเภทกลุ่มเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานและกลุ่มปกติ โดยใช้วิธีการจำแนกประเภทข้อมูลที่พัฒนาขึ้นข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นตัวอย่างผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็น โรคเบาหวานในพื้นที่เขตรับผิดชอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ปี พ.ศ. 2561 จำนวน 7,000 ระเบียน ผลการวิจัยปรากฏว่า<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1. วิธีจำแนกประเภทข้อมูลโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบปรับเหมาะผสมผสานการหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบ กลุ่มอนุภาคที่พัฒนาขึ้น ด้วยฟังก์ชันการแปลงใหม่&nbsp;f (s&rsquo;) =&nbsp;&nbsp;&nbsp; -1 (ดูสูตรได้จาก pdf)&nbsp; เมื่อ S&rsquo; =&nbsp;&nbsp;(ดูสูตรได้จาก pdf) &nbsp;ทำให้ค่าความชันของฟังก์ชันเป้าหมายลดลง และประสิทธิภาพการจำแนกประเภทข้อมูลมีค่าความแม่นยำเพิ่มขึ้น<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. วิธี AANN-PSO มีประสิทธิภาพการจำแนกประเภทข้อมูลมากกว่าวิธี ANN-PSO และ วิธี ANN ทั้ง 5 สถานการณ์ และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเมื่อขนาดตัวอย่างเพิ่มขึ้น<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. ตัวแปรที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเป็นโรคเบาหวาน ได้แก่ ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิตช่วงหัวใจคลายตัว อายุ ความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว เส้นรอบเอว และประวัติเบาหวานในญาติสายตรง โดยการจำแนกประเภทข้อมูลกลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ด้วยวิธี AANN-PSO มีค่าความแม่นยำ ร้อยละ 92.79 และค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยเท่ากับ 0.07</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; This research aimed to 1) develop a method of data classification using Adaptive Artificial Neural Network and Particle Swarm Optimization (AANN- PSO) , 2) compare the performance of the developed data classification method with three types: Adaptive Artificial Neural Network and Particle Swarm Optimization ( AANN- PSO) , Artificial Neural Network and Particle Swarm Optimization ( ANNPSO) and Artificial Neural Network (ANN) and 3), classify the patients who are at risk of diabetes and normal subjects with the method of Adaptive Artificial Neural Network and Particle Swarm Optimization (AANN-PSO). The data set involved 7,000 patients who were at risk of diabetes, in the area under the responsibility of the Nakhon Phanom Provincial Health Office in the year 2018. The research results were as follows:<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1. The data classification using Adaptive Artificial Neural Network and Particle Swarm Optimization (AANN-PSO) with the new conversion function f (s&rsquo;) = &nbsp;-1 When S&rsquo; =&nbsp; &nbsp;acted to decrease the slope of the target function, while data classification performance increased.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. Data classification using AANN-PSO resulted in better performance than ANN-PSO and ANN in all five situations. Furthermore, when the sample size was increased, the performance was even better.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. Factors that affected the risk of diabetes included body mass index, diastolic blood pressure, age, systolic blood pressure, and a family history of diabetes. The classification of patients who are at risk of diabetes by using AANN-PSO had an accuracy of 92.79%, with mean square error of 0.07.</p> อกนิษฐ์ ทองจิตร พูลพงศ์ สุขสว่าง จตุภัทร เมฆพายัพ Copyright (c) 17 2 83 97 การพัฒนาตัวสถิติเลวีนแบบปรับใหม่โดยใช้มัธยฐานในการทดสอบการเท่ากันของความแปรปรวน https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/search2/article/view/6826 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวสถิติเลวีนแบบปรับใหม่ด้วยมัธยฐานในการทดสอบการเท่ากันของความแปรปรวน และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสถิติเลวีนแบบปรับใหม่ด้วยมัธยฐานกับตัวสถิติบาร์ตเลตต์ เลวีน 4 รูปแบบ โอบรีน และบราวน์ฟอร์สิตี โดยพิจารณาจากความสามารถในการควบคุมความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนแบบที่ 1 และอำนาจการทดสอบ ภายใต้การจำลองสถานการณ์โดยใช้เทคนิคมอนติคาร์โล <br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยปรากฏว่า สถิติเลวีนแบบปรับใหม่โดยใช้มัธยฐานสำหรับทดสอบการเท่ากันของความแปรปรวนได้รับการพัฒนา สถิติตัวที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีแนวโน้มที่สามารถควบคุมความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนแบบที่ 1 ได้หลากหลายสถานการณ์มากกว่าตัวสถิติบาร์ตเลตต์ และเลวีน นอกจากนั้นยังสามารถควบคุมความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนแบบที่ 1 ได้ใกล้เคียงกับตัวสถิติโอบรีน และบราวน์ฟอร์สิตี ตามเกณฑ์การพิจารณาความแกร่งของคอนโอเวอร์ จากทั้งหมด 36 สถานการณ์ เมื่อนำสถิติที่พัฒนาขึ้นใหม่ไปทดสอบกับข้อมูลที่มีลักษณะเบนออกจากการแจกแจงแบบปกติ พบว่าสถิติตัวนี้มีแนวโน้มที่จะมีอำนาจการทดสอบสูงกว่าตัวสถิติบาร์ตเลตต์ เลวีน โอบรีน และบราวน์ฟอร์สิตี</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The objectives of this research were to develop a new adaptive Levene statistic with median to test the equality of variance and to compare the performance of this new adaptive Levene statistic with the median and Bartlett Levene O&rsquo;Brien and Brown-Forsythe by considering the ability to control type 1 error and testing power under simulation using Monte Carlo technique<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The result showed that the new adaptive Levene statistic using the median for testing the variance to test the homogeneity of variance has been developed. This new statistic developed by this study could control the type 1 error in more situations than the Bartlett and Levene statistics. In addition, this one controlled the type 1 error for the comparable to the O&rsquo;Brien and Brown-Forsythe statistic according to Conover's toughness criteria from all 24 situations. This new statistic was used to the data that out of+ the normality, this statistic tended to show more powerful than that did by the Bartlett, Levene, O&rsquo;Brien and Brown-Forsythe.</p> สุกัลญา ศิริมาตร์ ปริญญา เรืองทิพย์ ภัทราวดี มากมี อาฟีฟี ลาเต๊ะ Copyright (c) 17 2 98 110 การตรวจสอบเฝ้าระวังอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) โดยใช้แผนภูมิควบคุม p ปรับแก้ https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/search2/article/view/6827 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบเฝ้าระวังอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) โดยใช้แผนภูมิควบคุม p ปรับแก้ การดำเนินงานใช้เครื่องมือคือ แผนภูมิควบคุม p ปรับแก้ ร่วมกับกฎความไวสำหรับแผนภูมิควบคุม (Sensitivity rules for control chart) คือใช้กฎการแปลความหมาย (Interpretation rules) 4 ข้อ ในการตรวจสอบเฝ้าระวังและหาระดับการเตือนอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) ในพื้นที่ศึกษา จากข้อมูลทุติยภูมิ GDM ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 &ndash; มกราคม 2559 (52 เดือน) โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร จังหวัดสกลนคร<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการตรวจสอบเฝ้าระวังอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) โดยแผนภูมิควบคุม p ปรับแก้ ปรากฏว่า 1) มีจุดออกนอกขีดจำกัดควบคุม 1 จุด คือ เดือนพฤศจิกายน 2558 กระบวนการเกิดความผิดปกติขึ้น 2) ตรวจสอบหาสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยนำปัจจัยเสี่ยง (Risk factor) ของ GDM มาวิเคราะห์พาเรโตด้วยกฎ 80/20 ปรากฏว่า ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุสำคัญมากเกือบร้อยละ 80 มี 3 ปัจจัย ได้แก่ อายุตั้งครรภ์ตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ภาวะอ้วนก่อนการตั้งครรภ์ และภาวะน้ำหนักเกินก่อนการตั้งครรภ์ แสดงให้เห็นว่า เกิดจากสาเหตุที่ระบุได้ (Assignable causes) จึงตัดข้อมูลเดือน พ.ย. 2558 ออก และ 3) ปรับเส้นขีดจำกัดควบคุม ปรากฏว่า 3.1) ทุกจุดอยู่ในขีดจำกัดควบคุม กระบวนการปกติ และ 3.2) ตรวจหาระดับการเตือน พบจุดที่ตกนอกขีดจำกัดเตือนบน 3 จุด คือ เดือนตุลาคม 2554, มกราคม 2555 และเมษายน 2558 ดำเนินการแจ้งเตือนเพื่อป้องกันการออกนอกขีดจำกัดควบคุมในอนาคต</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;The purpose of this research was to monitor the incidence of Gestational Diabetes Mellitus (GDM) using adjusted p control charts. The research were used adjusted p control charts to monitor the incidence of GDM based on secondary data from the years 2011 through 2016 from the Sakonnakorn Hospital.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;The results indicated that concerning the GDM incidences monitored by the adjusted p control chart, 1) there was only one point, November 2015, detected to be out-of-control; 2) investigating the relevant causes, by applying the Pareto 80/20 rule, there were three particularly salient GDM risk factors, locating almost 80 percent of the cases i.e., 30 years or more of gestation, obesity before pregnancy, and overweight before pregnancy; 3) after adjusting new control limits, all points lay within the action limits which indicated that the process was under control.</p> ณัฐนันท์ วารีเศวตสุวรรณ สุชาดา กรเพชรปาณี Copyright (c) 17 2 111 113 การพัฒนาโปรแกรมคำนวณคะแนนจุดตัดตามแนวคิดของ Angoff โดยประยุกต์ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/search2/article/view/6828 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมคำนวณคะแนนจุดตัดตามแนวคิดของ Angoff โดยประยุกต์ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาโปรแกรมในรูปแบบ Web Application การสร้างและพัฒนาโปรแกรม มี 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ระบบ 2) การออกแบบและสร้างฐานข้อมูล 3) การพัฒนาโปรแกรม 4) การทดสอบและปรับปรุงโปรแกรม 5) การจัดทำคู่มือการใช้โปรแกรม และ 6) การประเมินความเหมาะสมและประสิทธิภาพ การใช้งานโปรแกรม โดยเขียนด้วยภาษา PHP, HTML5, CSS, JavaScript, jQuery และ Bootstrap ใช้ MySQL เป็นระบบฐานข้อมูล ซึ่งการประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และการประเมินประสิทธิภาพการใช้โปรแกรมโดยผู้ทดลองใช้โปรแกรม ซึ่งเป็นครูผู้สอน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 40 คน สามารถเข้าใช้งานได้ที่ www.cutoffscoreforangoff.co วิเคราะห์ระดับความเหมาะสมและความคิดเห็นด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยปรากฏว่า การประเมินความเหมาะสมในด้านต่างๆ ด้วยวิธี Black Box Testing ของโปรแกรมคำนวณคะแนนจุดตัดตามแนวคิดของ Angoff โดยประยุกต์ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบโดยผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมโดยภาพรวมระดับมาก (M = 4.10, SD = 0.41) และผลการประเมินความคิดเห็นของผู้ทดลองใช้โปรแกรม โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (M = 4.50, SD = 0.62) ซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญและ ผู้ทดลองใช้โปรแกรมทั้งความสามารถของโปรแกรม และความถูกต้องของโปรแกรมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;The purpose of this research was to develop a program to calculate the Cut-off score based on Angoff's concept by applying the item response theory, which the researcher has developed the program in the form of Web Application. The creation and development of the program had 6 steps: 1) system analysis; 2) design process and creating a database, 3) program development, 4) testing and improve the program, 5) program manual preparation, and 6) evaluating the suitability and effectiveness of the program by all programs written in PHP, HTML5, CSS, JavaScript, jQuery and Bootstrap for developing programs and using MySQL as a database system which evaluated the appropriateness of the program by 3 expert, and to evaluate the effectiveness of the program by the user which was the grade 6 teacher with a total of 40 people. Can access it at www.cutoffscoreforangoff.co. The research analyzed the level of suitability and opinions with basic statistics such as mean and standard deviation.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;The research results revealed that appropriated evaluation of various aspects by using the Black Box Testing method of calculating Cut-off score based on Angoff's concept by applying the item response theory by experts with a high level of overall level. (M = 4.10, SD = 0.41) And the results of the evaluation of the program users, overall, the level of opinion was at a high level. (M = 4.50, SD = 0.62) Which was recognized by the experts and tried out the program, the ability of the program, and the accuracy of the program could be applied to real-effectively.</p> อรณิชชา ทศตา ปิยะทิพย์ ประดุจพรม กนก พานทอง Copyright (c) 17 2 134 148 การออกแบบโครงข่ายโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวลุ่มแม่น้ำบางปะกง https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/search2/article/view/6829 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ และออกแบบโครงข่ายโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวลุ่มแม่น้ำ บางปะกง ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วิเคราะห์โครงข่ายโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวลุ่มแม่น้ำบางปะกง ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา การสำรวจ และการอภิปรายกลุ่ม และระยะที่ 2 ออกแบบโครงข่ายโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวลุ่มแม่น้ำบางปะกง ตามแบบวงจรการพัฒนาระบบแบบ Waterfall Model ด้วยโปรแกรม Arc Gis v.10.5 และประเมินคุณภาพโครงข่ายโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวลุ่มแม่น้ำ บางปะกง ด้วยแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยปรากฏว่า<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. ได้องค์ประกอบโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยว จำนวน 13 องค์ประกอบ 77 ตัวบ่งชี้<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. หลักการออกแบบโครงข่ายโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวลุ่มแม่น้ำบางปะกง (WIN-4CS) ประกอบด้วย 8 ประเด็น ได้แก่ ความโดดเด่นของสถานที่ท่องเที่ยว การรักษาอัตลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยว ความพร้อมของเครือข่ายการท่องเที่ยว ความสะดวกสบายในการเดินทาง การมีส่วนร่วมระหว่างชุมชมที่เชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยว ระยะเวลาในการเดินทางระหว่างสถานที่ท่องเที่ยว ความพร้อมขององค์ประกอบโลจิสติสก์สำหรับการท่องเที่ยว และการรักษามาตรฐานระดับคุณภาพการท่องเที่ยว<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. ได้โครงข่ายโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวลุ่มแม่น้ำบางปะกง มีจำนวน 6 โครงข่าย เป็นโครงข่าย โลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวแบบวันเดียว จำนวน 3 โครงข่าย และแบบช่วงเวลาสั้น จำนวน 3 โครงข่าย<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 4. การประเมินคุณภาพของโครงข่ายฯ ปรากฏว่า โครงข่ายโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวลุ่มแม่น้ำบางปะกง ทั้ง 6 โครงข่าย มีความเหมาะความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในระดับมาก</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; This research aimed to analyze and design the logistics network for tourism along the Bang Pakong riverside. A mixed-method design was used with the research involving two phases. In the first phrase, the analysis of the logistics network used content analysis, a survey, and the focus group technique. In the second phrase, the design of the logistics network used the systems development life cycle method as seen in the waterfall model by Arc Gis v.10.5 program. The quality evaluation of the logistics network for tourism was based on suitability and satisfaction possibility assessments.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;The results indicated that:<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1. The logistics network components for tourism consisted of 13 components with 77 indicators.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;2. The principles for designing the logistics network for tourism (WIN-4CS) included eight points - the well-known tourism attractions, the identity preservation of tourism attractions, the availability of tourism network, travel convenience, community engagement, the distance (time) between tourism attractions, the availability of tourism logistics components, and the standard of upkeep of the attractions.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;3. The logistics network for tourism along the Bang Pakong riverside consisted of six logistics networks. The logistics network for tourism in one-day trips consisted of three networks, and the logistics network for tourism in two-day trips consisted of three networks.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 4. The quality evaluation of the logistics network for tourism along the riverside showed that all six routes had high suitability, and a high possibility of satisfaction.</p> วีระสิทธิ์ ปิติเจริญพร Poliny Ung พูลพงศ์ สุขสว่าง Copyright (c) 17 2 149 163 การสะท้อนการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ในบริบทห้องเรียนโควต้ามุสลิม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/search2/article/view/6830 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ในบริบทห้องเรียนโควต้ามุสลิมโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 39 คน โดยเสนอผ่านวงจรการสะท้อนตามแนวทางของ Gibbs (1988) ผลการจัดการเรียนรู้ซึ่งได้ดำเนินการออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การทำโพล การสำรวจความคิดเห็น และการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ทำให้ผู้เรียนเข้าใจในขั้นตอน หรือกระบวนการดำเนินงานในการทำโพล หรือการสำรวจความคิดเห็น หรือสถิติพรรณนาต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี และยังเกิดความผ่อนคลายในการเรียนรู้ ได้ปฏิบัติงานจริง อีกทั้งยังสามารถสร้างอินโฟกราฟิกเพื่อนำเสนอผลโพล และผลการสำรวจความคิดเห็นอีกด้วย ผู้สอนได้วิเคราะห์ว่าการจัดการเรียนรู้ใน 2 ปีที่ผ่านมาเห็นความหลากหลายในการกำหนดหัวข้อการทำโพล หรือการสำรวจความคิดเห็น และยังมีหัวข้อที่เป็นประเด็นเชิงพื้นที่อีกด้วย เช่น โพลประเด็นวัคซีน การก่อการร้าย นิกะฮ์ (แต่งงาน) ในวัยเรียน หรือการสำรวจความคิดเห็นประเด็นนโยบาย Green and Clean Campus การบริจาค หรือการละหมาด เป็นต้น และยังพบปัญหาบางประการ อาทิ ปัญหาในการทำงานกลุ่ม ภาระงานของผู้เรียน ผู้สอนเสนอการแก้ปัญหาการทำงานกลุ่มด้วยการเพิ่มทางเลือกในการทำงานเดี่ยว หรืองานคู่เพื่อจะได้เกิดความภูมิใจในชิ้นงานของตนเองมากขึ้น หรือทำในประเด็นที่สนใจต่างจากเดิมได้ ส่วนปัญหาภาระงานในรายวิชาอื่น อาจจะต้องเสนอต่อผู้บริหารเพื่อกำหนดภาระงานร่วมกัน หรือลดภาระงานที่มากจนเกินไปในบางรายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำเนินการในรายวิชาอื่น ๆ ได้อย่างเท่าเทียมกันผู้สอนได้วางแผนว่ายังจะดำเนินการในรูปแบบข้างต้นแต่แก้ปัญหาที่ยังเป็นจุดด้อยในการดำเนินการสอนใน 2 ปีที่ผ่านมาให้น้อยลงกว่าเดิม และคิดว่าผู้สอนคณิตศาสตร์น่าจะสามารถดำเนินการในรูปแบบข้างต้น หรือคล้าย ๆ กันเพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีในรายวิชาคณิตศาสตร์ อีกทั้งผู้เรียนยังสามารถทำโพล หรือสำรวจความคิดเห็นนำไปสู่การนำเสนอด้วยอินโฟกราฟิกที่สามารถสื่อสารไปยังผู้รับสารได้อย่างชัดเจนอีกด้วย</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; This research article aims to reflect teaching of mathematics courses in the context of Muslim quota classroom at Demonstration school, Prince of Songkla University. The target groups were 38 and 39 Mattayomsuksa 5 students in the academic year 2017-2018 with offering through the reflection cycle according to Gibbs&rsquo;s (1988) guidelines. The results of the learning management which were carried out in 3 parts, namely polling, survey and basic data analysis, it made students understood the steps or operated procedures for making polls, survey, or various descriptive statistics in the analysis of initial data as well, it also made students relaxed in learning and have had actually worked until to create infographics and to present poll results and survey results as well. The instructor analyzed that learning management in the past two years saw a variety in determining the topic of polling or survey, meanwhile the student could present topics that were area issues, such as vaccine, terrorism, Nikah (marriage) issues in school age or survey of opinions on policy issues of Green and Clean Campus, donations, or prayers, etc. However, the instructor found some problems in learning management such as problems in group work, workload of students which were offered solutions to group work problems by adding a single work option or a pair of jobs in order to be proud of their work or could do on different points of interest. As for the workload problems in other courses might had to propose to determine together or reduced excessive workloads in some courses so that students could perform in other courses equally. The instructor has planned that it will continue to perform in the above format, but could adjust the problem that reflect a weakness in the teaching process in the past two years, and think that the mathematics instructor should be able to perform in the above or similar ways to make the students have a positive attitude in mathematics, and students can also make polls or explore another ideas, leading to presentations with infographic that can communicate clearly to recipients.</p> อาฟีฟี ลาเต๊ะ Copyright (c) 17 2 164 179 Factors Affecting Sustainable Tourism Destination Management in Lawachara National Park, Sylhet, Bangladesh https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/search2/article/view/6831 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;This study examined the external and internal factors affecting on sustainable tourism destination management (STDM) in Lawachara National Park (LNP) in Moulvi Bazar, Sylhet, Bangladesh. It is one of the main tourist attractions of Sylhet region. The main aim of the study was to gain knowledge to practice STDM in LNP. Objectives were to examine the external and internal factors that are influencing STDM in LNP and to investigate the level of external &amp; internal factors related to STDM in LNP. Conceptual framework and research hypothesizes showed that external factors like political, economic, socio-culture and technological and internal factors like network management organization, information provider and community brand builder had the relationship with sustainable tourism destination management. The data was collected though a required quantitative way questionnaire with participation of 380 respondents of domestic tourists. Findings showed that factors like political, socio-culture and network management organization comes as negative and less supportive factors to STDM in LNP. The use of advance technology and successful coordination among stakeholders could bring solution for STDM in LNP. Further research on external and internal factors affecting STDM in LNP would bring more result in future.</p> Sabbir Bhuiya Sakchai Setarnawat Petcharut Viriyasuebphong Copyright (c) 17 2 180 195 The Factors Affecting Tourist Decision Making to Bangladesh as the Leisure Destination: A Case Study of Cox’s Bazar Sea Beach https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/search2/article/view/6832 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; This research examines the tourism components that are affecting Tourists decision making to visit Cox&rsquo;s Bazar sea beach, Bangladesh. The objectives of the research are 1) to observe the tourism components affecting the tourist decision making to visit Cox&rsquo;s Bazar sea beach and 2) to examine the relationship between the tourism components and tourist decision making to visit Cox&rsquo;s Bazar sea beach. The study conceptualized that the components, that is, attraction, accessibility, accommodation, amenity, and activities would affect the tourist at the time of taking decision to visit Cox&rsquo;s Bazar sea beach. This study followed the quantitative methodology. Questionnaires were used as research tool. Data were collected from the questionnaires with a participation of 385 respondents of domestic tourists who visited Cox&rsquo;s Bazar, Bangladesh. According to the developed conceptual framework from the hypotheses were formed. After analyzing the collected data, the researcher found that all the components supported the hypotheses and thus influenced the decision making of the tourists to visit the destination. The future researchers will find the study useful for generating new ideas.</p> Monsur Ahmed Sakchai Setarnawat Petcharut Viriyasuebphong Copyright (c) 17 2 196 210