การสร้างมาตรประมาณค่าความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
The construction of an adversity quotient rating scale for high school students
Keywords:
นักเรียนมัธยมศึกษา, การวัดผลทางการศึกษา, การศึกษาขั้นมัธยม, ความสามารถทางการเรียนAbstract
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างมาตรประมาณค่าความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคตามทฤษฎีของสตอลทซ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตรวจสอบคุณภาพของมาตรประมาณค่า และสร้างปกติวิสัยของมาตรประมาณค่า มาตรประมาณค่าความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคตามทฤษฎีของสตอลทซ์ 4 ด้าน ได้แก่ การควบคุมสถานการณ์ การรับรู้ต้นเหตุและรับผิดชอบต่อปัญหา การเข้าถึงปัญหา และการอดทนต่อปัญหา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรีและระยอง ปีการศึกษา 2547 จำนวน 1,200 คน วิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้นโดยใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์คุณภาพของมาตรประมาณค่าโดยใช้โปรแกรม Lertap 5 และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของมาตรประมาณค่าด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.50 ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ข้อคำถามในมาตรประมาณค่าความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค มีความตรงเชิงเนื้อหาทุกข้อ มีค่าสหสัมพันธ์ระหว่างข้อคำถามกับมาตรประมาณค่าตั้งแต่ .27 ถึง .53 และค่าความเที่ยงของมาตรประมาณค่าทั้งฉบับเท่ากับ .89 2. มาตรประมาณค่าความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคมีความตรงเชิงโครงสร้างอยู่ในเกณฑ์ดี ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 61.16 ที่องศาอิสระเท่ากับ 224 ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 1.00 ดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 1.00 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .99 และดัชนีวัดความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 3. ปกติวิสัยแบบเปอร์เซนไทล์ของมาตรประมาณค่าความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคจำแนกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ผู้มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคระดับสูง มีตำแหน่งเปอร์เซนไทล์สูงกว่า 77.00 ขึ้นไป ผู้มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคระดับปานกลางมีตำแหน่งเปอร์เซนไทล์ที่ 23.01 ถึง 77.00 และผู้มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคระดับต่ำ มีตำแหน่งเปอร์เซนไทล์ต่ำกว่า 23.01 ลงมา The objectives of this study were to: 1) construct and Adversity Quotient Rating Scale for high school students based on Stoltz’s theory; 2) verify the quality of the rating scale; and 3) derive norms for the rating scale. The Adversity Quotient Rating Scale was based on the four dimensions of Stoltz’s theory: Control, Origin & Ownership, Reach, and Endurance. The sample consisted of 1,200 students in the Chantaburi and Rayong Education Service Area Office, in the 2004 academic year. Descriptive statistics were obtained with SPSS; rating scale quality was determined by using Lertap 5; LISREL 8.50 was used for second order confirmatory factor analysis. The major findings were: 1. The items of the Adversity Quotient Rating Scale were found to have content validity. Item-to-scale correlations ranged from .27 to .53; scale reliability was .89. 2. The construct validity of the Adversity Quotient Rating Scale was confirmed by alignment with a criterion measure; a chi-square goodness of fit test value of 61.16 was found, with p = 1.00, df = 224, GFI = 1.00, AGFI = .99, and CFI = 1.00. 3. The percentile norms of the Adversity Quotient Rating Scale for high school students were divided into three levels: percentile rank higher than 77.00 indicating high level of Adversity Quotient; percentile rank from 23.01 to 77.00 indicating normal level Adversity Quotient, and percentile rank less than 23.01 indicating low level Adversity Quotient.Downloads
Published
2021-04-30
Issue
Section
Articles