วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science en-US วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 0858-7612 การยืนยันตัวตนด้วยเสียงแบบอ่านบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน กรณีศึกษาผู้สูงอายุ https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9300 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : การยืนยันตัวตนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการปกป้องสมาร์ทโฟนจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต อย่างไรก็ตาม วิธีการยืนยันตัวตนที่มีอยู่นั้นไม่เหมาะสมกับผู้ใช้สูงอายุ ซึ่งประสบปัญหาความเสื่อมถอยของร่างกาย ส่งผลให้ผู้สูงอายุจำนวนมากมีพฤติกรรมการใช้งานที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงปิดระบบการยืนยันตัวตนบนอุปกรณ์ของตน หนึ่งในหนทางแก้ปัญหาดังกล่าวคือการยืนยันตัวตนด้วยเสียง ซึ่งได้รับคำแนะนำให้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุมากกว่าวิธีการการยืนยันตัวตนอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การยืนยันตัวตนด้วยเสียงมีความเสี่ยงต่อการโจมตีด้วยการเลียนเสียงหรือบันทึกเสียงของผู้ใช้ ในบรรดาแนวคิดเพื่อแก้ไขข้อด้อยดังกล่าว การยืนยันตัวตนด้วยเสียงโดยการอ่านนั้นมีความเรียบง่ายและเหมาะสมกับผู้สูงอายุในทางทฤษฎี กระนั้น ก็ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะยืนยันความเป็นไปได้ รวมถึงความเห็นของผู้สูงอายุและการตอบสนองจากผู้ใช้งานที่เป็นคนไทยต่อระบบ ดังนั้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันความเป็นไปได้ดังกล่าวและทดสอบการยืนยันตัวตนด้วยเสียงโดยการอ่านนั้นเหมาะสมกับผู้สูงอายุจริงหรือไม่ วิธีดำเนินการวิจัย : การยืนยันตัวตนด้วยเสียงโดยการอ่านที่ต่างกันสามรูปแบบได้ถูกพัฒนาขึ้น และทำการทดสอบเพื่อประเมินการใช้งานกับผู้สูงอายุ โดยผู้เข้าร่วมจะถูกแบ่งออกเป็นสามกลุ่มสำหรับแต่ละรูปแบบการการยืนยันตัวตน จากนั้นผู้เข้าร่วมจะใช้ทดสอบระบบโดยการใช้งานฟังก์ชันลงทะเบียนและยืนยันตน ซึ่งผู้วิจัยจะสังเกตและจดบันทึกพฤติกรรมและความเห็นของผู้เข้าร่วม พร้อมด้วยข้อมูลตัวชี้วัดประสิทธิภาพของระบบ (อัตราความสำเร็จ เวลางาน ข้อผิดพลาด) ผลการวิจัย : ผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจ ในแง่ของประสิทธิภาพ ทั้งการยืนยันตัวตนสามรูปแบบมีอัตรา Task Completion Rate ที่สูง ผู้เข้าร่วมเกือบทั้งหมดสามารถลงทะเบียนและยืนยันตัวตนได้สำเร็จ โดยแต่ละรูปแบบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับเวลาที่ต้องใช้ในกระบวนการการลงทะเบียน อย่างไรก็ตามกระบวนการยืนยันตัวตนนั้นใช้เวลาโดยเฉลี่ยเท่ากัน ข้อผิดพลาดส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างการบันทึกเสียง โดยที่ผู้เข้าร่วมลืมกดปุ่มหรือกดผิดจังหวะ สำหรับคะแนนจากแบบสอบถาม SEQ และ SUS นั้น บ่งชี้ว่า การยืนยันตัวตนด้วยเสียงโดยการอ่านทั้งสามรูปแบบนั้นใช้งานง่าย การทดสอบทางสถิติเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของรูปแบบการยืนยันตัวตนทั้งสามรูปแบบ บ่งชี้ว่า การยืนยันตัวตนทั้งสามรูปแบบใช้งานได้ง่ายใกล้เคียงกัน และกลไกพิเศษ เช่น การแสดงข้อความรหัสผ่านแบบสุ่ม ไม่ส่งผลในทางลบต่อการใช้งาน อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการเลือกข้อความรหัสผ่านได้อย่างอิสระส่งผลเสียต่อการใช้งานโดยผู้สูงอายุ เนื่องจากต้องมีการพิมพ์ข้อความ ผู้เข้าร่วมการทดสอบส่วนใหญ่แสดงความคิดเชิงบวกเกี่ยวกับการยืนยันตัวตนด้วยเสียงโดยการอ่าน เช่น ความง่ายในการใช้งานและความสะดวกสบาย สรุปผลการวิจัย : แม้ว่าผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาในเชิงบวก งานวิจัยนี้ยังคงมีข้อจำกัด โดยจำนวนผู้เข้าร่วมการทดลองน้อยกว่าที่ตั้งใจไว้ ซึ่งส่งผลต่ออำนาจทางสถิติของการทดลอง นอกจากนี้ งานวิจัยยังต้องการ การทดลองเพิ่มเติมเพื่อเปรียบเทียบ การยืนยันตัวตนด้วยเสียงโดยการอ่านกับวิธีการยืนยันตัวตนอื่นๆ ประเมินความปลอดภัย และทดสอบระบบในเงื่อนไขอื่นๆ เช่น สถานที่กลางแจ้ง เป็นต้น&nbsp; Background and Objectives: Authentication is a vital component of smartphones to protect devices from unauthorized access. Nevertheless, existing schemes are unsuitable for elderly users due to their age-related difficulties. As a result, many older adults employ insecure practices, including disabling device authentication systems. One promising solution is voice authentication, which has been consistently suggested as a more usable option for older adults. However, voice authentication has a drawback regarding vulnerability to an imitation or recording of an enrolled speaker. Among many solutions for this issue, reading-based voice authentication is relatively simple and theoretically usable for older adults. Still, there is insufficient information to confirm the possibility, including older adults' perceptions and the reactions of Thai subjects toward the system. Therefore, this research intends to confirm that possibility and find whether reading-based voice authentication is usable enough for older adults. Methodology: Three different styles of reading-based voice authentication were developed, and the testing was conducted to evaluate their usability relative to older adults. Participants were divided into three groups for each authentication style. Then, they would use the systems by enrolling and verifying themselves, where the researcher observed their actions and noted their opinions, along with the systems' performance metrics (Success Rate, Task Time, Error). Main Results: The results of the test were encouraging. In terms of performance, all three styles achieved high task completion rates; almost all participants successfully enrolled in the system and verified themselves. There were significant differences regarding the time needed to complete enrollment. Nonetheless, the verification process used the same amount of time on average. Most errors occurred during the manual voice recording, where participants either forgot to press a button or pressed at the wrong moment. Both the scores from SEQ and SUS questionnaires indicated that all three styles of reading-based voice authentication were easy to use. The statistical tests to compare the results of all three authentication styles indicated that they were comparably usable, and mechanisms, like random passphrases, could be employed without adverse effects on usability. However, the ability to freely choose a passphrase negatively impacts usability as it requires text input and is thus unsuitable for older adults. Most participants expressed positive thoughts about reading-based voice authentication, like the ease of use and convenience. Conclusions: Despite the promising results, this research still has limitations. The number of participants was smaller than intended, which affected the study's statistical power. Furthermore, this research needs more experiments to compare reading-based voice authentication with other authentication methods, assess its security aspect, and test the system in other settings, such as outdoor locations.</p> เจษฎา บุญสิริ ทิพยา จินตโกวิท นลินภัสร์ บำเพ็ญเพียร Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 1 17 การออกแบบและประเมินประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องหั่นผัก https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9301 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : เครื่องหั่นผักโดยทั่วไปถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการลดขนาดของผลผลิตทางการเกษตร การออกแบบและพัฒนาเครื่องหั่นผักเพื่อให้ได้รูปทรงที่สวยงามและมีคุณภาพเหมาะต่อการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพยังเป็นองค์ความรู้ที่ขาด ดังนั้น งานวิจัยนี้มีจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องหั่นผัก และศึกษาผลของความเร็วรอบของอินเวอร์เตอร์ต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องหั่นผัก วิธีดำเนินการวิจัย : ศึกษาและคำนวนหาค่าที่สำคัญในแต่ละส่วนประกอบที่จะใช้ในการทำงานของเครื่องหั่นผัก จากนั้นทำการทดสอบประสิทธิภาพการหั่นของเครื่องหั่นผักต้นแบบที่พัฒนาขึ้นกับผักจำนวน 5 ชนิด คือ มันฝรั่ง แครอท หัวไชเท้า แตงกวา และหอมหัวใหญ่ ที่ความเร็วรอบ 500 600 700 และ 800 รอบต่อนาที จากค่าเปอร์เซ็นต์ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านเกณฑ์และไม่ผ่านเกณฑ์ อัตราการสูญเสียจากการหั่นที่คำนวณได้ รวมถึงกำลังการผลิตของเครื่องหั่นผัก ผลการวิจัย : เครื่องหั่นผักที่ออกแบบมีส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ โครงสร้างเครื่อง จานใบมีด ฝาครอบจานใบมีด ช่องใส่วัตถุดิบ มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 0.5 แรงม้า และอินเวอร์เตอร์ 1 ตัว เมื่อทดสอบประสิทธิภาพการหั่นของเครื่องพบว่า ค่าเปอร์เซ็นต์การสูญเสียจากการทำงานของเครื่องหั่นที่สภาวะต่าง ๆ อยู่ในช่วง 5.28±0.84 ถึง 19.15±1.89 เปอร์เซ็นต์ และความเร็วรอบมีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่หั่นได้ โดยผักแต่ละชนิดมีความเร็วรอบที่เหมาะสมในการหั่นที่ต่างกัน มันฝรั่ง แครอท และหอมหัวใหญ่ มีเปอร์เซ็นต์สูงที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพที่กำหนดที่ความเร็วรอบ 700 รอบต่อนาที ในขณะที่หัวไชเท้าและแตงกวามีเปอร์เซ็นต์คุณภาพผ่านเกณฑ์สูงที่ความเร็วรอบ 600 และ 800 รอบต่อนาที ตามลำดับ ผลการศึกษากำลังการผลิตของเครื่อง พบว่า การใช้เครื่องหั่นผักทำให้มีกำลังการผลิตมากกว่าการใช้กำลังคนในการหั่นผักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) สรุปผลการวิจัย : เครื่องหั่นผักที่ออกแบบและสร้างนี้เหมาะสมกับการหั่นผักที่เน้นรูปทรงสวยงาม มีเนื้อสัมผัสแบบเนื้อเดียวกัน เช่น มันฝรั่ง แครอท และหัวไชเท้า จึงจะสามารถช่วยทุ่นแรงในการผลิตและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีเปอร์เซ็นต์สูงที่จะผ่านเกณฑ์คุณภาพที่กำหนด&nbsp; Background and Objectives: Vegetable shredders were generally designed to be used to reduce the size of agricultural products. The design and development of vegetable shredder to get a beautiful shapes and quality suitable for further process in healthy products is still lacking knowledge. Therefore, this research was aimed to design and build a vegetable shredder and study the effect of rotational speed on the efficiency of the shredder. Methodology: Study and calculate the important values for the main component of vegetable shredder. Then, five types of vegetables used to test the shredder performance were potato, carrot, radish, cucumber and onion with the rotational speeds of the inverter included 500, 600, 700 and 800 rpm. The loss percentage, the percentage passing the required quality criteria and the production capacity of vegetable shredder were determined. Main Results: The vegetable shredder has the following main components: machine structure, blade plate, blade plate cover, raw material input slot, 0.5 hp electric motor and inverter (rotational speed device). The result showed that the loss percentage from the shredder’s operation under various conditions was 5.28%±0.84 - 19.15%±1.89, and the different types of vegetables used different rotational speeds. The suitable rotational speed with a high percentage passing the required quality criteria in potato, carrot and onion was at 700 rpm, while the rotational speed at 600 and 800 rpm were suitable with radish and cucumber, respectively. In addition, the vegetable shredder had a significantly higher production capacity than the manpower to cut vegetables (p&lt;0.05). Conclusions: To save production costs and get high-quality products or high percentage pass the required quality criteria, the vegetable shredder designed and built in this research was suitable for chopping vegetables with good shapes and homogeneous textures, such as potatoes, carrots and radishes.</p> วรลักษณ์ สุริวงษ์ พัชราภรณ์ อินริราย สุรินทราพร แสวงงาม ธวัลรัตน์ สัมฤทธิ์ ทิพยรัตน์ คำภูมี ศรายุทธ มีบุญ Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 18 35 แบบจำลองคณิตศาสตร์เชิงพลวัตของเรือนผลิตน้ำแร่สำหรับบริโภคในชุมชน https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9302 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองพลวัตเครื่องปฏิกรณ์ปลั๊กไหลแบบวงแหวนหมุนเวียน (Recirculation Ring Plug-Flow Reactor: RRPFR) และแบบจำลองพลวัตเครื่องปฏิกรณ์ถังกวนผสมวงแหวนหมุนเวียน(Recirculation Ring Completely-Mixed Stirred Tank Reactor : RRCSTR) ของระบบเครื่องกรองน้ำบาดาลการไหลวนแบบวงแหวนลง (Recirculation Ring Drown Flow Filter Reactor&nbsp; of Groundwater: RRFRG) วิธีดำเนินการวิจัย : ระบบการไหลวนแบบวงแหวนลงเข้าถังปฏิกรณ์เหล็ก (Fe) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.15 เมตรความสูง 4 เมตร เชื่อมต่อเข้าชุดถังปฏิกรณ์เรซิ่นที่ 2 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.15 เมตร ระดับความสูง 1.2 เมตร จำนวน 12 ถัง มีอัตราส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางต่อความยาว (D:L) (&lt;1:4) ผลการวิจัย : พบว่าอัตราส่วนหมุนเวียน (R) เท่ากับ 3 มีค่าความเข้มข้นพื้นหลังเหล็ก (Fe*) และความเข้มข้นพื้นหลังความกระด้าง (CaCO3*) เท่ากับ 0.071 และ 0.032 มิลลิกรัม/ลิตร ใช้เวลากักเก็บ (HRT) ที่ 0.09 วัน มีประสิทธิภาพสูงสุดในการกำจัดค่าเหล็ก (Fe) และความกระด้าง (CaCO3) (Removal Fe &amp; CaCO3 Efficiency) เท่ากับ 99.8677% และ 99.996% สรุปผลการวิจัย จากการพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์พบว่าเกิดปฏิกิริยาอันดับ 2 ของแบบจำลองพลวัต RRCSTR มีค่าสัมประสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงของค่าเหล็ก (Fe) และค่าสัมประสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงของความกระด้าง (CaCO3) k<sub>2nd</sub> เท่ากับ 3396.80 1/วัน และ 11091 1/วัน&nbsp; Background and Objectives: The objective of this study was to develop the dynamic modeling of Recirculation Ring Plug-Flow Reactor (RRPFR) and Recirculation Ring Completely-Mixed Stirred Tank Reactor (RRCSTR) of a Recirculation Ring Drown Flow Filter Reactor of Groundwater (RRFRG). Methodology: The flow direction is perpendicular to the Recirculation Ring Drown Flow-cylindrical reactor. The inflow into the iron reactor diameter 0.15 m., height 4 m., connected to the second resin reactor, diameter 0.15 m., height 1.2 meters of 12 reactors had a diameter to length ratio (D:L) (&lt;1:4) Main Results: It was found that the ratio (R) was 3 with the background concentration iron (Fe*) and the background concentration hardness (CaCO3*) were 0.071 and 0.032 mg/L. The hydraulic retention time (HRT) at 0.09 day was the highest efficiency to remove Fe and CaCO3 were 99.867% % and 99.996 % in groundwater. Conclusions: The development of the mathematical model, it was found that second-order reaction occurred in Recirculation Ring Completely-Mixed Stirred Tank Reactor (RRCSTR) with a coefficient of constant k<sub>2nd</sub> were 3396.80 1/day and 11091 1/day.&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> รัฐพล สุขสมบูรณ์ ละอองดาว ภูสำรอง Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 36 54 การประยุกต์ใช้ดัชนีชีวภาพสัตว์หน้าดินประเมินคุณภาพแหล่งน้ำ : กรณีศึกษาคลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9303 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของสัตว์หน้าดินและการประยุกต์ใช้ดัชนีชีวภาพ BMWP<sup>thai</sup> score (Biological Monitoring Working Party) และ ASTP<sup>thai</sup> (Average Score Per Taxa) ประเมินคุณภาพน้ำในคลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วิธีดำเนินการวิจัย : เก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดินจำนวน 4 สถานี ในเดือนมิถุนายน 2563 (ฤดูแล้ง) เดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2563 (ต้นฤดูฝน) และเดือนกันยายน 2563 (ปลายฤดูฝน) ด้วยเครื่องมือตักดิน (Ekman Grab) ตรวจวัดคุณภาพน้ำในภาคสนาม ได้แก่ ความลึก ความโปร่งแสงของน้ำ อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ค่าการนำไฟฟ้าและปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำ รวมทั้งเก็บดินมาวิเคราะห์ขนาดอนุภาคและปริมาณสารอินทรีย์ในดินในห้องปฏิบัติการ ผลการวิจัย : พบสัตว์หน้าดินทั้งสิ้น 19 ชนิด 17 สกุล 13 วงศ์ สัตว์หน้าดินกลุ่มเด่น ได้แก่ ไส้เดือนน้ำในวงศ์ Tubificidae (Branchiura sp. และ Tubifex sp.) วงศ์ Naididae (Dero sp.) โพลีคีตวงศ์ Nepthyidae (Nepthys sp.) วงศ์ Nereididae (Namalycastis sp., Nereis sp. และ Dendronereis sp.) หอยฝาเดียววงศ์ Viviparidae (Mekongia swainsoni brueri) หอยสองฝาวงศ์ Corbiculidae (Corbicula sp.) ครัสเตเชียนพวกกุ้งฝอยวงศ์ Palaemonidae (Macrobrachium sp.) และตัวอ่อนแมลงน้ำวงศ์ Chironomidae (Chironomus sp.) ดัชนีชีวภาพ BMWP<sup>thai</sup> score และ ASTPthai บ่งชี้ว่าคลองบางบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจัดเป็นแหล่งน้ำประเภท 4 (คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม) ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน สรุปผลการวิจัย : การศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่าดัชนีชีวภาพ BMWP<sup>thai</sup> score และ ASTPthai สามารถนำมาใช้ประเมินคุณภาพแหล่งน้ำได้ ซึ่งแสดงความสัมพันธ์กับความหลากหลายชนิด (ระดับวงศ์) ความหนาแน่น ดัชนีความชุกชุมของชนิด ดัชนีความหลากหลายทางชนิด และดัชนีความสม่ำเสมอทางชนิดของสัตว์หน้าดิน&nbsp; Background and Objectives: The objective of this study was to observe the benthic fauna diversity and application of the biotic indices, BMWP<sup>thai</sup> score (Biological Monitoring Working Party) and ASTP<sup>thai</sup> (Average Score Per Taxa) to assess the water quality of the Bang Ban canal, Ayutthaya Province. Methodology: Benthic samples were collected from four sampling stations throughout the canal course in June 2020 (dry season), July-August 2020 (early rainy season) and September 2020 (late rainy season), using an Ekman grab. Water depth, transparency, temperature, pH, dissolved oxygen, conductivity and total dissolved solids were recorded in situ at each station, and sediment samples were taken for grain size analysis and organic matter assessment in a laboratory. Main Results: A total of 19 species belonging to 17 genera, in 13 families of benthic fauna were found. The dominant macrofauna in the area, including aquatic oligochaetes families Tubificidae (Branchiura sp. and Tubifex sp.) and Naididae (Dero sp.), polychaetes families Nepthyidae (Nepthys sp.) and Nereididae (Namalycastis sp., Nereis sp. and Dendronereis sp.), gastropods family Viviparidae (Mekongia swainsoni brueri), bivalves family Corbiculidae (Corbicula sp.), crustacean family Palaemonidae (Macrobrachium sp.), and insect larvae family Chironomidae (Chironomus sp.) were discovered. According to the result of the biological indices, BMWP<sup>thai</sup> score and ASPT<sup>thai</sup>, Bang Ban canal indicated poor water quality depending on the standard criteria of surface water quality category 4 (poor water quality). Conclusions: The study concluded that the BMWP<sup>thai</sup> score and ASPT<sup>thai </sup>can be used to assess water quality, with relationships to the number of families, density, richness index, diversity index, and evenness index.</p> ณัฐกิตทิ์ โตอ่อน Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 55 73 ผลของความแตกต่างของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืช ต่อการเพาะเลี้ยงเปราะหูกระต่ายในหลอดทดลอง https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9304 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : งานวิจัยนี้ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์เปราะหูกระต่าย (Kaempferia sisaketensis Picheans. &amp; Koonterm) ซึ่งมีสถานภาพเป็นพืชหายาก พืชถิ่นเดียวที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช วิธีการดำเนินการวิจัย : นำต้นอ่อนเปราะหูกระต่ายขนาด 1 เซนติเมตร มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์สูตร Murashige และ Skoog (MS) ที่เติมไซโทไคนิน (BA, kinetin และ TDZ) และออกซิน (NAA) ที่ระดับความเข้มข้นแตกต่างกัน เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ย้ายต้นอ่อนเปราะหูกระต่ายออกปลูกในเรือนเพาะชำ โดยใช้วัสดุปลูกที่แตกต่างกัน ได้แก่ ดินร่วน ดินทราย และตินร่วนผสมดินทราย เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลการวิจัย : ต้นอ่อนเปราะหูกระต่ายที่เพาะเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่เติม kinetin ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัม/ลิตร มีจำนวนยอดเฉลี่ยมากที่สุด 5.30 ยอด/ชิ้นส่วนพืช เมื่อเพาะเลี้ยงต้นอ่อนเปราะหูกระต่ายในอาหารสูตร MS ที่เติม kinetin ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัม/ลิตร สามารถชักนำให้เกิดรากเฉลี่ยมากที่สุด 14.50 ราก/ชิ้นส่วนพืช ต้นอ่อนเปราะหูกระต่ายที่สมบูรณ์เมื่อย้ายออกปลูกในเรือนเพาะชำในวัสดุปลูกที่แตกต่างกัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าเมื่อย้ายปลูกในดินทรายมีอัตราการรอดชีวิตสูงสุด 100% สรุปผลการวิจัย : การวิจัยนี้เป็นรายงานการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเปราะหูกระต่ายเป็นครั้งแรก จากการศึกษานี้สามารถใช้ในการขยายพันธุ์และอนุรักษ์พันธุ์เปราะหูกระต่ายไม่ให้สูญพันธุ์&nbsp; Background and Objectives: This research studied a propagation protocol of Kaempferia sisaketensis Picheans. &amp; Koonterm which is a rare and endemic plant of The Northeast of Thailand using plant tissue culture techniques. Methodology: Microshoot (1 cm long) of K. sisaketensis were cultured on Murashige and Skoog medium (MS) supplemented with various concentrations of cytokinins (BA, kinetin, and TDZ) and auxin (NAA) for eight weeks. Transferring complete plantlets of K. sisaketensis to pots containing soil, sand and soil: sand (1:1) under greenhouse conditions for eight weeks. Main Results: The results show that culturing the microshoot of K. sisaketensis on MS medium supplemented with 1 mg/l kinetin produced the highest number of shoots, which is 5.30 shoots/explant. For root induction, the results show that the highest number of roots were 14.50 roots/explant when microshoots of K. sisaketensis was cultured on MS medium augmented with 2 mg/l kinetin and 1 mg/l NAA. After transferring complete plantlets of K. sisaketensis to pots containing different types of planting materials under greenhouse conditions for eight weeks, the best survival rate was 100% when transplanting to sand. Conclusions: This research is the first report on tissue culture of K. sisaketensis. This study can be used to propagate and preserve K. sisaketensis from extinction.</p> รัตติยา ทุงจันทร์ สุรพล แสนสุข ปิยะพร แสนสุข Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 74 98 การสังเคราะห์ผงผลึกนาโนแม่เหล็ก Co0.6Zn0.4Fe1.7Mn0.3O4 อย่างง่าย ที่มีค่าแมกนีไตเซชันสูงด้วยวิธีการเผาไหม้ของแข็ง https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9305 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสังเคราะห์ผงผลึก Co<sub>0.6</sub>Zn<sub>0.4</sub>Fe<sub>1.7</sub> Mn<sub>0.3</sub>O<sub>4</sub> (CZFMO) อย่างง่ายด้วยวิธีการเผาไหม้ของแข็ง โดยใช้ไกลซีนเป็นเชื้อเพลิงและใช้สารตั้งต้นเป็นสารประกอบไนเตรต วิธีดำเนินการวิจัย : การสังเคราะห์ผงผลึกแม่เหล็ก Co<sub>0.6</sub>Zn<sub>0.4</sub>Fe<sub>1.7</sub> Mn<sub>0.3</sub>O<sub>4</sub> (CZFMO) อย่างง่ายด้วยวิธีการเผาไหม้ของแข็ง โดยใช้ไกลซีนเป็นเชื้อเพลิงและใช้สารตั้งต้นเป็นสารประกอบไนเตรต อัตราส่วนของสารตั้งต้นต่อเชื้อเพลิงเป็น 1:4.27 โดยโมล แคลไซน์ที่อุณหภูมิ 500 – 800<sup>o</sup>C เป็นเวลา 2 h ผลการวิจัย : พบว่าผงผลึก CZFMO แคลไซน์ที่อุณหภูมิ 500 - 800<sup>o</sup>C เป็นเวลา 2 ชั่วโมง แสดงเฟสที่บริสุทธิ์ของโครงสร้างสปิเนลแบบลูกบาศก์ สอดคล้องกับฐานข้อมูลมาตรฐาน JCPDS 221086 อนุภาคผงผลึก CZFMO แคลไซน์ที่อุณหภูมิ 500 - 800<sup>o</sup>C เป็นเวลา 2 h เกาะเป็นกลุ่มหนาแน่น ขนาดอนุภาคเฉลี่ยมีขนาดเพิ่มขึ้นจาก 70 เป็น 150 nm เมื่ออุณหภูมิแคลไซน์เพิ่มขึ้น สมบัติแม่เหล็กของผงผลึก CMZFO แคลไซน์ที่อุณหภูมิ 500 - 800<sup>o</sup>C แสดงสมบัติแม่เหล็กแบบเฟร์โรแมกเนติกแบบอ่อนในทุกตัวอย่าง ค่าแมกนีไตเซชันอิ่มตัว (Ms) ค่าแมกนีไตเซชันคงค้าง (M<sub>r</sub>) และค่าสนามแม่เหล็กลบล้าง (H<sub>c</sub>) อยู่ระหว่าง 67.60-116.64 emu/g 14.50 - 33.52 emu/g และ 7.30 - 26.45&nbsp; Oe ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย : ที่อุณหภูมิแคลไซน์ 750<sup>o</sup>C ผงผลึก CMZFO มีค่า M<sub>s</sub> M<sub>r</sub> และ H<sub>c</sub> สูงที่สุด ซึ่งมีค่าเป็น 116.64 emu/g 33.52 emu/g และ 26.45 Oe&nbsp; ตามลำดับ&nbsp; Background and Objectives: The aim of this work, the simplified synthesis of magnetic crystal powder Co<sub>0.6</sub>Zn<sub>0.4</sub>Fe<sub>1.7</sub> Mn<sub>0.3</sub>O<sub>4</sub> (CZFMO) via solid-state combustion techniques was studied Methodology: The simplified synthesis of magnetic crystal powder Co<sub>0.6</sub>Zn<sub>0.4</sub>Fe<sub>1.7</sub> Mn<sub>0.3</sub>O<sub>4</sub> (CZFMO) via solid-state combustion technique was prepared by using glycine as fuel, and raw materials with nitrate compounds. The molar ratio of the fuel to the raw materials was 1:4.27, and calcined temperatures were in the range of 500–800oC. Main Results: It was found that the CZFMO powders with a calcined temperature between 500 and 800oC for 2 h showed a pure spinel structure with a cubic structure, which corresponded to JCPDS no. 221086. The particles of the CZFMO powders at a calcined temperature of 500–800oC for 2 h exhibited an agglomerated form. The average particle size increased from 70 to 150 nm when the calcination temperature increased. The magnetic properties of CZFMO powders calcined at temperatures of 500–800oC for 2 h showed soft ferromagnetic properties in all samples. The values of magnetization (M<sub>s</sub>), remnant magnetization (M<sub>r</sub>), and coercive field (H<sub>c</sub>) were in the range of 67.60–116.64 emu/g, 14.50–33.50 emu/g, and 7.30–26.45 Oe, respectively. Conclusions: At a calcined temperature of 750oC, the CMZFO powder exhibited the highest values of M<sub>s</sub>, M<sub>r</sub>, and H<sub>c</sub> at 116.64 emu/g, 33.5 emu/g, and 26.45 Oe, respectively.</p> ณัฏฐนันท์ เรียบเรียง ภานุพงษ์ อินต๊ะคำ ชญาดา ปิ่นคำ สุปรีดิ์ พินิจสุนทร ธีระชัย บงการณ์ จิตรกร กรพรม Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 99 110 การเตรียมเซรามิกคอมโพสิต (Bi0.5Na0.5)0.94(Ba0.945Ca0.055)0.06(Ti0.9946Sn0.0054) O3:Y2.7Bi0.3Fe4.7Mn0.3 O12 ที่มีสมบัติมัลติเฟร์โรอิกด้วยวิธีการเผาไหม้ของแข็ง https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9306 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : งานวิจัยนี้มีมุ่งเน้นการเตรียมเซรามิกคอมโพสิตที่มีสมบัติมัลติเฟร์โรอิกของ 0.93(Bi<sub>0.5</sub>Na<sub>0.5</sub>)TiO<sub>3</sub> –0.07(Ba<sub>0.945</sub>Ca<sub>0.055</sub>)(Ti<sub>0.91</sub>Sn<sub>0.09</sub>)O<sub>3</sub>: Y<sub>2.7</sub>Bi<sub>0.3</sub>Fe<sub>4.7</sub>Mn<sub>0.3</sub>O<sub>12</sub> (BNT-BCTS: YBFMO) ที่อัตราส่วนต่างๆ ด้วยวิธีการเผาไหม้ของแข็ง ศึกษาผลของอัตราส่วนที่มีต่อโครงสร้างเฟส โครงสร้างจุลภาค สมบัติทางไฟฟ้า และสมบัติทางแม่เหล็กของเซรามิก คอมโพสิตที่เตรียมได้ วิธีดำเนินการวิจัย เซรามิกคอมโพสิต (Bi<sub>0.5</sub>Na<sub>0.5</sub>)<sub>0.94</sub>(Ba<sub>0.945</sub>Ca<sub>0.055</sub>)<sub>0.06</sub>(Ti<sub>0.9946</sub>Sn<sub>0.0054</sub>)O<sub>3</sub>(BNT-BCTS) ผสมด้วยสาร Y<sub>2.7</sub>Bi<sub>0.3</sub>Fe<sub>4.7</sub>Mn<sub>0.3</sub>O<sub>12</sub> (YBFM) ที่อัตราส่วนของ BNT-BCTS:YBFM เป็น 9:1, 8:2, 7:3, 6:4, 5:5, 4:6 และ 3:7 โดยน้ำหนัก เตรียมด้วยวิธีการเผาไหม้ของแข็ง โดยใช้ไกลซันเป็นเชื้อเพลิง ผลการวิจัย : พบว่าเซรามิกทุกอัตราส่วนแสดงโครงสร้างเฟสเพอรอฟสไกต์แบบเฟสร่วมของรอมโบฮีดรอลและเททะโกนอล ผสมกับโครงสร้างเฟสแบบการ์เนต ซึ่งค่าความเข้มของพีคโครงสร้างเฟสแบบการ์เนตมีค่าสูงขึ้นเมื่ออัตราส่วน YBFM สูงขึ้น เกรนเซรามิกมีขนาดใหญ่และเกรนขนาดเล็กผสมกันในทุกอัตราส่วนและมีลักษณะเป็นรูปหลายเหลี่ยม (polygonal grain) โดยเกรนมีขนาดเฉลี่ยที่เล็กลงขณะที่ค่าความหนาแน่นของของเซรามิกมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 5.75 g.cm<sup>-3</sup> เป็น 5.96 g.cm<sup>-3</sup> เมื่ออัตราส่วนของ YBFM มากขึ้น การวิเคราะห์สมบัติไดอิเล็กทริกที่อุณหภูมิห้อง วัดที่ความถี่ 1 kHz ของเซรามิกที่อัตราส่วนต่างๆ พบว่าเซรามิกมีค่าคงที่ไดอิเล็กทริก (<sub>r</sub>) ลดลง ขณะที่ค่าสภาพการสูญเสียไดอิเล็กทริก (tanδ<sub>r</sub>) มีค่าสูงขึ้น เมื่ออัตราส่วนของ YBFM เพิ่มขึ้น การวิเคราะห์สมบัติเฟร์โรอิเล็กทริกจากวงวนฮีสเทอรีซิส (P-E loops) ที่อุณหภูมิห้องของเซรามิก พบว่า วงวนฮีสเทอรีซิสแสดงวงวนที่ไม่อิ่มตัวในทุกตัวอย่าง และมีลักษณะขยายใหญ่ขึ้นมากขึ้นเมื่ออัตราส่วน เมื่ออัตราส่วนของ YBFM เพิ่มขึ้น เนื่องจากการเกิดกระแสรั่วไหล ค่า P<sub>s</sub> ของเซรามิกอยู่ระหว่าง 1.72 ถึง 5.97 µC/cm<sup>2</sup> เมื่ออัตราส่วนของ YBFM เพิ่มขึ้น ค่า P<sub>r</sub> และ E<sub>c</sub> มีค่ามากขึ้น สมบัติแม่เหล็กของเซรามิกทุกอัตราส่วนวัดที่อุณหภูมิ 27<sup>o</sup>C พบว่าเซรามิกทุกตัวแสดงสมบัติแม่เหล็กแบบเฟร์โรแมกเนติก สำหรับค่าแมกนีไตเซชันอิ่มตัว (M<sub>s</sub>) ค่าแมกนีไตเซชันคงค้าง (M<sub>r</sub>) และค่าสนามแม่เหล็กลบล้าง (H<sub>c</sub>) ของเซรามิก มีค่าอยู่ระหว่าง 0.12 ถึง 5.01 emu/g 0.003 ถึง 2.28 emu/g และ 61.25 ถึง 149.19 Oe ตามลำดับ โดยปริมาณเหล่านี้มีค่าสูงขึ้นเมื่อปริมาณส่วนของสาร YBFM เพิ่มขึ้น สรุปผลการวิจัย : เซรามิกคอมโพสิตของ&nbsp; BNT-BCTS: YBFM แสดงสมบัติคู่ควบระหว่างเฟร์อิเล็กทริกกับเฟร์โรแมกเนติก ซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญของวัสดุมัลติเฟร์โรอิก อย่างไรก็ตามปริมาณอัตราส่วน 5:5 ถึง 3:7 เซรามิกมีการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้ามาก ซึ่งเป็นช่วงของอัตราส่วนที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ไม่สามารถยืนยันได้ว่าอัตราของเซรามิกที่ดีที่สุด จึงต้องศึกษาในส่วนของค่าสัมประสิทธิ์แมกนีโตอิเล็กทริกเพิ่มเติมในอนาคต&nbsp; Background and Objectives:This research focuses on the preparation of ceramic composites with multiferroic properties of (Bi<sub>0.5</sub>Na<sub>0.5</sub>)<sub>0.94&nbsp;</sub>(Ba<sub>0.945</sub>Ca<sub>0.055</sub>)<sub>0.06</sub>(Ti<sub>(0.9946)&nbsp;</sub>Sn<sub>0.0054</sub>)O<sub>3&nbsp;</sub>(BNT-BCTS) with mixing Y<sub>2.7</sub>Bi<sub>0.3</sub>Fe<sub>4.7</sub>Mn<sub>0.3</sub>O<sub>12</sub>&nbsp;(YBFM)&nbsp;at various ratios by solid-state combustion technique. The effect of ratios on phase structure, microstructure, electrical properties, and magnetic properties of the prepared ceramic composites were studied. Methodology:&nbsp;The ceramic composite of (Bi<sub>0.5</sub>Na<sub>0.5</sub>)<sub>0.94&nbsp;</sub>(Ba<sub>0.945</sub>Ca<sub>0.055</sub>)<sub>0.06</sub>(Ti<sub>(0.9946)&nbsp;</sub>Sn<sub>0.0054</sub>)O<sub>3&nbsp;</sub>(BNT-BCTS) with mixing Y<sub>2.7</sub>Bi<sub>0.3</sub>Fe<sub>4.7</sub>Mn<sub>0.3</sub>O<sub>12</sub>&nbsp;(YBFM) compound at various ratios of 9:1, 8:2, 7:3, 6:4, 5:5, 4:6, and 3:7 wt% was prepared by solid-state combustion with glycine as fuel. Main Results:It was found that the ratio of all ceramics showed perovskite structure with coexisted phases of rhombohedral and tetragonal phases mixed a garnet structure. The intensity of the garnet structure increased with increasing of the YBFM ratios. Grain ceramics showed mixture of large grains and small grains in all ceramics and grains exhibited polygonal shapes. Average grain size density of the ceramics deceased while the density of the ceramics increased from 5.75 g.cm<sup>-3</sup>&nbsp;to 5.96 g.cm<sup>-3&nbsp;</sup>when the YBFM ratios increased. In the analysis of dielectric property at room temperature with measuring at 1 kHz of the ceramics at various ratios, it was observed that the dielectric constant (<sub>r</sub>) decreased. In contrast, the dielectric loss (tanδ<sub>r</sub>) increased when the YBFM ratios increased. The analysis of ferroelectric properties from P-E loops at room temperature of all ceramics, it was found that all P-E loops showed non-saturated loops and the P-E loos showed bloated loops with increasing the YBFM ratios which indicated that leakage current was formed. The P<sub>s&nbsp;</sub>value of the ceramics was in the range of 1.72 - 5.97 µC/cm<sup>2</sup>. When the YBFM ratios increased, the P<sub>r</sub>&nbsp;and E<sub>c</sub>&nbsp;values were increased. For magnetic property of all ceramic ratios with measuring at 27<sup>o</sup>C, showed that all ceramics showed the ferromagnetic property. The value of saturated magnetic (M<sub>s</sub>), Remnant magnetic (M<sub>r</sub>), and Magnetic coercive field (H<sub>c</sub>) of all ceramic ratios were in the range of 0.12-5.01 emu/g, 0.003-2.28 emu/g and 61.25-149.19 Oe, respectively, all values increased with increasing the YBFM ratios. Conclusions:The BNT-BCTS: YBFM ceramic composite exhibited ferroelectric and ferromagnetic coupling properties, which were important characteristics of multiferroic materials. However, at volume ratios of 5:5 to 3:7, the ceramic has a large leakage current, which was a range of inappropriate ratios. Moreover, it is not possible to confirm that the ratio of ceramic was the best. Therefore, further study of the magnetoelectric coefficient is required in the future.</p> ชเนษฎ์ วิชาศิลป์ สุปรีดิ์ พินิจสุนทร ธีระชัย บงการณ์ จิตรกร กรพรม Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 111 128 ผลกระทบของการเผาตอซังและฟางข้าวต่อปริมาณฝุ่นละอองเชิงมวล PM2.5 ในบรรยากาศ : กรณีศึกษาของชุมชนบ้านหนองขอน ตำบลเมืองใหม่ อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9307 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : ศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหาจากการเผาตอซังและฟางข้าวต่อปริมาณฝุ่นละอองเชิงมวล PM<sub>2.5</sub> ในบรรยากาศของชุมชนบ้านหนองขอน ตำบลเมืองใหม่ อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา และเพื่อศึกษาปริมาณฝุ่นละอองเชิงมวล PM<sub>2.5</sub> จากการเผาตอซังและฟางข้าวเทียบกับค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศจากกรมควบคุมมลพิษ และประเมินอัตราการปลดปล่อยมลพิษหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต วิธีดำเนินการวิจัย : การใช้เครื่องมือวิจัยประเภทแผนภาพกระบวนการไหลของกระบวนการผลิตในการเก็บข้อมูลของกิจกรรมการเพาะปลูกข้าว และวิเคราะห์ด้วยแผนผังกางปลาแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาและสาเหตุของปัญหาในการเผาตอซังและฟางข้าว ผลการวิจัย : เกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวขาดองค์ความรู้ในการจัดการตอซังและฟางข้าว ด้านความเชื่อว่าการเผาสามารถกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชได้ และขาดแคลนแรงงาน สาเหตุอีกประการหนึ่งมาจากวิธีการทำงาน เนื่องจากเกษตรกรต้องการความรวดเร็วในการเตรียมดินและไถดินในการทำนารอบถัดไป ผลการศึกษาปริมาณฝุ่นละอองเชิงมวล PM<sub>2.5</sub> ในบรรยากาศ ตั้งแต่วันที่ 20 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 พบว่ามีค่าปริมาณฝุ่นละอองเชิงมวล PM<sub>2.5</sub> ในบรรยากาศ เกินค่ามาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษจำนวน 3 วัน การวัดค่าดัชนีคุณภาพอากาศแสดงให้เห็นว่าเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชากร สรุปผลการวิจัย : ปริมาณฝุ่นละอองเชิงมวล PM<sub>2.5</sub> ในบรรยากาศของการเผาตอซังและฟางข้าวซึ่งถูกปล่อยทิ้งไว้ในพื้นที่เพาะปลูกข้าวหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีปริมาณความชื้นแตกต่างกัน ในช่วงระยะเวลา 0, 10, 20 และ 30 วัน พบว่าการเผาตอซังและฟางข้าวที่ปล่อยทิ้งไว้ในพื้นที่เพาะปลูกเป็นระยะเวลานานทำให้ปริมาณความชื้นลดลงเหลือร้อยละ 80.8, 46.8, 24.5 และ 12.7 (ความชื้นมาตรฐานเปียก) ส่งผลให้เกิดปริมาณฝุ่นละอองเชิงมวล PM<sub>2.5</sub> ในบรรยากาศมีปริมาณลดลง เท่ากับ 35, 30, 24 และ 21 g/m3 ตามลำดับ และอัตราการปลดปล่อยฝุ่นละอองเชิงมวล PM<sub>2.5</sub> มีค่าเท่ากับ 5.4 กรัมต่อกิโลกรัมของตอซังและฟางข้าว&nbsp; Background and Objectives: To study the problems and causes associated with the burning of stubble and rice straw in relation to the mass concentration of PM<sub>2.5</sub> particulate matter in the atmosphere of Ban Nong Khon community, Muang Mai Subdistrict, Ratchasan District, Chachoengsao Province. The research aimed to compare the PM<sub>2.5</sub> concentrations resulting from the burning of stubble and rice straw with the air quality standards set by the Pollution Control Department. Furthermore, it aimed to assess the emission rate of pollutants post-harvest. Methodology: The research utilized research tools, such as process flow diagrams, to collect data on rice cultivation activities and analyzed the relationships between the problems and causes of stubble and rice straw burning using fishbone diagrams. Main Results: Rice farmers lacked knowledge in managing stubble and rice straw. They believed that burning could effectively control weed and pests, and there was a labor shortage. Another contributing factor was the working methods, as farmers needed speed in soil preparation and plowing for the next planting cycle. The study also found that the PM<sub>2.5</sub> particulate matter concentration in the atmosphere between May 20 - 26, 2023, exceeded the air quality standards set by the Pollution Control Department for three days. Conclusions: The air quality index measurements indicated a beginning of adverse health impacts on the population. Additionally, the study found that the amount of PM<sub>2.5</sub> particulate matter in the atmosphere resulting from the burning of stubble and rice straw left in the rice cultivation area after harvest, with different moisture levels, during the periods of 0, 10, 20, and 30 days, decreased as the burning time increased. The moisture content decreased to 80.8%, 46.8%, 24.5%, and 12.7% (wet basis) respectively. Consequently, the amount of PM2.5 particulate matter in the atmosphere decreased, with concentrations of 35, 30, 24, and 21 μg/m3 respectively. The emission rate of PM<sub>2.5</sub> particulate matter was calculated to be 5.4 grams per kilogram of stubble and rice straw.</p> <p>&nbsp;</p> ศรินยา ประทีปชนะชัย ยุทธณรงค์ จงจันทร์ ธนธัช มั่นมงคล Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 129 146 การหาค่าเหมาะที่สุดของการผลิตผ้าบาติกโดยใช้วิธีซิมเพล็กซ์อย่างรวดเร็ว https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9309 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : เพื่อคำนวณหาจำนวนการผลิตผ้าบาติกที่เหมาะสมที่สุดของบริษัทอันดานันบาติกลัมปุง ในประเทศอินโดเนียเซีย ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ ผ้าบาติกพิมพ์ลาย ผ้าบาติกทำมือ และผ้าพันคอบาติก เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด โดยใช้วิธีซิมเพล็กซ์อย่างรวดเร็ว ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ได้นำมาเปรียบเทียบกับวิธีซิมเพล็กซ์ วิธีดำเนินการวิจัย : ศึกษาปัญหากำไรสูงสุดของบริษัทอันดานันบาติกลัมปุง ศึกษาวิธีซิมเพล็กซ์และวิธีซิมเพล็กซ์อย่างรวดเร็ว ประยุกต์วิธีซิมเพล็กซ์อย่างรวดเร็วกับปัญหากำไรสูงสุดของบริษัทอันดานันบาติกลัมปุง นำผลลัพธ์ที่ได้เปรียบเทียบกับวิธีซิมเพล็กซ์ สรุปผลการวิจัยและให้ข้อเสนอแนะ ผลการวิจัย : ทั้งสองวิธีให้ผลการคำนวณจำนวนการผลิตผ้าบาติกที่เหมาะที่สุดมีค่าเท่ากันคือ ควรจะผลิตผ้าบาติกพิมพ์ลายจำนวน 4.05 โหล และควรจะผลิตผ้าบาติกทำมือจำนวน 5.51 โหล เพื่อให้ได้กำไรสูงสุดคือ 652,530 รูเปียห์ สรุปผลการวิจัย : เมื่อเปรียบเทียบกระบวนการคำนวณของทั้งสองวิธีแล้วพบว่า วิธีซิมเพล็กซ์อย่างรวดเร็วจะลดขั้นตอนการคำนวณตารางซิมเพล็กซ์ โดยวิธีซิมเพล็กซ์ใช้ 3 ตารางการคำนวณ แต่วิธีซิมเพล็กซ์อย่างรวดเร็วใช้เพียง 2 ตารางการคำนวณ นอกจากนี้ได้มีการนำโปรแกรมไพทอนมาช่วยในการตรวจสอบผลลัพธ์และเปรียบเทียบประสิทธิภาพด้านเวลาของการคำนวณ พบว่าวิธีซิมเพล็กซ์อย่างรวดเร็วจะใช้เวลาในการคำนวณน้อยกว่าวิธีซิมเพล็กซ์อยู่ 0.201457 วินาที&nbsp; Background and Objectives: To calculate the amount of Lampung batik production of the Andanan Batik Lampung company in Indonesia. There are 3 types of batik: printed batik, handmade batik and batik scarf that resulted in that resulted in the maximum profit using the quick simplex method compared with the simplex method. Methodology: Study the problem of the maximum profit from batik production. Study the simplex method and the quick simplex method. Apply the quick simplex method to the problem of maximizing the profit of batik production. Compare the results with the simplex method. Summarize and discuss the finding. Main Results: It was found that the Lampung batik production of the Andanan Batik Lampung company should be produced printed batik (4.05 dozen) and handmade batik (5.51 dozen) for the maximum profit 652,530 IDR. Conclusions: When we calculated using the quick simplex method it was found that this method reduced the calculation process of the simplex table. The simplex method used three tables, but the quick simplex method used only two tables, which gave the same answer as the simplex method. In addition, Python programs were used to help verify the results. In order to achieve the maximum profitability of each type of batik production, it was found that the quick simplex method took time less than the simplex method, which was 0.21457 seconds.&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> จีรวรรณ พัชรประกิติ รัตติกาล จักรวาลย์ นพพร พัชรประกิติ Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 147 159 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แป้งโรตีกรอบโดยใช้แป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ ทดแทนแป้งสาลีอเนกประสงค์ https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9310 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : ข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และเป็นแหล่งธาตุเหล็ก แคลเซียม และวิตามินอีที่ดี การใช้แป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ และทดแทนแป้งสาลีอเนกประสงค์บางส่วนในแป้งโรตีกรอบ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แป้งโรตีกรอบจากแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่เพื่อทดแทนแป้งสาลีอเนกประสงค์ด้วยแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่โดยผันแปรที่ร้อยละ 0 (สูตรควบคุม) 40, 60 และ 80 วิธีดำเนินการวิจัย : ศึกษาสมบัติเบื้องต้นทางกายภาพ และทางเคมีของแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่ผ่าน และไม่ผ่านการให้ความร้อน พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คุณสมบัติสมบัติทางกายภาพที่ศึกษา ได้แก่ ความสว่าง สี และเนื้อสัมผัส คุณสมบัติทางเคมี ได้แก่ ความชื้น วอเตอร์แอกติวิตี้ ใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ และแอนโธไซยานิน นอกจากนี้ยังมีศึกษาสมบัติทางจุลชีววิทยาด้านจุลินทรีย์ทั้งหมด และศึกษาการยอมรับประสาทสัมผัสด้าน สี กลิ่น เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมใช้ผู้ทดสอบชิมจำนวน 30 คน ผลการวิจัย : ผลการวิเคราะห์ทางกายภาพความสว่าง สีแดง สีเหลือง ค่าความแข็ง และค่าความแตกหักพบว่า ลักษณะปรากฏมีสีม่วงอ่อนถึงเข้ม ความสว่าง สีแดง สีเหลือง ค่าความแข็ง และค่าความแตกหักอยู่ในช่วง 17.99-62.29, 7.91-10.55, 5.61-33.85, 267.26-2517.96 นิวตัน และ 0.80-6.90 มิลลิเมตร ตามลำดับ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) เมื่อเพิ่มปริมาณแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่มากขึ้นมีผลทำให้ค่าที่วัดได้ คือ ค่าความสว่าง ค่าสี และเนื้อสัมผัสมีค่าลดลง ผลการวิเคราะห์ทางเคมีพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ&nbsp; ยกเว้นความชื้น วอเตอร์แอกติวิตี้ในช่วง 0.50-0.71 ความชื้นอยู่ในช่วงร้อยละ 1.28-3.62 ใยอาหารในช่วงร้อยละ 0.35-2.15 แอนโธไซยานินในช่วง 0.00-22.09 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง และสารต้านอนุมูลอิสระวิธี DPPH ในช่วง 0.00-45.11 มิลลิกรัมสมมูลโทร็อกซ์/ 100 กรัม ผลการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาพบว่า จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแป้งโรตีกรอบ (มผช.503/2547) ส่วนผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสพบว่า การเติมแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ร้อยละ 40 ให้คะแนนการยอมรับโดยรวมด้านสี กลิ่น เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมมีค่าสูงสุด คือ 7.57, 7.97, 7.67 และ 7.87 ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย : สรุปการใช้แป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ทดแทนแป้งสาลีอเนกประสงค์ในปริมาณสูงขึ้นมีผลทำให้ผลิตภัณฑ์แป้งโรตีกรอบมีลักษณะคุณภาพเนื้อสัมผัสดีขึ้นรวมถึงเพิ่มใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ และแอนโธไซยานิน</p> <p>Background and Objectives: Riceberry is an antioxidant and a good source of iron, calcium and vitamin E. Riceberry flour was used to increase nutrition value and partially substitute all purpose wheat flour in crispy roti flour. Therefore, the purpose of this research was to develop the crispy roti flour products in order to substitute all purpose wheat flour with 0% (as a control formula), 40%, 60% and 80% of riceberry flour. Methodology: The study of the physical and chemical properties of heated and unheated riceberry flour revealed that they were significantly different. Physical properties such as lightness, colour and texture, as well as chemical properties such as moisture content, water activity, crude fiber as well as anthocyanin and DPPH inhibition varied. Furthermore, microbiological properties including total plate count were also evaluated. In addition, the results of sensory evaluation of each product’s in terms of colour, odour, texture and overall acceptability were performed by 30 panelists using the 9-point hedonic scale. Main Results: With respect to the physical properties of lightness, redness, yellowness, hardness and fracturability, it was found that all experiments were significantly different (p&lt;0.05). The lightness, redness, yellowness, hardness and fracturability exhibited a light purple to dark purple colour in the range of 17.99-62.29, 7.91-10.55, 5.61-33.85, 267.26-2517.96 N and 0.80-6.90 mm, respectively. As the amount of riceberry flour increased, lightness, colour and texture also significantly decreased. The chemical properties showed that they were significantly different, except for the moisture. The water activity, moisture content, crude fiber, anthocyanin and DPPH inhibition were in the range of 0.50-0.71, 1.28-3.62%, 0.35-2.15%, 0.00-22.09 mg/g dry weight and 0.00-45.11 mg eq trolox/100g, respectively. The microbiological results revealed that total plate count met the standard regulation according to the Thai Industrial Standards Institute crispy roti (CPS.503/2004). The sensory evaluation indicated that colour, odour, texture and overall acceptability of crispy roti product supplemented with 40% riceberry flour gave the highest scores of 7.57, 7.97, 7.67 and 7.87, respectively.</p> วัฒนา วิริวุฒิกร Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 160 180 การศึกษาการผลิตชางวงตาลพร้อมดื่มผสมสมุนไพรเพื่อสุขภาพ https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9311 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : งวงตาลเป็นสมุนไพรท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยคนในท้องถิ่นนิยมบริโภคในรูปแบบชาร้อนซึ่งต้องสิ้นเปลืองเวลาในการเตรียม จึงเห็นแนวทางในการพัฒนาเป็นชาพร้อมดื่มซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายเนื่องจากสะดวกต่อการบริโภค ให้ความสดชื่น ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชางวงตาลพร้อมดื่มเสริมสมุนไพรโดยใช้สารให้ความหวานคือ สารสกัดหญ้าหวาน 2. ศึกษาคุณภาพด้านกายภาพ องค์ประกอบทางเคมี คุณภาพทางจุลินทรีย์ และคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ชางวงตาลพร้อมดื่มเสริมสมุนไพร วิธีดำเนินการวิจัย : ศึกษาความหวานจากสารสกัดหญ้าหวานที่เหมาะสมของชางวงตาลพร้อมดื่มจำนวน 5 ระดับ ได้แก่ ร้อยละ 0, 0.01, 0.02, 0.03 และ 0.04 (w/v) ตามลำดับ คัดเลือกความหวานเพียง 1 ระดับ ที่ผู้บริโภคยอมรับมากที่สุด จากนั้นนำไปพัฒนาเป็นชาพร้อมดื่มเสริมสมุนไพร จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ เก๊กฮวย ใบเตย และอัญชัน โดยศึกษาอัตราส่วนของปริมาณงวงตาลต่อสมุนไพรเป็น 90:10, 80:20 และ 70:30 (w/w) ตามลำดับ คัดเลือกปริมาณและชนิดของสมุนไพรที่ผู้บริโภคให้การยอมรับมากที่สุด 1 ชนิด เพื่อศึกษาการยอมรับผลิตภัณฑ์ชางวงตาลพร้อมดื่มเสริมสมุนไพร คุณภาพด้านกายภาพ องค์ประกอบทางเคมี คุณภาพทางจุลินทรีย์ และคุณค่าทางโภชนาการพร้อมฉลากผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัย : การคัดเลือกระดับความหวานของการเติมสารสกัดหญ้าหวานเท่ากับ ร้อยละ 0.03 (w/v) จากนั้นนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชางวงตาลพร้อมดื่มเสริมสมุนไพร 3 ชนิด พบว่า สูตรที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคสูงที่สุด คือ สูตรเสริมใบเตย&nbsp; ที่อัตราส่วน 90:10 (w/w) ผลิตภัณฑ์ชางวงตาลพร้อมดื่มเสริมใบเตยมีคุณภาพทางกายภาพ เคมี และคุณภาพทางจุลินทรีย์ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 356) พ.ศ.2556 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ทำการตรวจสอบคุณค่าทางโภชนาการ พบว่า ชางวงตาลพร้อมดื่มเสริมใบเตยเป็นเครื่องดื่มที่ไม่ให้พลังงาน เหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ ผลการศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์พบว่า ผู้บริโภคให้การยอมรับร้อยละ 97 ตัดสินใจซื้อรับประทานหากมีผลิตภัณฑ์นี้ออกวางจำหน่าย คิดเป็นร้อยละ 71 และคิดว่าราคาที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ชางวงตาลพร้อมดื่มเสริมสมุนไพร ควรมีราคา 25 บาท/500 มล. คิดเป็นร้อยละ 60 สรุปผลการวิจัย : ชางวงตาลพร้อมดื่มที่ระดับความหวานจากสารสกัดหญ้าหวาน ร้อยละ 0.03 (w/v) เสริมใบเตยที่อัตราส่วน 90:10 (w/w) ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคสูงที่สุด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ให้พลังงาน และอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระเหมาะกับผู้รักสุขภาพ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่สะดวกต่อการบริโภค&nbsp; Background and Objectives: Borassus flabellifer L. male flowers are a local herb in Phetchaburi province. This plant has health benefits and is commonly consumed as hot tea. However, preparation time is long and not ideal. This particular ready-to-drink tea is a widely popular product since it is convenient to consume and gives a refreshing feeling. The objectives of this research are the followings: 1. To study the product development of ready-to-drink tea from Borassus flabellifer L. male flowers that use stevia extract as sweetener 2. To study physical properties, chemical compositions, microbiological properties and nutritional value of ready-to-drink tea from Borassus flabellifer L. male flowers with herbs. Methodology: Study on suitable sweetness of stevia extract of ready-to-drink tea at 5 sweetness levels; 0.00, 0.01, 0.02, 0.03 and 0.04 percent (w/v), respectively. Only one level of sweetness that consumers accepted the most was then selected. Subsequently, this level was developed into ready-to-drink tea from Borassus flabellifer L. male flowers with herbs. There were three herbs that were used which were chrysanthemum, pandanus and butterfly pea. The ratio of Borassus flabellifer L. male flowers to herbs was studied at 90:10, 80:20 and 70:30 (w/w), respectively. The quantity and type of herbs that were most accepted by consumers was selected, this condition was studied on the consumer acceptance, physical qualities, chemical compositions, microbial quality and nutritional value with product labels.&nbsp; Main Results: It was established that the level of sweetness was obtained at 0.03 percent (w/v). Subsequently, stevia extract addition was used to produce ready-to-drink tea from Borassus flabellifer L. male flowers with three levels of herbs. Sensory quality test showed that, the consumers mostly accepted the pandan supplement formula at the ratio of 90:10 (w/w). Ready-to-drink tea from Borassus flabellifer L. male flowers with pandan has good physical, chemical, and microbiological qualities. This is in accordance with the standards as set by The Ministry of Public Health (No. 356) 2013 that was issued in accordance with the Food Act B.E. 2522 regarding beverages in sealed containers. After nutritional test, the results exhibited that ready-to-drink tea from Borassus flabellifer L. male flowers with pandan is a significantly non-calories drink; suitable for health conscious consumers. The study found that 97 percent of consumers accepted this product and that they would buy the product when released (equivalent to 71 percent of consumers). Moreover, they thought that the reasonable price of the ready-to-drink tea should be 25 baht/500 ml, representing 60 percent. Conclusions: Ready-to-drink tea from Borassus flabellifer L. male flowers with a sweetness level of 0.03 percent (w/v) stevia extract and pandan leaves at a ratio of 90:10 (w/w) has the highest acceptance from consumers. It was a non-calorie product, rich in antioxidants, suitable for health conscious and is a product that is convenient to consume.&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> พรอริยา ฉิรินัง อิศรา วัฒนนภาเกษม เจิมธง ปรารถนารักษ์ จุติพร อินทะนิน ศิริวรรณ ณะวงษ์ Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 181 198 ผลของ Beauveria bassiana และ Bacillus thuringiensis ต่อฮีโมไซต์ระยะตัวอ่อนของด้วงหนอนนก (Tenebrio molitor L.) https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9312 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : สารชีวภัณฑ์ถูกนำมาใช้ในการควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูพืชอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามข้อมูลการตอบสนองของฮีโมไซต์แมลงต่อสารชีวภัณฑ์ยังมีจำกัด วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งเพื่อตรวจสอบผลของสารชีวภัณฑ์เชื้อราบิวเวอเรีย (Beauveria bassiana) และเชื้อบีที (Bacillus thuringiensis) ต่อฮีโมไซต์ของแมลงโดยใช้ด้วงหนอนนกเป็นสัตว์ทดลองต้นแบบ วิธีดำเนินการวิจัย : จำนวน total hemocyte count (THC) และ differential hemocyte count (DHC) ได้ถูกทำการศึกษาหลังจากตัวอ่อนด้วงหนอนนกได้รับสารชีวภัณฑ์ที่ความเข้มข้น 0.0025, 0.00625 และ 0.0125 กรัมต่อมิลลิลิตร ที่เวลา 24, 48, 72, 96, 120, 144 และ 168 ชั่วโมง ผลการวิจัย : ผลการทดลองพบว่า THC มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญในตัวอ่อนที่ได้รับเชื้อ B. bassiana และเชื้อ&nbsp;&nbsp; B. thuringiensis ที่เวลา 24 ชั่วโมง และยังคงอยู่ในระดับเดิมหลังจากนั้น นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของค่า THC&nbsp;&nbsp; ถูกตรวจสอบในตัวอ่อนที่ได้รับสารชีวภัณฑ์ความเข้มข้น 0.0125 กรัมต่อมิลลิลิตร ที่เวลา 2, 6, 10, 24, 48 และ 72 ชั่วโมง พบว่าค่า THC ในตัวอ่อนที่ได้รับเชื้อ B. bassiana เริ่มลดลงที่ 6 ชั่วโมง ขณะที่การลดลงของ THC ถูกบันทึกได้ที่เวลา 2 ชั่วโมง หลังจากตัวอ่อนได้รับ B. thuringiensis พบ DHC ทั้งหมด 4 ชนิดในตัวอ่อนที่ได้รับสารชีวภัณฑ์ prohemocytes เป็นฮีโมไซต์ชนิดหลักที่พบในตัวอ่อนกลุ่มควบคุม แต่จำนวนของ prohemocytes ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อตัวอ่อนได้รับเชื้อ B. bassiana และเชื้อ&nbsp; B. thuringiensis ในทุกความเข้มข้นที่ 24 ชั่วโมง จำนวน plasmatocytes เพิ่มขึ้นในทุกความเข้มและระยะเวลาที่ทดสอบ granulocytes ตอบสนองต่อเชื้อ B. bassiana และเชื้อ B. thuringiensis แตกต่างกัน จำนวนของ granulocytes เพิ่มขึ้นเมื่อตัวอ่อนได้รับ B. thuringiensis ที่ 48 และ 72 ชั่วโมง ขณะที่การลดลงของ granulocyte ถูกพบที่ความเข้มข้นสูงนาน 120-168 ชั่วโมง หลังจากได้รับ B. bassiana ในทางตรงกันข้ามจำนวนของ oenocytes ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากได้รับสารชีวภัณฑ์ สรุปผลการวิจัย : ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารชีวภัณฑ์ส่งผลกระทบต่อ THC และ DHC ในตัวอ่อนด้วงหนอนนก การค้นพบนี้ทำให้มีข้อมูลพื้นฐานของผลกระทบของสารชีวภัณฑ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันของแมลง&nbsp; Background and Objectives: Biopesticides have been used to control and eliminate pests widely. However, the information on how insect’s hemocytes respond to biopesticides is still limited. The aim of this study was to examine the effect of Beauveria bassiana and Bacillus thuringiensis on insect’s hemocytes using the mealworm beetle (Tenebrio molitor L.) larva as an animal model. Methodology: The total hemocyte count (THC) and differential hemocyte count (DHC) were examined after T. molitor larvae were treated with biopesticides at concentrations of 0.0025, 0.00625 and 0.0125 g/ml for 24, 48, 72, 96, 120, 144 and 168 hours. Main Results: Results showed that THC was decreased significantly in the larvae treated with B. bassiana and B. thuringiensis at 24 hours and remained low thereafter. Moreover, the changes in THC were examined in larvae treated with 0.0125 g/ml of biopesticides for 2, 6, 10, 24, 48 and 72 hours. The THC in larvae treated with B. bassiana started to decrease at 6 h, while the decrease in TCH was recorded at 2 h after the larvae were treated with B. thuringiensis. The DHC in larvae treated with B. bassiana and B. thuringiensis were found in 4 types. Prohemocytes was the dominant hemocytes found in the control larvae, but number of prohemocytes decreased significantly when the larvae were treated with B. bassiana and B. thuringiensis at every concentration for 24 hours. Plasmatocytes increased in all examined concentrations and all periods of treatment. Granulocytes responded differently to B. bassiana and B. thuringiensis. The number of granulocytes increased when the larvae were treated with B. thuringiensis at 48 and 72 hours, while the decrease of granulocytes was recorded with highest concentration at 120-168 hours after B. bassiana treatment. In contrast, the number of oenocytes was not changed after biopesticide treatment. Conclusions: The results indicated the treatment of biopesticides affected the THC and DHC in the T. molitor larvae. This finding provides basic information on how biopesticides affected the immune system in insects.</p> เนรัฐชลา สุวรรณคนธ์ ธิดารัตน์ สินธุโสภา นิลาวัลย์ ปะวะเสนะ นุจิรา ทาตัน จตุพร ตั้งจิตรวิทยากูล Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 199 213 ผลของจลนพลศาสตร์การอบแห้งต่อคุณภาพของสาหร่ายข้ออบแห้ง https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9313 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : ชาวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี นิยมนำสาหร่ายข้อที่มีมากในช่วงฤดูกาลมาทำการลวกและ&nbsp; แช่แข็งเพื่อเก็บรักษาวัตถุดิบก่อนนำไปแปรรูปโดยวิธีทำแห้ง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของจลนพลศาสตร์การอบแห้งต่อคุณภาพทางกายภาพและเคมีของสาหร่ายข้ออบแห้ง วิธีดำเนินการวิจัย : การทดลองอบแห้งที่อุณหภูมิ 60 70 และ 80 องศาเซลเซียส โดยใช้วิธีที่แตกต่างกัน 6 วิธี คือ วิธีการอบแห้งแบบสุญญากาศ (VD) การลวกก่อนนำไปอบแห้งด้วยวิธีการอบแห้งแบบสุญญากาศ (B-VD) การแช่แข็งและตั้งทิ้งให้ละลายที่อุณหภูมิห้องก่อนนำไปอบแห้งด้วยวิธีการอบแห้งแบบสุญญากาศ (F-VD) อบแห้งด้วยวิธีใช้ลมร้อน (CD) การลวกก่อนนำไปอบแห้งด้วยวิธีใช้ลมร้อน (B-CD) และการแช่แข็งและตั้งทิ้งให้ละลายที่อุณหภูมิห้องก่อนนำไปอบแห้งด้วยวิธีใช้ลมร้อน (F-CD) ผลการวิจัย : การอบแห้งด้วยวิธี VD ที่อุณหภูมิสูงส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีการคืนตัวสูง การเปลี่ยนแปลงสีเทียบกับแบบสดน้อย ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด แทนนิน คลอโรฟิลล์ เอและแคโรทีนอยด์สูง เมื่อเปรียบเทียบกับการอบแห้งวิธีอื่น ดังนั้นการอบแห้งสาหร่ายข้อด้วยวิธี VD 80 องศาเซลเซียส ถูกพิจารณาเป็นสภาวะที่ดีที่สุดในการอบแห้ง สรุปผลการวิจัย : การอบแห้งวิธี VD 80 องศาเซลเซียส จะใช้ระยะเวลาอบแห้งสั้น ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นสูงและค่าพลังงานกระตุ้นที่ต่ำ การแพร่ความชื้นออกจากผลิตภัณฑ์สูงที่ระยะเวลาสั้นจะทำให้เกิดช่องว่างภายในผลิตภัณฑ์มาก&nbsp; ซึ่งสัมพันธ์กับค่าการคืนตัวของผลิตภัณฑ์ที่สูง นอกจากนี้การอบแห้งที่ระยะเวลาสั้นส่งผลต่อการกักเก็บปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด แทนนิน คลอโรฟิลล์ เอและแคโรทีนอยด์ในผลิตภัณฑ์สูง โดยแบบจำลองการอบแห้งที่เหมาะสมในการทำนายลักษณะการอบแห้งด้วยวิธี VD 80 องศาเซลเซียส คือ two-term exponential&nbsp; Background and Objectives: People of Koh Samui in Surat Thani Province often bring Gracilaria Salicornia (C. Agardh) Dawson that is in large quantities during the season to be blanched and frozen to preserve raw materials before being processed by drying methods. The purpose of this research was to study the effect of drying kinetics on the physical and chemical quality of dried Gracilaria Salicornia (C. Agardh) Dawson. Methodology: Drying experiments were carried out at drying temperatures of 60, 70 and 80oC using six different drying methods were a vacuum drying (VD), a blanching before (B-VD) vacuum drying, and a freezing and thawing at room temperature before vacuum drying (F-VD), a hot air drying (CD), a blanching before hot air drying (B-CD) and a freezing and thawing at room temperature before hot air drying (F-CD). Main Results: VD at 80oC of algae showed more rehydration, less color change, higher total phenolic values, higher tannin values, and higher b-carotene values compared to other drying methods. Consequently, the VD at 80oC was suggested as the best drying condition. Conclusions: VD at 80oC of algae showed shorter drying, higher values of the effective moisture diffusivity and lower values of activation energy. The high moisture diffusion at the short drying time creates a large amount of pores inside the product, which corresponds to a high rehydration ratio. Moreover, the short drying period resulted in the high retention of total phenolic compounds, tannins, chlorophyll A and b-carotene in the product. The suitable thin layer model for drying of algae with VD at 80oC was two-term exponential.</p> วรรณพิชญ์ จุลกัลป์ ราม แย้มแสงสังข์ Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 214 230 การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของมวลชีวภาพของสาหร่ายทะเลเศรษฐกิจสกุล Caulerpa จังหวัดตรัง ประเทศไทย https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9314 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : ศึกษาการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลในมวลชีวภาพของสาหร่ายทะเลเศรษฐกิจสกุล Caulerpa และคุณภาพน้ำบางประการ รวมถึงความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงมวลชีวภาพของสาหร่ายทะเลที่จังหวัดตรัง เนื่องจากในธรรมชาติสาหร่ายสกุลนี้มีปริมาณผันแปรขึ้นกับฤดูกาล ซึ่งข้อมูลที่ได้จะนำไปประยุกต์ในด้านการจัดการทรัพยากรสาหร่ายทะเลเศรษฐกิจในพื้นที่โดยจะก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน วิธีดำเนินงานวิจัย : เก็บตัวอย่างสาหร่ายทะเลสกุล Caulerpa เพื่อหามวลชีวภาพ และคุณภาพน้ำบางประการ ครอบคลุม&nbsp; ฤดูฝน (เดือนกันยายน 2564) ปลายฤดูฝน (เดือนมกราคม 2565) และฤดูร้อน (เดือนเมษายน 2565) จากสถานีเก็บตัวอย่าง 3 สถานี รวมถึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงมวลชีวภาพของสาหร่ายทะเลที่จังหวัดตรัง ผลการวิจัย : พบสาหร่ายทะเลสกุล Caulerpa ทั้งหมด 2 ชนิด คือ Caulerpa lentillifera&nbsp; และ Caulerpa racemosa var.corynephora ด้านการเปลี่ยนแปลงมวลชีวภาพน้ำหนักแห้งเฉลี่ยของสาหร่ายทั้ง 2 ชนิด พบว่าในช่วงฤดูฝน ไม่พบสาหร่ายในพื้นที่ศึกษา แต่พบมวลชีวภาพน้ำหนักแห้งเฉลี่ยของสาหร่ายในช่วงปลายฤดูฝน โดยมีค่า 113.97 กรัมต่อตารางเมตร และพบว่ามวลชีวภาพน้ำหนักแห้งเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน มีค่าเท่ากับ 251.56 กรัมต่อตารางเมตร&nbsp;&nbsp; เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพน้ำกับปริมาณมวลชีวภาพของสาหร่าย พบว่าสาหร่าย Caulerpa lentillifera มีความสัมพันธ์ด้านบวก (r = 0.694) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) กับความเค็มของน้ำ นอกจากนี้มีความสัมพันธ์ด้านลบ (r = -0.752) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) กับความเป็นกรด–ด่างของน้ำ ส่วนสาหร่าย Caulerpa&nbsp; racemosa var.corynephora พบว่ามีความสัมพันธ์ด้านลบ (r = -0.871) อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P&lt;0.01) กับอุณหภูมิของน้ำ อีกทั้งมีความสัมพันธ์ด้านลบ (r = -0.719, r = -0.746, r = -0.711) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) กับความโปร่งแสงของน้ำ แอมโมเนีย-ไนโตรเจนในน้ำ และออร์โธฟอสเฟต-ฟอสฟอรัสในน้ำ ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย : สาหร่ายทะเลสกุล Caulerpa พบทั้งหมด 2 ชนิด คือ Caulerpa lentillifera&nbsp; และ Caulerpa racemosa var.corynephora ด้านการเปลี่ยนแปลงมวลชีวภาพน้ำหนักแห้งเฉลี่ยของสาหร่ายทั้ง 2 ชนิด ในช่วงฤดูฝนไม่พบสาหร่าย ในพื้นที่ศึกษา แต่พบมวลชีวภาพของสาหร่ายในช่วงปลายฤดูฝน และมวลชีวภาพเพิ่มสูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพน้ำกับปริมาณมวลชีวภาพของสาหร่าย พบว่าความเค็มของน้ำทะเลเป็นปัจจัยที่สำคัญโดยเมื่อความเค็มสูงขึ้นส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของมวลชีวภาพของสาหร่ายทะเล&nbsp; Background and Objectives: The research investigated the seasonal variation in biomass of economic seaweed, Caulerpa, and monitored some water qualities that correlated to a variation of economic seaweed species at Trang province. Notably, the findings would benefit economic seaweed management in the local area, leading to sustainable utilization. Methodology: Samples of Economic seaweed, Caulerpa were collected to determine biomass, and some water quality parameters were analyzed, covering the entire rainy season (September 2021), late rainy season (January 2022), and summer season (April 2022) from three different stations. Moreover, the correlation of water quality impacting seaweed biomass variation in Trang province was analysed. Main Results: Two species of seweeds in the genus Caulerpa was found, namely Caulerpa lentillifera and Caulerpa racemosa var. corynephora. There were no seaweed specimens found at study sites in the rainy season, but their average dried-weight biomass was discovered in the late rainy season at 113.97 grams per square meters, and highest dried-weight biomass was in summer season at 251.56 grams per square meters. Considering a correlation between water quality and seaweed biomass, Caulerpa lentillifera exhibited a significantly positive correlation (r=0.694) with salinity at P&lt;0.05. In contrast, a significant negative correlation (r= -0.752) was pH at P&lt;0.05. Caulerpa racemosa var. corynephora showed a very significant negative correlation (r=-0.871) with water temperature at P&lt;0.01. The other significant negative correlations, i.e., r = -0.719, r = -0.746, and r = -0.711, were water transparency, dissolved ammonia-nitrogen, and dissolved orthophosphate at P&lt;0.05, respectively. Conclusions: Caulerpa lentillifera and Caulerpa racemosa var. corynephora were found at the study sites. Both species were absent in the rainy season, but their biomass was discovered in the late rainy season, and the highest biomass was in summer season. Furthermore, salinity was a crucial parameter that might determine seaweed biomass, as increasing salinity related to increasing seaweed biomass.</p> นิสราภรณ์ เพ็ชร์สุทธิ์ สุพัชชา ชูเสียงแจ้ว จิรเวฐน์ เพ็ชร์สุทธิ์ Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 231 244 การปรับปรุงสมบัติทางด้านเชื้อเพลิงของกะลาปาล์ม ด้วยกระบวนการทอร์รีแฟคชันโดยใช้ปฏิกรณ์แบบสกรูลำเลียง https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9558 <p>วัตถุประสงค์และที่มา :&nbsp;วัสดุเศษเหลือจากปาล์มน้ำมันมีศักยภาพในการที่จะใช้เป็นแหล่งพลังงานได้อย่างยั่งยืน แม้ว่าจะมีคุณลักษณะทางด้านเชื้อเพลิงที่ต่ำ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้ใช้กระบวนการทอร์รีแฟคชันในการปรับปรุงเพื่อให้ได้เชื้อเพลิงแข็งที่มีประสิทธิภาพทางด้านพลังงาน วิธีดำเนินการวิจัย :&nbsp;ได้ทำการออกแบบและสร้างปฏิกรณ์แบบสกรูลำเลียงที่ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องสำหรับกะลาปาล์มเพื่อปรับปรุงสมบัติทางด้านเชื้อเพลิงในช่วงอุณหภูมิ 200 - 300&nbsp;<sup>o</sup>C และเวลาที่อยู่ในปฏิกรณ์ช่วง 50 - 500 วินาที ผลการวิจัย :&nbsp;ร้อยละผลได้เชิงมวลจะแปรผกผันกับดัชนีความรุนแรงของการทำทอร์รีแฟคชัน โดยทอร์รีไฟด์กะลาปาล์มจะมีปริมาณคาร์บอนคงที่มากกว่ากะลาปาล์ม ในขณะที่ปริมาณความชื้นและปริมาณสารระเหยมีค่าลดลงเมื่ออุณหภูมิและเวลาที่อยู่ในปฏิกรณ์เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ปริมาณอะตอมของคาร์บอนและไนโตรเจนเพิ่มขึ้นแต่อะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจนลดลง โดยเมื่อพิจารณาสภาวะที่เหมาะสมจะพบว่าที่อุณหภูมิ 260<sup>o</sup>C และเวลา 500 วินาที จะมีค่า EMCI มากที่สุด ซึ่งสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ทอร์รีไฟด์กะลาปาล์มที่ได้มีปริมาณความชื้นและสารระเหยต่ำ ในขณะที่ปริมาณคาร์บอนคงตัวมีค่าสูงขึ้น เป็นผลให้ค่าความร้อนเพิ่มขึ้น 1.20 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับกะลาปาล์ม นอกจากนี้ ผลจากการศึกษาด้วย TGA แสดงให้เห็นว่าทอร์รีไฟด์กะลาปาล์มมีปริมาณความชื้น สารระเหยง่าย เฮมิเซลลูโลส และเซลลูโลสน้อยกว่ากะลาปาล์ม อีกทั้งผลของ SEM พบว่าพื้นผิวของทอร์รีไฟด์กะลาปาล์มมีความเรียบสูงกว่าซึ่งเป็นผลมาจากการสลายตัวของเฮมิเซลลูโลส และเซลลูโลสด้วยความร้อนจากกระบวนการทอร์รีแฟคชัน ผลิตภัณฑ์ทอร์รีไฟด์ที่ได้จึงสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ดีกว่ากะลาปาล์ม สรุปผลการวิจัย : ผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่าปฏิกรณ์แบบสกรูลำเลียงที่ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพสำหรับกระบวนการทอร์รีแฟคชันเพื่อใช้ในการปรับปรุงคุณลักษณะทางด้านเชื้อเพลิงของชีวมวล&nbsp; Background and Objectives: Waste from oil palm has the potential to be used as a sustainable energy source, despite its low fuel characteristics. To address this, the torrefaction technique was employed to convert the waste into a solid fuel with improved energy efficiency. Methodology: The study involved designing and constructing a continuous screw conveyor reactor for oil palm kernel shells (PKS) to enhance fuel properties at temperatures ranging from 200 to 300°C and residence times between 50 and 500 seconds. Main Results:&nbsp;The research found that the mass yield percentage was inversely related to the severity index of the torrefaction. Torrefied PKS had a higher fixed carbon content than untreated PKS, while moisture and volatile content decreased with increased torrefaction temperature and residence time. Optimal conditions were observed at 260°C and 500 seconds, resulting in the highest Energy-mass co-benefit index (EMCI). This produced torrefied oil palm with low moisture and volatile content, higher fixed carbon, and increased heating value by 1.20 times compared to untreated PKS. Additionally, thermogravimetric analysis (TGA) revealed that torrefied PKS had lower moisture, volatile matter, hemicellulose, and cellulose content compared to untreated PKS. SEM analysis shows that the surface of torrefied PKS is smoother, attributed to the decomposition of hemicellulose and cellulose during the torrefaction process. The resulting torrefied product proves to be a more favorable biofuel option compared to untreated PKS. Conclusions:&nbsp;The continuous screw conveyor reactor demonstrated efficiency in torrefaction for improving biofuel characteristics in waste of oil palm biomass.</p> โชคชัย เหมือนมาศ นิรัติศัย รักมาก Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 245 265 กราฟแสงใหม่ของระบบดาวคู่ PU Virginis https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9559 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : การศึกษาระบบดาวคู่ส่งผลให้เกิดความเข้าใจในกลไกทางกายภาพและพฤติกรรมของดาวฤกษ์ผ่านการวิเคราะห์กราฟแสงที่สมบูรณ์ในช่วงความยาวคลื่นที่หลากหลาย คณะผู้วิจัยเลือกระบบดาวคู่ PU Virginis เนื่องจากเป็นระบบดาวคู่ที่พึ่งมีการค้นพบ วิธีดำเนินการวิจัย : สังเกตการณ์ที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา&nbsp; สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) โดยทำการถ่ายภาพด้วยกล้องซีซีดี ในช่วงความยาวคลื่นสีน้ำเงิน (B) สีที่ตามองเห็นเฉลี่ย (V) และสีแดง (R) ที่ต่อเข้ากับกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร และข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์&nbsp; ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาสร้างเป็นกราฟแสงและวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพด้วยโปรแกรมวิลสัน-เดวินนี และวิเคราะห์กราฟแสงด้วยฟูเรียร์ ผลการวิจัย : ผลจากการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพพบว่าดาวทุยติภูมิมีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,000 เคลวิน มีมุมระนาบวงโคจรน้อยกว่า 30 องศา อัตราส่วนมวลประมาณ 0.68 และดาวทุติภูมิมีจุดมืด ขณะที่ผลของการวิเคราะห์ฟูเรียร์แสดงให้เห็นพฤติกรรมที่อาจเป็นดาวแปรแสงวงรี สรุปผลการวิจัย : ระบบดาวคู่ PU Virginis มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นดาวแปรแสงวงรี&nbsp; Background and Objectives: The study of the binary star system led to an understanding of the mechanism and behavior of the stars through the analysis of the multi-band light curve. We selected a binary star system PU Virginis, which was only recently discovered. Methodology: The observational data were obtained at the Regional Observatory for the Public in Chachoengsao, under the auspices of the National Astronomical Research Institute of Thailand (Public Organization) with the CCD photometer via the 0.7-m reflecting telescope in B, V and R bands. Including data obtained from the Kepler space telescope. The all data were used to create the light curves. The light curves were analyzed using the Wilson-Devinney code to determine the physical parameters. Moreover, the light curves analyze by the Fourier equation. Main Results: The results of the physical parameters obtained from the Wilson-Devinney code are as follows: the temperature of the secondary star is approximately 5,000 K, the inclination is less than 30 degrees, the mass ratio is about 0.68, and the secondary component is expected to have dark spots. While Fourier analysis suggests that it might be an ellipsoidal variable star. Conclusions: The binary star system PU Virginis might be the ellipsoidal variable star.</p> รณกฤต รัตนมาลา ฐานิยา เกิดปรางค์ พิชิตพงษ์ ลองสันเทียะ สุวนิตย์ วุฒสังข์ Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 266 273 สมอไทยยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มและเสริมฤทธิ์กับยาปฏิชีวนะในการยับยั้งการเจริญ ของเชื้อแบคทีเรียดื้อยาบางชนิด https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9560 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : สมอไทยถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในการรักษาโรค งานวิจัยนี้ศึกษาการเสริมฤทธิ์ของสารสกัดเอทานอลจากผลสมอไทยร่วมกับยาปฏิชีวนะในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด วิธีดำเนินการวิจัย : ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียด้วยวิธี Broth microdilution susceptibility test การเสริมฤทธิ์ของสารสกัดสมอไทยร่วมกับยาปฏิชีวนะด้วยวิธีCheckerboard assay และฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มด้วยการย้อมสีด้วยคริสตัลไวโอเลท ผลการวิจัย : สารสกัดจากผลสมอไทยสามารถเสริมฤทธิ์กับยาแอมพิซิลลินในการยับยั้ง B. cereus และ B. subtilis ค่า FICI เท่ากับ 0.187 และ 0.14 ตามลำดับ และเสริมฤทธิ์กับยาออกซี่เตตราซัยคลินในการยับยั้งเชื้อ E. coli ค่า FICI เท่ากับ 0.5 และ สารสกัดจากผลสมอไทยสามารถยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของเชื้อ E. coli P. aeruginosa และ S. aureus ได้ดีที่สุดในช่วงเวลา 8-24 ชั่วโมง และเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับสารสกัดจากผลสมอไทย พบว่ายาออกซี่เตตราซัยคลินสามารถยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของเชื้อ E. coli, P. aeruginosa และ S. aureus ได้ดีกว่า สารสกัดจากผลสมอไทยในช่วงเวลา 4-12 ชั่วโมง สรุปผลการวิจัย : สารสกัดเอทานอลจากผลสมอไทยสามารถเสริมฤทธิ์กับยาแอมพิซิลลินและยาออกซี่เตตราซัยคลินในการยังยั้งเชื้อแบคทีเรียและยับยังการสร้างไบโอฟิล์มของเชื้อแบคทีเรียบางสายพันธุ์&nbsp; Background and Objectives: Terminalia chebula is commonly used to treat frequent disease. This study investigated the synergistic effect of an ethanol extract from Terminalia chebula fruit in combination with antibiotics against some bacteria. Methodology: Antimicrobial activity was determined by Broth microdilution susceptibility test, Synergy effect of Terminalia chebula extract in combination with antibiotics was tested by Checkerboard assay and antibiofilm activity was conducted by Crystal violet staining assay. Main Results: T. chebula extract combined with Ampicillin had synergistic effect against B. cereus and B. subtilis by the FICI values of 0.187 and 0.14, respectively. Likewise, the synergism of T. chebula extract combined with Oxytetracycline was detected against E. coli and FICI value was 0.5. The antibiofilm activities of T. chebula extract were examined and the results showed that T. chebula extract inhibited the biofilm formation of E. coli, P. aeruginosa, and S. aureus during 8–24 hours of incubation.&nbsp; Oxytetracycline inhibited the biofilm formation of E. coli, P. aeruginosa and S. aureus better than T. chebula extract at 4–12 hours. Conclusions: An ethanol extract from Terminalia chebula fruit showed synergy effect with ampicillin and oxytetracycline and had antibiofilm activity against some bacteria.</p> วิสาตรี คงเจริญสุนทร ณัฐณิกา เย็งประโคน Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 274 289 ความหลากหลายทางชีวภาพของปูภายใต้แหล่งที่อยู่อาศัยที่ซับซ้อนบริเวณ หาดอ่าวโฉลกบ้านเก่า เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9561 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : แหล่งที่อยู่อาศัยที่มีความซับซ้อนมักจะมีความหลากหลายทางชีวภาพของปูสูง เนื่องจากมีพื้นที่หลบซ่อน แหล่งอาหาร และพื้นที่ว่างที่เป็นอิสระต่อกันเพิ่มขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิด ความชุกชุม การแพร่กระจายของปูในหาดอ่าวโฉลกบ้านเก่า ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะเต่า ที่เป็นพื้นที่ที่มีความเป็นเอกลักษณ์โดยมีแหล่งที่อยู่อาศัยที่ซับซ้อนภายใต้พื้นที่หาดเดียวกันที่มีความยาวเพียง 500 เมตร วิธีดำเนินการวิจัย : ทำการศึกษาความหลากชนิด ความชุกชุม และการแพร่กระจายของปูในแหล่งที่อยู่อาศัยที่ซับซ้อนในหาดอ่าวโฉลกบ้านเก่า 4 แบบ ประกอบด้วยหาดทราย หาดหิน หาดเลน และป่าชายเลน รวมทั้งมีการศึกษาชีวประวัติเบื้องต้นของปูที่มีความชุกชุมสูงในหาดหินและหาดเลน ผลการวิจัย : พบปูหลากชนิดรวม 11 วงศ์ 16 สกุล และ 22 ชนิด และรายงานใหม่ในการพบปูก้ามหักถึง 3 ชนิดอยู่รวมกันในหาดเลน ได้แก่ Macrophthalmus convexus, M. brevis และ M. milloti ในหาดทรายพบปูที่หายาก คือ ปูไก่ม่วง (Gecarcoidea lalandii) ซึ่งเดินจากป่าลงมาสู่หาดผ่านทางท่อระบายน้ำเพื่อไปวางไข่ในทะเล แสดงให้เห็นการคุกคามของมนุษย์ที่ทำลายเส้นทางการอพยพไปวางไข่ในทะเล นอกจากนั้นยังพบปูที่มีความชุกชุมสูงในหาดหิน คือ ปูเสฉวน ขาเหลือง (Clibanarius virescens) หนาแน่นถึง 1,393.52 ตัวต่อตารางเมตร และในหาดเลนพบปูก้ามหักท้องแดง (Macrophthalmus convexus) หนาแน่น 20.33 ตัวต่อตารางเมตร ซึ่งปูที่พบชุกชุมเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการให้บริการสิ่งแวดล้อมในบริเวณเกาะเต่า สรุปผลการวิจัย : หาดอ่าวโฉลกบ้านเก่ามีลักษณะที่อยู่อาศัยที่สลับซับซ้อน จึงส่งผลให้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงและแตกต่างจากบริเวณทั่วไป และยังเป็นพื้นที่ที่มีการคุกคามของมนุษย์ จึงสมควรให้มีมาตรการในการคุ้มครองและอนุรักษ์ปูโดยเฉพาะปูไก่บนเกาะเต่า และการประกาศให้พื้นที่หาดอ่าวโฉลกเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางความหลากหลายทางชีวภาพของปู (BIA) Background and Objectives:&nbsp;The complex habitats promotes high diversity of crabs by providing greater space for refuge, food resources and area-independent. This study aims to determine species diversity, abundance and distribution of crabs around Ao Chalok Bann Kao Beach, located in the southern part of Koh Tao, the unique area with complex habitats all within a 500-meter stretch. Methodology:&nbsp;The species diversity, abundance and distribution of crabs around Ao Chalok Bann Kao Beach, with 4 complex habitats: sandy beach, rocky beach, muddy beach, and mangrove forest were studied as well as the life history of the most abundance crabs in rocky beach and muddy beach. Main Results:&nbsp;The results showed the diversity of crabs, comprising 11 families, 16 genera, and 22 species. Notably, new record of three species of sentinel crabs (Macrophthalmus convexus,&nbsp;M. brevis, and&nbsp;M. milloti) living in the same muddy beach was identified. A rare species, the purple land crab (Gecarcoidea lalandii), was observed migrating from the forest to the beach through drainage pipes for spawning in the sea, highlighting the threat posed by human destroying their spawning routes. The rocky beach was densely populated with yellow-legged hermit crabs (Clibanarius virescens), reaching about 1,393.52 individuals per square meter. The muddy beach had a high density of red-bellied sentinel crabs (Macrophthalmus convexus), at 20.33 individuals per square meter. These abundant crabs play a crucial role in providing environmental services at Koh Tao. Conclusions:&nbsp;Ao Chalok Ban Kao Beach had complex habitats for crabs. As a result, biodiversity is high and different from common areas. The impact of human threatened crab habitats on Koh Tao necessitate protective and conservation measures, particularly for purple land crabs, and declaring Ao Chalok Ban Kao Beach as a biodiversity important area (BIA).</p> พันธุ์ทิพย์ วิเศษพงษ์พันธ์ กมลชนก วงศ์อิสรกุล วชิระ ใจงาม ธารวิมล มักทา นรารัตน์ จันทรวาสน์ Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 290 309 การสะสมคาร์บอนบนตัวเร่งปฏิกิริยา Ni/ZrO2 สำหรับปฏิกิริยาดรายรีฟอร์มมิงของมีเทน https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9668 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : การเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจก (แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สมีเทน) ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดวิกฤติภาวะโลกร้อน ซึ่งทำให้นักวิจัยสนใจที่จะแก้ไขปัญหานี้ ปฏิกิริยาดรายรีฟอร์มมิงของมีเทน (DRM) เป็นปฏิกิริยาที่น่าสนใจสำหรับการผลิตแก๊สสังเคราะห์ (ไฮโดรเจนและคาร์บอน มอนอกไซด์) จากแก๊สเรือนกระจก ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดโลหะนิกเกิลนิยมใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในปฏิกิริยาดรายรีฟอร์มมิงของมีเทน เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงและราคาไม่สูงมาก อย่างไรก็ตามการใช้โลหะนิกเกิลเป็นตัวเร่งปฏิกิริยามักจะเกิดการสะสมตัวของคาร์บอนบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งนำไปสู่การเสื่อมสภาพของตัวเร่งปฏิกิริยา เซอร์โคเนียเป็นตัวรองรับที่มีความน่าสนใจเนื่องจากมีความต้านทานต่อการเกิดการสะสมตัวของคาร์บอนได้เป็นอย่างดี ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสนใจที่จะศึกษาผลของการสะสมของคาร์บอนบนตัวเร่งปฏิกิริยา 10%Ni/ZrO2 ที่เตรียมขึ้นจากวิธีที่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย : นำสารละลายนิกเกิลไนเตรท (Ni(NO3)2 ) หยดลงบนตัวรองรับเซอร์โคเนีย ซึ่งถูกเตรียมขึ้นด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 4 ชนิด โดยให้มีปริมาณโลหะนิกเกิล 10% โดยน้ำหนัก เตรียมด้วยวิธีการเอิบชุ่ม วิเคราะห์คุณสมบัติกายภาพ-ทางเคมี ของตัวรองรับและตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมขึ้นด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ การดูดซับ-คายซับของแก๊สไนโตรเจน และเทคนิคการโปรแกรมอุณหภูมิเพื่อทดสอบการคายซับของแก๊สไฮโดรเจน สำหรับการศึกษาชนิดและปริมาณของคาร์บอน ที่สะสมอยู่บนตัวเร่งปฏิกิริยา 10% Ni/ZrO2 ที่ใช้แล้วจะถูกตรวจสอบโดยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ โปรแกรมอุณหภูมิเพื่อทดสอบการคายซับออกซิเดชันและโดยภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็ก ตรอนแบบส่องผ่าน ผลการวิจัย : ตัวอย่างเซอร์โคเนียที่เตรียมได้โดยวิธีที่แตกต่างกัน 4 ชนิด มีโครงสร้างจุลภาคและสัณฐานวิทยาแตกต่างกัน ถูกนำมาเตรียมเป็นตัวรองรับของตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะนิกเกิล และทดสอบประสิทธิภาพการเร่งปฏิกิริยาดรายรีฟอร์มิงของมีเทนในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง พบว่าความไวของการเร่งปฏิกิริยาจะมีความแตกต่างกันเนื่องจากความแตกต่างของตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมขึ้น สรุปผลการ วิจัย : จากผลการทดลองพบว่าผลของขนาดอนุภาค การกระจายตัวของโลหะนิกเกิล และวัฏภาคของเซอร์โคเนียมีผลต่อความว่องไวของตัวเร่งปฏิกิริยา นอกจากนี้ทั้งชนิดและปริมาณของคาร์บอนที่สะสมบนตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้แล้ว ยังมีความสัมพันธ์กับความว่องไวของตัวเร่งปฏิกิริยาอีกด้วย&nbsp; Background and Objectives:&nbsp;The increase of greenhouse gases (carbon dioxide and methane) in recent decades has led to a global warming crisis. As a result, researchers are interested in solving this problem. Dry reforming of methane (DRM) is an attractive reaction for syngas production (hydrogen and carbon monoxide) from greenhouse gases. The nickel-based catalysts are often used as catalysts in DRM reaction, because of their high activity and low cost. However, there is also a disadvantage to the carbon deposition, leading to the catalyst deactivation. ZrO<sub>2</sub>&nbsp;has been considered an attractive support due to its good resistance to coke formation. Therefore, this work is interested in studying the formation of carbon deposits on various Ni/ZrO<sub>2</sub>&nbsp;catalysts. Methodology:&nbsp;The Ni(NO<sub>3</sub>)<sub>2</sub>&nbsp;solution was deposited on ZrO<sub>2</sub>, which is prepared in four different ways with 10% Ni loading by the impregnation method. The physico-chemical properties of supports and catalysts were analyzed by XRD, N<sub>2</sub>&nbsp;adsorption-desorption, and H<sub>2</sub>-TPD techniques. The type and amount of the deposited carbon on the spent 10% Ni/ZrO<sub>2</sub>&nbsp;catalysts were characterized by XRD, O<sub>2</sub>-TPD and TEM techniques. Main Results:&nbsp;Four ZrO<sub>2</sub>&nbsp;samples with different microstructure and morphology were used as catalyst support. The catalytic performance of 10%Ni/ZrO<sub>2</sub>&nbsp;catalysts conducted in fixed-bed reactor DRM reaction was found the different catalytic activity of different catalysts. Conclusions:&nbsp;It was found that the effects of Ni particle size and zirconia phase had a significant influence on the catalytic activity. Moreover, both the type and amount of carbon deposition on spent Ni/ZrO<sub>2</sub>&nbsp;were also related to the catalytic activity.</p> ณัฐพงศ์ บุญศรีสด มนฤดี ผ่องอักษร สไบทิพย์ ตุงคะมณี ธนากร รัตนะ Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 310 326 การคงสภาพของฟลักซ์ซอยด์ควอนตัม hc/2e ในวงแหวนตัวนำยวดยิ่งชนิดคลื่นเอส https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9669 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : คำถามถึงความเป็นไปได้การก้าวข้ามของฟลักซ์ซอยด์จากคาบการกวัดแกว่ง ลิตเติล-ปาร์ค &nbsp;ไปสู่คาบการกวัดแกว่ง &nbsp;เมื่อรัศมีของวงแหวนตัวนำยวดยิ่งชนิดคลื่นเอสมีขนาดลดลงได้รับการศึกษาในรายละเอียด วิธีดำเนินการวิจัย : ใช้วิธีการคำนวณด้วยฟังก์ชันกรีนของกอร์คอฟเพื่อหาสมการอุณหภูมิวิกฤตและทำการวิเคราะห์ปรากฏการณ์การก้าวข้ามฟลักซ์ซอยด์ด้วยวิธีการคำนวณเชิงตัวเลข ผลการวิจัย : ในการศึกษาปรากฏการณ์การก้าวข้ามฟลักซ์ซอยด์ทั้งในกรณีที่รัศมีมีค่าที่มากและกรณีที่รัศมีมีค่าจำกัดพบว่าทั้งสองกรณีอุณหภูมิวิกฤตยังคงสั่นด้วยคาบ สรุปผลการวิจัย : ผลลัพธ์ของการวิจัยพบว่าขัดแย้งกับงานเชิงทฤษฎีของเว่ยและโกลด์บาร์ทในบริบทของวงแหวนตัวนำยวดยิ่งบริสุทธิ์ในหนึ่งมิติ การศึกษานี้ได้เติมเต็มความเข้าใจที่ถูกต้องของภาวะเชิงคาบของฟลักซ์และการควอนไทเซชันของฟลักซ์ซอยด์ในอุณหภูมิวิกฤตของวงแหวนตัวนำยวดยิ่งชนิดคลื่นเอสที่ถูกทะลวงด้วยฟลักซ์แม่เหล็ก&nbsp; Background and Objectives: A question of the possibility of the crossover of flux periodicity from the usual Little-Parks value of a fluxoid quantum to a period when the radius of an s-wave superconducting ring is reduced, is examined in detail. Methodology: The method of Gor’kov Green's function is employed to calculate the superconducting critical temperature equation. The numerical analysis is studied to explore the fluxoid crossover phenomenon. Main Results: We study the phenomenon of fluxoid crossover both in the cases of large- and finite-radius limits and found a period of oscillation of the critical temperature is always given by. The obtained results show the fluxoid is strictly quantized in units of. Conclusions : Our analysis provides the results contrast to the theoretical work of&nbsp; Wei-Goldbart in the context of a one-dimensional superconducting clean ring. The study enhances the proper understanding of flux periodicity and fluxoid quantization in the critical temperature of an s-wave superconducting ring threaded by magnetic flux.&nbsp;&nbsp;</p> จตุพร นิสัยซื่อ Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 327 336 การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำตามฤดูกาลของอ่างเก็บน้ำบางพระ และลำคลองใกล้เคียง จังหวัดชลบุรี https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9670 <p>วัตถุประสงค์และที่มา :&nbsp;อ่างเก็บน้ำบางพระเป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญในการผลิตน้ำประปาเพื่ออุปโภคบริโภคในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง หากคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเสื่อมโทรมลงก็จะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนและการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรม การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินคุณภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำบางพระและลำคลองใกล้เคียง โดยนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในเป็นแนวทางในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค วิธีดำเนินการวิจัย :&nbsp;เก็บตัวอย่างน้ำในเดือนสิงหาคม 2562 ถึงเดือนกรกฎาคม 2563 โดยแบ่งเป็นสถานีลำคลอง 5 สถานี และในอ่างเก็บน้ำ 1 สถานี ซึ่งปัจจัยที่ศึกษาประกอบด้วย คุณภาพน้ำทั่วไป (อุณหภูมิของน้ำ พีเอช ออกซิเจนละลายน้ำ บีโอดี ของแข็งแขวนลอย คลอโรฟิลล์ เอ) และสารอนินทรีย์ละลายน้ำ (แอมโมเนียรวม ไนไตรท์ ไนเตรท ซิลิเกต และฟอสเฟต) ผลการวิจัย :&nbsp;คุณภาพน้ำทั่วไป ได้แก่ อุณหภูมิ พีเอช ออกซิเจนละลายน้ำ บีโอดี ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด และคลอโรฟิลล์เอ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 30.2±2.7&nbsp;<sup>o</sup>C, 7.7±0.6, 5.1±1.8 mg/l, 2.8±1.7 mg/l, 23.9±40.2 mg/l และ 7.0±11.5 µg/l ตามลำดับ ส่วนสารอาหาร อนินทรีย์ละลายน้ำ พบว่า แอมโมเนียรวม ไนเตรท และฟอสเฟต มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ44.5±71.0 329.9±1,864.1 และ 3.1±2.6 µM ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าคุณภาพน้ำมีความแตกต่างตามฤดูกาล (p&lt;0.05) โดยคุณภาพน้ำมีแนวโน้มเสื่อมโทรมลงในฤดูฝน สรุปผลการวิจัย : ผลการวิจัยการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำตามฤดูกาลของอ่างเก็บน้ำบางพระและลำคลองใกล้เคียง ในจังหวัดชลบุรี สรุปได้ว่าคุณภาพน้ำทั่วไปของอ่างเก็บน้ำบางพระและลำคลองใกล้เคียง ส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 2 (เพื่อการอุปโภค บริโภค, เพื่อการอนุรักษ์สัตว์น้ำ และเพื่อการประมง) และสามารถนำไปใช้เป็นน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาได้ อย่างไรก็ตามควรมีการเฝ้าระวัง ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ซึ่งมีค่าต่ำกว่ามาตรฐานในบางฤดูกาล&nbsp; Background and Objectives:&nbsp;Bang Phra Reservoir is an important source of fresh water for tap water production and consumption in Chonburi Province and nearby areas. Deteriorating water quality can indeed have significant impacts on livelihoods and economic development, particularly in the industrial sector. Therefore, this research study aims to study and evaluate the water quality of Bang Phra Reservoir and nearby canals. The data obtained from the study will be used as guidelines for monitoring water quality changes according to the seasons, which will impact the use of water for consumption and domestic purposes. Methodology:&nbsp;Water samples were collected from August 2019 to July 2020, divided into 5 canal stations and 1 reservoir station. The water parameters are including general water quality (temperature, pH, dissolved oxygen, BOD, total suspended solids and chlorophyll&nbsp;a) and dissolved inorganic nutrients (total ammonia, nitrite, nitrate, silicate and phosphate). Main Results:&nbsp;The results of the study showed that the temperature, pH, dissolved oxygen, BOD, suspended solids and chlorophyll&nbsp;a&nbsp;averaged 30.2±2.7&nbsp;<sup>o</sup>C, 7.7±0.6, 5.1±1.8 mg/l, 2.8±1.7 mg/l, 23.9±40.2 mg/l, and 7.0±11.5 µg/l, respectively. Dissolved inorganic nutrients including ammonia, nitrate and phosphate had average values of 44.5±71.0, 329.9.9±1,864.1, and 3.1±2.6 µM, respectively. Furthermore, it was found that water quality varies by season (p&lt;0.05), with water quality deteriorating during the rainy season. Conclusions: Our results indicated that the water qualities of Bang Phra reservoir and nearby canals were compiled the Surface Water Quality Standard and Classification 2. (for consumption, conservation of aquatic animals and fisheries) and it can be used as water for drinking water production. However, there should be monitoring of the dissolved oxygen levels, which may be lower than the standard in some season.</p> ภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา เบญจวรรณ คชเสนี Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 337 353 ผลของอุณหภูมิอบแห้งต่อคุณภาพทางเคมีกายภาพและประสิทธิภาพ ในการต้านการเกิดออกซิเดชันของยอดและดอกมะขาม https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9671 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : ใบมะขามอุดมไปด้วยสารต้านออกซิเดชันโพลีฟีนอลและฤทธิ์ทางชีวภาพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิการอบแห้งต่อคุณสมบัติทางเคมีกายภาพ&nbsp; สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของยอดและดอกมะขาม วิธีดำเนินการวิจัย : การทดลองอบแห้งยอดและดอกมะขามด้วยตู้อบแห้งแบบลมร้อนที่อุณหภูมิ 50, 60 และ 70 องศาเซลเซียส จนได้ค่าวอเตอร์แอคทิวิตี้ (aw) ต่ำกว่า 0.5 ตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีกายภาพ ได้แก่ ค่าวอเตอร์แอคทิวิตี้ ค่าความสว่าง (L*) ค่าความเป็นสีแดง (a*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) ของยอดและดอกมะขามอบแห้ง และตรวจวิเคราะห์คุณภาพการต้านออกซิเดชัน ได้แก่ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด สารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) และฤทธิ์รีดิวซ์เฟอร์ริก (ferric reducing antioxidant power, FRAP) ของสารสกัดน้ำร้อนของยอดและดอกมะขามอบแห้ง ผลการวิจัย : ยอดและดอกมะขามที่ผ่านการอบแห้งมีค่าวอเตอร์แอคทิวิตี้อยู่ในช่วง 0.35 – 0.43 มีค่าสี L* และค่าสี b* ของยอดมะขามอบแห้งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่ออุณหภูมิการอบแห้งสูงขึ้น (P≤0.05) สารสกัดของยอดมะขามอบแห้งที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 3.5 ชั่วโมง มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (3.10 mg GAE/g) ฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (1.54 mg CE/g) และมีค่า FRAP (6.64 mg TE/g) สูงที่สุด และพบว่ายอดมะขามอบแห้งมีคุณภาพการต้านออกซิเดชันสูงกว่าดอกมะขามอบแห้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) สรุปผลการวิจัย : ยอดมะขามมีคุณภาพการต้านออกซิเดชันสูงกว่าส่วนของดอกมะขาม สภาวะที่เหมาะสมในการอบแห้งยอดมะขาม คือ การอบแห้งที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 3.50 ชั่วโมง ทำให้ยอดมะขามมีคุณภาพการต้านออกซิเดชันสูงกว่าการอบแห้งที่อุณหภูมิอื่น&nbsp; Background and Objectives: Tamarind leaves are rich in antioxidant polyphenols and bioactive activity. This research aimed to study the effect of drying temperature on the physicochemical qualities, bioactive compounds, and antioxidant effects of tamarind shoot leaves and flowers. Methodology: Drying tamarind shoots and flowers with a hot air drying at 50, 60 and 70oC until water activity (aw) values were lower than 0.5. Physicochemical qualities including aw, brightness (L*), redness (a*) and yellowness (b*) values of dried tamarind shoots and flowers were examined. In addition, antioxidant properties including total phenolic compounds, total flavonoids, 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH)-radical scavenging activity and ferric reducing antioxidant power (FRAP) of the hot water extracts of dried tamarind shoots and flowers were evaluated. Main Results: The values of water activity of dried samples were ranged 0.35 – 0.43. The L* and b* values of dried tamarind shoot leaves were significantly increased when drying temperature rose (P≤0.05). The extract of tamarind shoots dried at 50ºC for 3.5 h exhibited the highest values of total phenolic compounds (3.10 mg GAE/g), flavonoids (1.54 mg CE/g) and FRAP value (6.64 mg TE/g). Moreover, the extract of tamarind shoot leaves found to have significant greater potent of antioxidant capacity than those found in flower part (P≤0.05). Conclusions: Tamarind shoot leaves exhibited higher antioxidant quality than those found in the flower part.&nbsp; The optimal drying condition for tamarind shoot leaves was 50oC for 3.50 h resulting in the superior antioxidant quality than those found in other drying temperature.</p> ขวัญจิรา ศรีจริยา อุทัยวรรณ ฉัตรธง สิริกาญจน์ ธนบูรณ์ร้องคำ พิทยา ใจคำ เกตุการ ดาจันทา Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 351 370 ผลของวิตามินซีในสารสกัดมะขามป้อมต่อการเจริญเติบโต ค่าชีวเคมีของเลือด บางประการ ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และการต้านทานเชื้อแบคทีเรียก่อโรค Streptococcus agalactiae ในปลานิล (Oreochromis niloticus) https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9672 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวิตามินซีในสารสกัดมะขามป้อม (Phyllanthus emblica) ในอาหารต่อการเจริญเติบโต ค่าชีวเคมีของเลือดบางประการ ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และการต้านทานเชื้อแบคทีเรียก่อโรค Streptococcus agalactiae ในปลานิล วิธีดำเนินการวิจัย : วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (CRD) แบ่งชุดการทดลองออกเป็น 5 ชุดการทดลอง ได้แก่ ชุดควบคุม (อาหารเม็ดสำเร็จรูปที่ไม่เสริมวิตามินซี), T1-T3 อาหารเม็ดสำเร็จรูปที่เสริมวิตามินซีจากสารสกัดมะขามป้อม (natural ascorbic acid) อัตรา 3, 6 และ 10 เปอร์เซ็นต์ และ T4 อาหารเม็ดสำเร็จรูปที่เสริมวิตามินซีสังเคราะห์ 3 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม เป็นระยะเวลา 60 วัน ผลการวิจัย : ปลาทดลองในกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมสารสกัดจากมะขามป้อม 3 เปอร์เซ็นต์ มีค่าน้ำหนักเฉลี่ยสุดท้าย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน และค่าอัตราแลกเนื้อ มีค่าดีที่สุด แต่ไม่มีความแตกต่างกับชุดทดลองที่ได้รับอาหารผสมสารสกัดมะขามป้อม 10 เปอร์เซ็นต์ และวิตามินซีสังเคราะห์ (P &gt; 0.05) และปลานิลกลุ่มทดลองทั้งที่เลี้ยง ด้วยวิตามินซีจากสารสกัดมะขามป้อมทุกชุดการทดลอง และวิตามินซีสังเคราะห์ มีอัตราการเจริญเติบโต ระบบภูมิคุ้มกัน แบบไม่จำเพาะ ได้แก่ ค่ากิจกรรมการจับกินสิ่งแปลกปลอมของเซลล์เม็ดเลือดขาว (Phagocytic activity) ค่ากิจกรรมไลโซไซม์ของซีรัม (Lysozyme activity) และความสามารถในการต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรียก่อโรค S. agalactiae ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P &lt; 0.05) สรุปผลการวิจัย : ผลจากศึกษานี้จะเห็นได้ว่า สามารถใช้สารสกัดจากมะขามป้อม (P. emblica) เสริมในอาหารทดลองเลี้ยงปลานิลเพื่อทดแทนการใช้วิตามินซีสังเคราะห์ได้&nbsp; Background and Objectives:&nbsp; The aim of this research is to determine the effects of vitamin C in Indian gooseberry (Phyllanthus emblica) extract on growth performance, blood biochemical, non-specific immune response and bacterial resistance against, Streptococcus agalactiae in Nile tilapia (Oreochromis niloticus) Methodology: A completely randomized design (CRD) was used in this experiment, Five groups of Nile tilapia were fed experimental diets containing control group (without vitamin C), T1-T3: supplemented with vitamin C (natural ascorbic acid) from Indian gooseberry extract at 3, 6, and 10%, and T4: supplemented synthetic vitamin C at 3 g/kg for 60 days. Main Results: The experimental fish supplemented with Indian gooseberry extract at 3 % had a final average weight, weight gain, average dairy gain (ADG) and the feed conversion ratio (FCR) were not significantly different compared with Indian gooseberry extract at 10 % and synthetic vitamin C groups (P &gt; 0.05). Nile tilapia in the experimental group were fed with vitamin C (natural ascorbic acid) from Indian gooseberry extract and synthetic vitamin C has a growth rate, non specific immune response; Phagocytic activity and lysozyme activity; and bacterial resistance, S. agalactiae significantly better than control group (P&lt;0.05). Conclusions: The results of this study can be seen that Indian gooseberry (P. emblica) extract can be used as a supplemented in tilapia diets to replace the use of synthetic vitamin C.&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> กรทิพย์ กันนิการ์ ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์ กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์ พัฒนพงษ์ เห็นสุข สหัสา สดุดี กัญยาณี เพียงไธสง Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 371 391 สารสกัดแคโรทีนอยด์จากเปลือกปูม้าต่อการเร่งสีของปลาซิวข้างขวานเล็ก https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9673 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : การนำเปลือกของปูม้าซึ่งเป็นเศษเหลือจากอุตสาหกรรมประมงมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าเศษเหลือจากการประมง โดยการสกัดสารแคโรทีนอยด์จากเปลือกปูม้า จากนั้นทำการผสมในอาหารเพื่อการกระตุ้นสีของปลาซิวข้างขวานเล็กให้มีสีสันเข้มขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเร่งสีสังเคราะห์ และเพิ่มมูลค่าของปลาซิวข้างขวานเล็กให้สูงขึ้นก่อนส่งขายสู่ตลาดปลาสวยงามวิธีดำเนินการวิจัย : สกัดแคโรทีนอยด์จากเปลือกปูม้าด้วยเอทานอล และทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดในการเร่งสีของปลาซิวข้างขวานเล็ก โดยอาหารผสมสารสกัดแคโรทีนอยด์จากเปลือกปูม้าที่ระดับต่าง ๆ ดังนี้ ปริมาณ 0 (กลุ่มควบคุม), 25, 50, 75 และ 100 มิลลิกรัมแอสตาแซนทินต่ออาหาร 1 กิโลกรัม และอาหารสำเร็จรูปผสมแอสตาแซนทิน ทางการค้า เลี้ยงปลาซิวข้างขวานเล็กเพศผู้ ขนาดความยาวประมาณ 2.50±0.19 เซนติเมตร ในตู้กระจกบรรจุน้ำปริมาตร 10 ลิตร จำนวน 15 ตัวต่อตู้ ชุดการทดลองละ 3 ซ้ำ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยทำการวัดค่าสีแดง (+a*) ค่าสีเหลือง (+b*) และค่าความสว่าง (L*) การเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของปลาซิวข้างขวานเล็ก ผลการวิจัย : ปลาซิวข้างขวานเล็กที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปผสมสารสกัดแคโรทีนอยด์ปริมาณ 25, 50 และ 75 มิลลิกรัมแอสตาแซนทิน พบว่าปลามีค่าสีแดง 4.39±0.09, 4.64±0.21 และ 4.53±0.18 ตามลำดับ ไม่แตกต่างจากปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปผสมแอสตาแซนทินทางการค้า (4.19±0.17) แต่มากกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารกลุ่มควบคุม (2.37±0.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ขณะที่ปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมสารสกัดปริมาณ 100 มิลลิกรัมแอสตาแซนทิน มีค่าสีแดง 5.27±0.24 และมากกว่าทุกกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ค่าสีเหลืองของปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมสารสกัดปริมาณ 25, 50, 75 และ 100 มิลลิกรัมแอสตาแซนทิน ไม่แตกต่างจากปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปผสมสารแอสตาแซนทินทางการค้า แต่จะมีค่าเหลืองมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) โดยสารสกัดแคโรทีนอยด์จากเปลือกปูม้าไม่มีผลต่อค่าความสว่าง การเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของปลาทุกกลุ่มการทดลอง (p&gt;0.05) สรุปผลการวิจัย : สารสกัดแคโรทีนอยด์จากเปลือกปูม้าสามารถเร่งสีแดงและสีเหลืองในปลาซิวข้างขวานเล็กได้ ซึ่งทำให้สีผิวของปลาเข้มขึ้น อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการพัฒนาการใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าปูม้าเศษเหลือจากอุตสาหกรรมประมงปูม้าต่อไป&nbsp; Background and Objectives: The carotenoid was extracted from blue swimming crab shells, waste from the fisheries industry for utilization and value added. The efficiency of carb shells extracted carotenoid on color inducing of Lambchop rasbora (Trigonostigma espei Meinken, 1967) was studied to avoid chemical use, increase the income of a farmer, and value add of Lambchop rasbora before sending to the ornamental fish market. Methodology: The carotenoid was extracted from blue swimming crab shells by ethanol. The carotenoid concentrations of 0 (control group), 25, 50, 75, and 100 mg astaxanthin per 1 kg of feed were infused into ornamental fish feed. The commercial astaxanthin mixed feed was used for comparison. The 15 adult Lambchop rasbora with 2.50±0.19 cm of total length were stocked in a square aquarium with 10 liters of water with triplication in each group. After four weeks of rearing, redness values (+a*), yellowness values (+b*), lightness value (L*), growth and survival rate were estimated. Main Results: The fish fed with feed containing crab shells extracted carotenoid 25, 50, and 75 mg astaxanthin per 1 kg presented redness values, 4.39±0.09, 4.64±0.21 and 4.53±0.18, respectively, and no significant difference with the commercial feed group, 4.19±0.17 but different (p&lt;0.05) from the control group, 2.37±0.21. While, the redness value of the 100 mg astaxanthin per 1 kg group was 5.27±0.24, and significantly higher than others (p&lt;0.05). The yellowness values of 25, 50, 75, and 100 mg astaxanthin per 1 kg, and commercial feed groups were no significant differences (p&gt;0.05). However, theirs were significantly different from the control groups. The blue swimming crab shells extracted carotenoid did not affect the lightness value, growth, and survival rate of fish (p&gt;0.05). Conclusions: This study can conclude that blue swimming crab shells extracted carotenoid can induce redness, yellowness and the color intensity of skin of Lambchop rasbora. It has the potential to utilize and value added crab shell waste from the fisheries industry.</p> ดลฤดี พิชัยรัตน์ นพรัตน์ มะเห วรวุฒิ เกิดปราง Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 392 401 สมการไดโอแฟนไทน์ tx + (t+3k)y = z2 เมื่อ t เป็นจำนวนเต็มบวก https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9746 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : เพื่อหาผลเฉลยของสมการไดโอแฟนไทน์ t<sup>x</sup> + (t+3k)<sup>y</sup> = z<sup>2</sup> โดยที่ x, y, z และ k เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นลบ และ t เป็นจำนวนเต็มบวกที่อยู่ในรูป 3n+1 สำหรับ n ที่เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นลบ วิธีดำเนินการวิจัย : ใช้การพิสูจน์โดยข้อขัดแย้งและสมบัติของสมภาคเพื่อหาผลเฉลยของสมการไดโอแฟนไทน์ ผลการวิจัย : สมการไดโอแฟนไทน์ t<sup>x</sup> + (t+3k)<sup>y</sup> = z<sup>2</sup> ไม่มีผลเฉลย สรุปผลการวิจัย : สมการไดโอแฟนไทน์&nbsp;&nbsp; โดยที่ t<sup>x</sup> + (t+3k)<sup>y</sup> = z<sup>2</sup> เป็นจำนวนเต็มบวกที่อยู่ในรูป 3n+1 เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นลบ ไม่มีผลเฉลยสำหรับ &nbsp;x, y, z และ k ที่เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นลบ Background and Objectives: to find the solution to the Diophantine equation t<sup>x</sup> + (t+3k)<sup>y</sup> = z<sup>2</sup>&nbsp; where k, y, z and z are non-negative integers, and t is a positive integer, which is in the form 3n+1 for some non-negative integer n. Methodology: proving by contradiction and various properties related to the congruent in order to find the Diophantine equation’s solutions. Main Results: the Diophantine equation t<sup>x</sup> + (t+3k)<sup>y</sup> = z<sup>2</sup> has no any solution. Conclusions: the Diophantine equation t<sup>x</sup> + (t+3k)<sup>y</sup> = z<sup>2</sup> where t is a positive integer, which is in the form&nbsp; 3n+1 for some non-negative integer n, has no any solution for k, y, z and z are non-negative integers.</p> ดารากร จันทร์ต้อย สมคิด อินเทพ Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 402 407 ผลของ Bacillus licheniformis ต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย และภูมิคุ้มกัน ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9747 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : กุ้งก้ามกรามเป็นสัตว์น้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและมีราคาแพง การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามที่หนาแน่นส่งผลให้กุ้งเจริญเติบโตช้า และเกิดโรคระบาดได้ง่าย ปัจจุบันมีการเลี้ยงกุ้งแบบชีวภาพโดยใช้จุลินทรีย์กลุ่ม Bacillus spp.&nbsp;&nbsp; ช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโต และกระตุ้นภูมิคุ้มกันของกุ้ง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ Bacillus licheniformis ต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย และภูมิคุ้มกัน ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) วิธีดำเนินการวิจัย : โดยใช้กุ้งก้ามกรามขนาด 5.23±0.007 กรัม อัตราความหนาแน่น 13 ตัว/บ่อ (25 ตัว/ตารางเมตร)&nbsp; ถังขนาด 0.52×1×0.42 เมตร วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design: CRD) โดยแบ่งเป็น 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ได้แก่ ชุดการทดลองที่ 1 อาหารสำเร็จรูป (ชุดควบคุม) ชุดการทดลองที่ 2, 3 และ 4 อาหารผสม B. licheniformis ปริมาณ 1, 5 และ 10 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม ตามลำดับ เลี้ยงเป็นระยะเวลา 60 วัน บันทึกการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย และศึกษาภูมิคุ้มกัน ผลการวิจัย : จากการศึกษาพบว่า การเจริญเติบโต และอัตราการรอดตายในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามที่ได้รับอาหารผสม&nbsp; B. licheniformis ในชุดการทดลองที่ 4, 3 และ 2 มีการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักเท่ากับ 11.71±0.29, 11.18±0.56 และ 10.41±0.71 กรัม ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ด้านภูมิคุ้มกันของกุ้งก้ามกรามที่ได้รับอาหารผสม B. licheniformis ในชุดการทดลองที่ 4 มีปริมาณเม็ดเลือดรวม และความสามารถในกระบวนการกลืนกินสิ่งแปลกปลอมของเม็ดเลือดกุ้งได้ดีกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) สรุปผลการวิจัย : จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากุ้งก้ามกรามที่ได้รับอาหารผสม B. licheniformis ในปริมาณ 10 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ได้ดีกว่าชุดควบคุมที่กินอาหารไม่ผสม B. licheniformis&nbsp; Background and Objectives: Giant freshwater prawn are economic freshwater aquatic species. The intensive prawn culture affects on slow growth and disease outbreaks. Currently, there are biological shrimp farms using microorganism sush as Bacillus spp. for enhance shrimp growth and immune. The objective of this study is to determine effects of Bacillus licheniformis on growth survival rate and immune of Macrobrachium rosenbergii. Methodology: Prawns (size 5.23±0.007 g) were stocked in 0.52×1×0.42 meters tanks at density 13 prawns/tank (25 prawns/m2). The experiment was Completely Randomized Design (CRD) and divided in to 4 treatments. Each treatment had 3 replications. The first treatment was commercial pelleted feed (control), the 2nd, 3rd and 4th treatments were commercial pelleted feed with B. licheniformis at concentration 1, 5 and 10 g/feed 1 kilograms respectively. The growth, survival rate and immune were recorded during culture for 60 days. Main Results: Growth and survival rate of prawn in treatment 4, 3 and 2 fed with B. licheniformis were 11.71±0.29, 11.18±0.56, and 10.41±0.71 grams, respectively and significantly higher than the control group (p&lt;0.05). For the prawn immunity, prawn fed with probiotic in treatment 4 had total hemocyte count and phagocytosis activity better than control group (p&lt;0.05). Conclusions: Prawn fed with diet containing B. licheniformis at concentration 10 g/feed 1 kilograms was able to enhance growth, survival rates and immune than the control group.</p> มัสธูรา ละใบเด็น ทัศนีย์ นลวชัย วิญญู บุญประเสริฐ Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 408 422 การกำหนดอายุด้วยวิธีลูมิเนสเซนส์ของตะกอนชายฝั่งจังหวัดสงขลา ในปลายยุคควอเทอร์นารี ประเทศไทย https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/9748 <p>วัตถุประสงค์และที่มา : ตะกอนชายฝั่งตามแนวชายฝั่งจังหวัดสงขลายังคงขาดข้อมูลลำดับเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาที่จำเป็นในการอธิบายวิวัฒนาการของชายฝั่ง ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดอายุของตะกอนชายฝั่งทางฝั่งทะเลสาบสงขลา เพื่อใช้เป็นการศึกษาเบื้องต้นในการก่อตัวของทะเลสาบสงขลา วิธีดำเนินการวิจัย : ศึกษาพิกัดทางภูมิศาสตร์และและความสูงจากระดับน้ำทะเลเพื่อสร้างแผนที่ภูมิประเทศ โดยระบบเครือข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (The Global Navigation Satellite System with the real-time kinematic, RTK GNSS network) และใช้ท่อพีวีซี (PVC) ทึบแสงในการเก็บตัวอย่างตะกอนจากสันทรายชุดเก่าและที่ราบหลังสันทราย เพื่อนำไปกำหนดอายุของชายฝั่งด้วยวิธีลูมิเนสเซนส์ (Optically-stimulated luminescence, OSL) และเทคนิค Single aliquot regenerative dose (SAR). ผลการวิจัย : จากการศึกษาด้วยระบบรังวัดแบบจลน์และการทำแผนที่ภูมิประเทศพบว่ามีสันทรายชุดเก่าสองชุดและที่ราบหลังสันทราย ซึ่งมีอายุ 10,000, 30,500 และ 39,200 ปี และมีตัวอย่างตะกอนที่อายุเกินกว่าเทคนิคสามารถตรวจวัดได้ สรุปผลการวิจัย : การกำหนดอายุด้วย Quartz OSL ให้ผลสรุปว่าสันทรายชุดในสุดและที่ราบหลังสันทรายมีอายุในช่วง 30,000-40,000 ปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่มีสภาพอากาศแบบชื้นก่อนที่สภาพอากาศจะแห้งแล้งและหนาวจัดขึ้นในปลายยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด (late glacial maximum) ในขณะที่ที่ราบหลังสันทรายชุดนอกเป็นตะกอนชายฝั่งที่อายุน้อยที่สุดมีอายุราว 10,000 ปีก่อน เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำทะเลสูงขึ้นในช่วงต้นสมัยโฮโลซีน (Holocene) หลังจากนั้นชายฝั่งทะเลสาบสงขลาปรากฏเพียงตะกอนที่ราบน้ำทะเลขึ้นถึงเท่านั้น อย่างไรก็ตามผลของการกำหนดอายุตะกอนพบช่วงเวลาที่ขาดหายไปของลำดับชั้นหินหรือเวลาความไม่ต่อเนื่อง (hiatus) ในปลายยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด&nbsp; Background and Objectives: Coastal sediments along the Songkhla coast still lack chronological data to describe their evolution. The objective of this study was to determine the chronological ages of the lagoonal side of the Songkhla coastline area, with the purpose of conducting a preliminary investigation into the development of the Songkhla lagoon. Methodology: The topographic map of the coastal sediments that were classified early were taken with the real-time kinematic survey by the Global Navigation Satellite System. Samples were taken from the old ridges and plains behind the ridges using a light-blocking (PVC) cylinder tube and dated by optically stimulated luminescence (OSL) with the single aliquot regenerative dose protocol. Main Results: A field survey by GNSS-RTK confirmed the two old ridges and plains parallel to the Songkhla lagoon coast in Hatyai district. The dating results were 10.0, 30.5, 39.2 ka (thousand years), and a saturated equivalent dose sample. Conclusions: Quartz OSL dating revealed that the inner old ridge and plain behind the ridge were deposited during the humid period approximately 30–40 ka before the drought period in the late glacial maximum (LGM). At the same time, the youngest sediment here was the outer plain behind the ridge that was deposited 10 ka ago when the sea level transgressed in the early Holocene. Since then, only tidal flat sediment has been found on the lagoon coast. However, in this area, there was a hiatus during LGM.</p> อารัฟ แลรอซา ศิริพร ประดิษฐ์ มนตรี เลื่องชวนนท์ ประกฤษฎ์ นพประดิษฐ์ Copyright (c) 2024 2024-05-28 2024-05-28 29 1 423 439