โครงสร้างประชาคมแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำที่เกี่ยวข้องหลังเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ พ.ศ. 2560: กรณีศึกษาหนองหาร จังหวัดสกลนคร

Authors

  • พิชาศิษฐ์ แสงเมฆ
  • รฐานิษฐ์ สุขธนาภิรัตน์

Keywords:

แพลงก์ตอนพืช, เหตุการณ์น้ำท่วม, คุณภาพน้ำ, หนองหาร, phytoplankton

Abstract

            การศึกษาโครงสร้างประชาคมของแพลงก์ตอนพืชหลังเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2560 ในหนองหาร จังหวัดสกลนคร เพื่อทราบถึงอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงทางอุทกวิทยาต่อแพลงก์ตอนพืชในแหล่งน้ำนิ่ง ผลการ ศึกษาพบว่าเดือนธันวาคม 2561 มีจำนวนสกุลของแพลงก์ตอนพืชมากที่สุดเท่ากับ 83 สกุล และเดือนพฤศจิกายน 2560 มีความหลากหลายน้อยที่สุดเท่ากับ 59 สกุล ในช่วงน้ำหลากเดือนมิถุนายน 2560 มีความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชน้อยที่สุด อยู่ในช่วง 314-6,300 (ค่าเฉลี่ย 1,531) เซลล์ต่อลิตร และมีการเปลี่ยนแปลงประชากรกลุ่มหลักโดยแพลงก์ตอนพืชกลุ่ม ไดโนแฟลกเจลเลตที่สามารถปรับตัวได้ดีเจริญเติบโตอย่างหนาแน่นแทนที่สาหร่ายสีเขียวกลุ่มเดสหมิด คุณภาพน้ำ ในแต่ละช่วงฤดูกาลส่งผลต่อความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืช โดยปริมาณของแข็งแขวนลอยรวมในน้ำมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับแพลงก์ตอนพืชกลุ่มสาหร่ายสีเขียวอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ค่าดัชนีทางนิเวศวิทยาแสดงให้เห็นว่าแพลงก์ตอนพืชในหนองหารยังมีความหลากหลายทางชีวภาพและสามารถเป็นกำลังผลิตขั้นต้นที่สำคัญในทุกฤดูกาล            Study on the community structure of phytoplankton after flood event 2017 in Nong Han Lake, Sakon Nakhon Province to realize the influence of hydrological changes on phytoplankton community in lentic waters. The results showed that the highest taxa of the phytoplankton were found in 83 genera in December 2018 and the lowest was found in 59 genera in November 2017. During the flooding period in June 2017, the lowest density of phytoplankton was found in the range of 314-6,300 (average 1,531) cell Liter-1 and the main population was changed by adaptable dinoflagellates replacing green algae. Water quality in each season affected the density of phytoplankton. Total suspended solids (TSS) were significantly negative correlated with green algae (p<0.01). The ecological index showed that phytoplankton in Nong Han Lake is still diverse and can be an important primary productivity of the lake in all seasons.

Downloads