ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามกฎหมายในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการประมงในเขตเทศบาลนครระยอง
Factors Affecting Legal Compliance in the Migrant Labours Registration of Fishery Entrepreneurs in Rayong Municipality
Keywords:
การปฏิบัติตามกฎหมาย, การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว, Compliance with laws, Registration of migrant laboursAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามกฎหมายในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการประมงในเขตเทศบาลนครระยอง และเพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการประมงในเขตเทศบาลนครระยอง ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการประมงในเขตเทศบาลนครระยอง ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 228 ราย ผลการศึกษา พบว่าการปฏิบัติตามกฎหมายในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการประมงในเขตเทศบาลนครระยอง ทั้งหมดปฏิบัติตามกฎหมายในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามกฎหมายในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการประมงในเขตเทศบาลนครระยอง พบว่า การเป็นสมาชิกหรือสมาคม, ประสบการณ์การเป็นเจ้าของเรือ, ประเภทของการประกอบธุรกิจประมง, จำนวนแรงงานการทำประมง, เงินอุดหนุนจากภาครัฐ, การถือครองเรือประมง, การถูกจับกุม และจำนวนครั้งของการถูกตรวจสอบ มีผลต่อการปฏิบัติตามกฎหมายในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการประมงในเขตเทศบาลนครระยอง ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยทางด้านความเชื่อมั่น ปัจจัยทางด้านกฎหมาย และปัจจัยทางด้านสวัสดิการมีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติตามกฎหมายในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการประมงในเขตเทศบาลนครระยอง ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามกฎหมายในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว พบว่า ต้องเพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ ให้มีความสอดคล้องตรงตามความต้องการ อำนวยความสะดวกสบาย สามารถช่วยลดปัญหาการไม่ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวได้ เจ้าหน้าที่มีการพบปะผู้ประกอบการเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการได้รู้ถึงสิทธิประโยชน์ หน้าที่ของผู้ประกอบการต่อการปฏิบัติตามขั้นตอนของการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ค่าธรรมเนียม ตลอดจนการต่ออายุสัญญาการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวอย่างต่อเนื่องตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อตกลงการจ้างงานตามกฎหมาย The purpose of this research was to study factors affecting legal compliance in the registration of migrant labour of fishery entrepreneurs in Rayong Municipality. And to study the problems of migrant labour registration, of fisheries entrepreneurs in Rayong Municipality. This study use quantitative research, which collected data from fishing entrepreneurs in Rayong Municipality, which using 228 sampling groups. The results of the study showed that compliance with the law on registration of migrant labours of fisheries entrepreneurs in Rayong Municipality. All comply with the law on registration of migrant labours. Factors affecting legal compliance in the migrant labours registration of fisheries entrepreneurs in Rayong municipality founds that being; a member or association, boat ownership experience, types of fishing business, number of fishing workers, government subsidies, holding a fishing boat, arrest and the number of inspections have affecting the compliance with the law on migrant labour registration of fisheries entrepreneurs in Rayong municipality. Economic factors, confidence factors, legal factors, and welfare factors are related to legal compliance in the registration of migrant labours of fishing operators in Rayong Municipality Suggestions for complying with the law on migrant labour registration found that the need to increase communication channels, improve the efficiency of systematic management. To be in accordance with the requirements, and makes comfort. It can help reduce the problem of not registering migrant labours. The officials have met entrepreneurs to create understanding for entrepreneurs to know the benefits. The duties of entrepreneurs towards the implementation of the procedures for migrant labour registration, fees, and renewal of the contract for migrant labour registration in accordance with the conditions specified in the legal employment agreement.References
กรมการจัดหางาน. (2560). ขั้นตอนการดำเนินการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว ณ ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service). วันที่ค้นข้อมูล 10 ตุลาคม 2561, เข้าถึงได้จาก www.doe.go.th/prd/alien/service/ param/site
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์และการค้าประเวณี และควบคุมการขอทาน. วันที่ค้นข้อมูล 15 ตุลาคม 2561, เข้าถึงได้จาก www.law.m-society.go.th/law2016/law/view/776
กิตติเมธ สาคุณ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการเชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎหมายของประชาชน: ศึกษาเฉพาะกรณีกองบังคับการตำรวจนครบาล 1. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริการงานยุติธรรม ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคนต่างด้าว. (2559). วันที่ค้นข้อมูล 14 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก www.mol.go.th/academician/basic_alien
จุฑามาศ ชุ่มทองพิทักษ์. (2550). การบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานแห่งชาติ. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ, สาขาวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ณัชชา วิทยสิริศิลป์. (2549). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองในเขตอำเภออู่ทอง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, โครงการปริญญาโทบริหารธุรกิจ (สุพรรณบุรี), มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
นฤบาล จิตทยานันท์. (2545). ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงใหม่กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว. ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง, บัณฑิต วิทยาลัย, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
นิสกา ม่วงพัฒน์. (2558). การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว: อุปสรรคและแนวทางแก้ไข. โครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ รุ่นที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.ร.
เบญจพร สุขศรี. (2557). ผลกระทบของนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ต่อการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว: กรณีศึกษาแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พีระพงศ์ วงษ์สมาน. (2539). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับมลพิษทางเสียงของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภัทรวุธ เภอแสละ. (2552). แนวทางการพัฒนากระบวนการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา.
เรือนคำ อ่อนคล้าย. (2546). ปัญหากระบวนการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วสพร บุญสุข. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ศูนย์ประสานแรงงานประมงจังหวัด. (2560). กฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว กฎหมายว่าด้วยการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ. กฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว, สัญญาจ้างแรงงานประมงทะเลสำหรับแรงงานต่างด้าว. วันที่ค้นข้อมูล 18 พฤศจิกายน 2560, เข้าถึงได้จาก www.doe.go.th/pcf
สุณีย์ จ้อยจำรัส. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบกิจการอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ในจังหวัดสมุทรสาคร. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานประมง. (2559). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายด้านการประมงในจังหวัดระยอง ประจำงบประมาณ 2559. วันที่ค้นข้อมูล 18 พฤศจิกายน 2560, เข้าถึงได้จาก www4.fisheries.go.th/local/ index.php/main/site/fpo-rayong
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ในโครงการป้องกันด้านแรงงานต่างด้าว. วันที่ค้นข้อมูล 12 ตุลาคม 2560, เข้าถึงได้จาก http://www.rayong.m-society.go.th
สำนักงานแรงงานจังหวัดระยอง. (2560). สถานการณ์แรงงานจังหวัดระยองเกี่ยวกับบทสรุปสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงานของจังหวัดระยอง. วันที่ค้นข้อมูล 12 ตุลาคม 2560, เข้าถึงได้จาก www.rayong.mol.go.th/node/14219
อุทัย เสียงแจ่ม. (2553). คุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานต่างด้าว ในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.