วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา
https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/health
en-USวารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา1905-7164ระดับและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพของประชากรก่อนวัย สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/8920
<p>การศึกษานี้มีรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อมกับการเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพ ในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรก่อนวัยสูงอายุ อายุ 50 - 59 ปี จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเชิงพรรณาและไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า การเตรียมความพร้อมโดยรวมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพ อยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 81.41 รองลงมา คือ ระดับต่ำ ร้อยละ 11.92 และระดับสูงร้อยละ 6.67 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีทั้งปัจจัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม โดยปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ รูปแบบการอยู่อาศัย (X<sup>2</sup> = 15.104, p <. 004) โรคประจำตัว (X<sup>2</sup> = 6.514, p <. 039) และปัจจัยสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม (X<sup>2 </sup>= 21.193, p < .001) ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ควรพัฒนาโปรแกรมการเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพที่สัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อมต่อไป This cross-sectional study aimed to examine the preparedness and analyze the relationship between personal and environmental factors and the preparedness of the pre-elderly population to enter a high-quality elderly society in Mueang District, Chaiyaphum Province. The study included 285 participants aged 50-59 years. Questionnaires on social support and preparedness for entering the elderly society were used as research tools. Data analysis involved descriptive statistics and chi-square tests. The results revealed that the overall preparedness for entering the elderly society was at a moderate level, with 81.41% falling in the moderate category, 11.92% in the low category, and 6.67% in the high category. Factors related to the preparedness of the pre-elderly population to enter the elderly society were living conditions (X<sup>2</sup> = 15.104, p < 0 .004), personal diseases (X<sup>2</sup> = 6.514, p < 0.039), and environmental factors such as social support (X<sup>2</sup> =21.193, p < 0.001). Based on the study findings, it is recommended to develop a program for enhancing the preparedness of the pre-elderly population to enter a high-quality elderly society, taking into account personal and environmental factors.</p>ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์ทศพร บุญญานุสนธิ์ณัฐรดา แฮคำธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย
Copyright (c) 2023
2023-12-272023-12-27182116รูปแบบการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเพื่อน ในการทิ้งและลดยาเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/8921
<p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเพื่อนในการทิ้งและลดยาเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ออกแบบการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ การพัฒนาโปรแกรม การทดลองโปรแกรมและประเมินผลลัพธ์ของโปรแกรม โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานรับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 16 แห่ง จำนวน 204 คน สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมดำเนินโปรแกรมเป็นเวลา 3 เดือน โปรแกรมการทดลองออกแบบจากการทบทวนความสำเร็จของโรงเรียนบางระกำ โรงพยาบาลบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก (ภูวดลโมเดล) โดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเพื่อน ประกอบด้วยกิจกรรม การบรรยายความรู้/สาธิตเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เรียนรู้จากบุคคลตัวอย่างที่ทิ้งยาเบาหวานได้ การส่งการบ้านและติดตามกำกับรายการอาหารที่รับประทานและผลการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วผ่านกลุ่ม line สัปดาห์ละ 2 วัน โดยมีพยาบาลเป็นที่ปรึกษา แนะนำ ให้กำลังใจ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับรายการอาหารและผลการเจาะเลือดกับกลุ่มเพื่อนผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการด้วยกัน ส่วนแพทย์เป็นผู้วางแผนการรักษาและปรับลดยาเบาหวาน เมื่อเสร็จสิ้นโปรแกรม มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ที่ทิ้งยาเบาหวานสำเร็จ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบรายงานการบันทึกผลการเจาะเลือด แบบสรุปรายงานการบันทึกการรักษาและค่ายาเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติ t-test และ z-test ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลองผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้ความคาดหวังผลดี พฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ค่าเฉลี่ยระดับ FBS และ SGPT ดีกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม (p<0.001, p=0.002) แต่ไม่พบว่าค่าเฉลี่ย HbA1C, BUN. Cr, eGFR, SGPT, TG, TC, HDL, LDL และ Urine microalbumin แตกต่างกันระหว่างก่อนและหลังการทดลอง (p>0.05) ผู้ป่วยสามารถทิ้งและลดยาเบาหวานได้ร้อยละ 45.1 ซึ่งเกินเป้าหมายร้อยละ 30 โดยทิ้งยาร้อยละ 8.8 และลดยาร้อยละ 36.3 และลดราคาค่าเฉลี่ยยาเบาหวานต่อเดือนจาก 432.78 บาท เป็น 391.44 บาท ดังนั้น ความสำเร็จของโปรแกรมทดลองครั้งนี้สามารถนำไปขยายผลโดยประยุกต์ใช้ในเขตเมืองและเขตชนบทตามบริบทของพื้นที่ทุกอำเภอในเขตจังหวัดชลบุรี The objective of this action research was to study the effectiveness of applying self-efficacy theory with a peer participatory learning process to discard and reduce diabetic medication among patients with type 2 diabetes mellitus in the Mueang Chonburi District, Chonburi Province. The research was designed in three phases: program development, program implementation and evaluation, and program results assessment. The sample group consisted of 204 diabetic patients receiving treatment at the Sub-District Health Promoting Hospital who volunteered to participate in the program for a duration of 3 months. The experimental program was designed based on a review of the success of Bang Rakam School's program in Phitsanulok Province (Phuwadol Model). It involved applying the theory of self-efficacy and the peer participatory learning process. The activities included knowledge lectures/ demonstrations about diabetes, learning from examples of people who successfully discontinued their diabetes medication, homework assignments, and monitoring of dietary intake and blood glucose levels using the Line messaging app twice a week. The program included a nurse as a consultant, providing advice, encouragement, and facilitating the exchange of knowledge regarding dietary plans and blood test results among the participants. The physician was responsible for treatment planning and reducing diabetes medication. Upon program completion, certificates were awarded to those who successfully discontinued diabetes medication. The data collection tools consisted of an interview form, a report form for recording blood collection results, and a summary report form recording treatment and diabetes medication costs. Statistical analysis using descriptive statistics, t-tests, and z-tests was conducted. The study findings revealed that after the experiment, type 2 diabetic patients had significantly higher average scores in self-efficacy, outcome expectations, and self-care behaviors in controlling blood sugar levels compared to before the experiment (p < 0.001). The mean values of fasting blood sugar (FBS) and serum glutamic pyruvic transaminase (SGPT) also significantly improved compared to before the program (p < 0.001, p = 0.002). However, there were no significant differences in the mean values of HbA1C, BUN, Cr, eGFR, SGPT, TG, TC, HDL, LDL, and urine microalbumin between before and after the experiment (p > 0.05). The patients were able to discard or reduce diabetes medication by 45.1%, exceeding the target of 30%. They discarded medication by 8.8% and reduced medication by 36.3 %, leading to a decrease in the average monthly cost of diabetes medication from 432.78 baht to 391.44 baht. Therefore, the success of this experimental program can be expanded and applied in urban and rural areas in all districts of Chonburi Province, considering the context of each specific area.</p>สมฤดี สุขอุดม
Copyright (c) 2023
2023-12-272023-12-271821730ปัจจัยการบริหารทรัพยากรสาธารณสุขที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดบริการด้านสาธารณสุขให้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 6
https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/8922
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารทรัพยากรสาธารณสุขที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดบริการด้านสาธารณสุขให้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามโดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากตัวแทนผู้จัดบริการด้านสาธารณสุขให้กับผู้สูงอายุที่ทำงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตสุขภาพที่ 6 จำนวน 252 คน ระหว่างสิงหาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติไคว์สแควร์ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นบันได ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิผลการจัดบริการด้านสาธารณสุขอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.96±0.54) ส่วนปัจจัยการบริหารทรัพยากรสาธารณสุข ได้แก่ ปัจจัยด้านกระบวนการบริหาร (ค่าเฉลี่ย = 3.64±0.57) และปัจจัยด้านทรัพยากรสาธารณสุขอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.42±0.61) โดยปัจจัยด้านกระบวนการบริหาร (r = 0.702, p<0.001) และปัจจัยด้านทรัพยากรสาธารณสุข (0.597, p<0.001) มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการจัดบริการด้านสาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งปัจจัยด้านกระบวนการบริหาร ได้แก่ ด้านการวางแผน มีอิทธิพลมากที่สุดเท่ากับ 0.378 และปัจจัยด้านกระบวนการบริหารทั้งด้านการวางแผนและด้านการอำนวยการ และปัจจัยด้านทรัพยากรสาธารณสุขในด้านบุคลากร ร่วมกันทำนายประสิทธิผลการจัดบริการได้ร้อยละ 54.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเขตสุขภาพที่ 6 ควรพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในด้านการวางแผนเชิงระบบ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาบริการด้านสาธารณสุขผ่านเครือข่ายสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อมุ่งไปสู่การจัดบริการสาธารณสุขที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต The objective of this research was to examine the factors influencing the effectiveness of healthcare services provided to the dependent elderly in the community. Data was collected through a mailed questionnaire from the representative sample of healthcare service providers who working at the Subdistrict health promotion hospital in health region 6 from August to September 2020. The sample consisted of 252 health providers by using the multi-stage random sampling. Data was analyzed using descriptive and inferential statistics, including Chi-square analysis, Pearson correlation analysis, and Stepwise multiple regression analysis. The research findings revealed that the effectiveness of healthcare services was high level (average = 3.96±0.54). Health resource management factors by the administrative factors (average = 3.64±0.57) and the health resources factors (average = 3.42± 0.61) were at the moderate level. Both the administrative factors (r = 0.702, p<0.001) and the health resources factors (0.597, p<0.001) were significantly correlated with the effectiveness of healthcare services. Furthermore, the most influence was the administrative factors as planning dimension was the most effect size at 0.378and factors as administrative factors (planning, director) and health resources factors as personnel were predicting the effectiveness of healthcare services about 54.10% at the statistically significant level of 0.01. Therefore, our suggestions that the relevant organizations, particularly in Health region 6, should enhance the capabilities of their personnel in systemic planning to support the advancement of healthcare services for the dependent elderly through health network management. This aims to achieve healthcare services that align and support with current and future needs.</p>เตือนใจ ลีลาชัยวสุธร ตันวัฒนกุล พัชนา เฮ้งบริบูรณ์พงศ์ ใจดี
Copyright (c) 2023
2023-12-272023-12-271823144ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ตามหลัก 3อ.2ส. ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/8923
<p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงตามหลัก 3อ.2ส. กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่มีอายุ 35-59 ปี มีความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 120/80–139/89 mmHg. เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ปฏิบัติถูกต้อง 4-5 ครั้ง/สัปดาห์) แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติเป็นประจำ และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัย พบปัจจัยนำส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. (X<sup>2</sup>= 9.10, 34.46) ตามลำดับ ปัจจัยนำตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ 4 ประการ ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ในระดับน้อยมาก (r=0.14) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของความรุนแรงโรคมีความสัมพันธ์ในระดับน้อยมาก (r=0.14) การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติตนตามพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. อย่างถูกต้องและเหมาะสม มีความสัมพันธ์ในระดับน้อย (r=0.38, 0.22) ตามลำดับ และปัจจัยเอื้อมีความสัมพันธ์ในระดับน้อย (r=0.28) ส่วนปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (r=0.59) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยข้างต้นแสดงให้เห็นว่าประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ที่ยังต้องมีการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้องเป็นประจำ ในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น และทีมบริการสุขภาพสามารถพิจารณาเลือกปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพในแต่ละระดับ ไปปรับใช้สำหรับการจัดโครงการ หรือพัฒนาระบบสุขภาพในประเด็นที่เกี่ยวข้องได้ This cross-sectional descriptive research aimed to study the relationship of predisposing, enabling, and reinforcing factors influencing the hypertension preventive behaviors according to 3E.2S. The samples consisted of people aged 35-59 years old with their blood pressure of 120/80-139/89 mmHg. The research tool was a questionnaire. Data were analyzed by using Average, Chi-square, and Pearson Product Moment Correlation. The results showed that the overall practice of health behaviors according to 3E.2S. was at the high level (practiced correctly 4-5 times/week), but not practiced regularly. When studying the relationship of factors, the predisposing factor, the health behaviors under 3E.2S. principle (X<sup> 2</sup>= 9.10, 34.46) respectively. The predisposing factor in terms of health belief model showed the Perceived Severity and the Perceived Susceptibility of hypertension were correlated at a low level (r=0.14). the Perceived Benefits and Barriers of the proper practice of health behaviors under the 3E.2S. principle were correlated at a low level (r=0.38, 0.22) respectively. The enabling factor was correlated at a low level (r=0.28). The reinforcing factor was correlated at a moderate level (r=0.59). Basing on the above findings, the risk group had the health behaviors under the 3E.2S. principle that still need to be promoted on a regular basis during the Coronavirus 2019 pandemic moving to endemic approach. In addition, the health service team can select factors that correlated with health behaviors at each level to be applied for project management or health system development on relevant issues.</p>อติวิชญ์ เข็มทอง
Copyright (c) 2023
2023-12-272023-12-271824559ประสิทธิผลโปรแกรมการเรียนรู้โดยการกระทำต่อการรับรู้และการปฏิบัติตนตามสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองของผู้มีความดันโลหิตสูงในจังหวัดนครนายก
https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/8924
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental design research) ชนิด 2กลุ่ม (two group pre - post test design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้โดยการกระทำ (Learning by doing) ที่ทำให้เกิดการรับรู้ต่อสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองที่ดีและถูกต้องส่งผลให้ผู้มีความดันโลหิตสูงสามารถปฏิบัติตนตามสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีความดันโลหิตสูง จำนวน 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 50 คนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเรียนรู้โดยการกระทำ 4 ขั้นตอน คือ 1) ประเมินผู้เรียน 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) ตั้งเป้าหมายและวางแผน การปฏิบัติตนด้วยเทคนิค AIC 4) ฝึกปฏิบัติจริงจนเป็นทักษะ กลุ่มควบคุมได้รับบริการและสื่อต่าง ๆ จากสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขตามปกติ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน pair t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ต่อสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองทั้ง 5 อาการ คือ 1) อาการชาหรืออ่อนแรงของใบหน้าแขนขา 2) อาการสับสน พูดไม่ชัด 3) อาการมองไม่ชัด ตามัว 4) อาการมึนงง เวียนศีรษะ เดินเซ 5) อาการปวดศีรษะรุนแรง อยู่ในระดับมากที่สุดเพิ่มขึ้น จาก 3.60 เป็น 4.73 และเพิ่มมากขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม ส่งผลให้กลุ่มทดลองสามารถปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการตามสัญญาณเตือนฯ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีค่าคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตนตามสัญญาณเตือนฯ เพิ่มมากขึ้นจาก 12.08 เป็น 22.50 และเพิ่มมากกว่ากลุ่มควบคุม และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.05) สรุปได้ว่าโปรแกรมการเรียนรู้โดยการกระทำเป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิผลเพราะทำให้ผู้มีความดันโลหิตสูงเกิดการรับรู้ที่ดีและส่งผลให้เกิดการปฏิบัติตนตามสัญญาณเตือนฯ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมจึงควรนำโปรแกรมการเรียนรู้โดยการกระทำนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล This quasi-experimental design research (two group pre-post test design) aimed to study the effectiveness of learning by doing program that caused good and accurate awareness of stroke warning signs and enable people with high-risk hypertension to properly follow the stroke warning signs. The sample consisted of 100 hypertensive people, 50 person for the experimental group and 50 person for the control group. The experimental group received a 4-step action based a learning by doing program: 1) assessing the learners, 2) conducting workshops, 3) setting goals and planning actions using AIC techniques, and 4) practicing hands-on skills. The control group received services and media from medical and public health facilities as usual. The data were analyzed by among Percentage, Average, Standard Deviation, Pair T-test, and T-test. The results of the research showed that after the experiment, hypertension people in the experimental group had an average score towards the perception on all 5 stroke warning signs (1. numbness or weakness of the face or limbs, 2. confusion or slurred speech, 3. blurry vision, 4. dizziness or staggered walking, and 5. severe headache) at a higher level from 3.60 to 4.73 and also increased more than the control group, resulting in the experimental group being able to behave properly when following the stroke warning signs and the average score increased from 12.08 to 22.50 and was more than the control group with a statistically significant of p < 0.05. It can be concluded that the learning by doing program was effective because it provided a good learning and an accurate following of stroke warning signs. Therefore, a learning by doing program should be applied into health promotion activities and diseases prevention of various public health agencies, especially the Subdistrict health promoting hospital.</p>สุเพ็ญลักษณ์ พวยอ้วน
Copyright (c) 2023
2023-12-272023-12-271826073ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในการจัดอาหารแก่เด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/8925
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมกับการปฏิบัติในการจัดอาหารให้กับเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ที่อยู่ในความดูแลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกับเด็ก และมีหน้าที่ในการจัดอาหารแก่เด็กรับประทานที่บ้าน จำนวน 236 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยประยุกต์ตามกรอบ PRECEDE Model ของ กรีนและกรูเตอร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และไคสแควร์ ผลการวิจัยพบกลุ่มตัวอย่างเป็นแม่ของเด็ก ร้อยละ 50.42 เป็นย่าและยาย ร้อยละ 32.63 มีค่าคะแนนเฉลี่ยปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้ อยู่ในระดับต่ำ (ค่าเฉลี่ย = 7.03) ความเชื่ออยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.60) ทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.16) ค่านิยมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย= 3.16) ส่วนปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.68) และปัจจัยเสริม อยู่ในระดับ ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.89) ด้านการปฏิบัติในการจัดอาหารให้กับเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.12) เมื่อนำมาหาความสัมพันธ์พบปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความเกี่ยวพันกับเด็ก อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและครัวเรือน ปัจจัยนำด้านความรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในการจัดอาหารให้กับเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.01 ข้อมูลความสัมพันธ์นี้สามารถนำเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาพฤติกรรมการปฏิบัติในการจัดอาหารให้กับเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองได้อย่างมีประสิทธิผล เพราะเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุที่ครอบคลุมทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคล This cross-sectional survey research aimed to study the relationship between Personal factors, Predisposing factors, Enabling factors, and Reinforcing factors towards food handling practices of the parents to the preschool children under the care of the Child Development Centers in a Sub-district Administrative Organization. The samples were 236 parents who lived in the same house as the children and were responsible for handling food to the children at home. The research instrument was a questionnaire created by the researcher based on the theoretical framework of PRECEDE Model of Green and Krueter. The applied statistics were frequency distributions, percentages, means, standard deviations, Pearson correlation coefficient, and Chi-square. The results showed that the samples who were mothers of the children (50.42%), paternal grandmothers and maternal grandmothers (32.63%) had Predisposing factors in terms of knowledge at a low level (average = 7.03), beliefs at a high level (average = 3.60), attitudes at a moderate level (average = 3.16) as well as values at a moderate level (average = .16). Enabling factors were at a high level (average = 3.68) and Reinforcing factors were at a moderate level (average = 2.89). The level of food handling practices of the parents to the preschool children was moderate (average = 3.12). When considering the relationship, it found that Personal factors included affiliation with children, age, education level, occupation, average monthly income and household and Predisposing factors included knowledge, beliefs, attitudes, and values had a relationship with food handling practices of the parents to the preschool children at the confidence level of 0.01. This correlation data can be used as a database to develop parents' behavior in food handling practices to the preschool children effectively because this research analyzed both internal and external causes.</p>จิราพัชร ชิษสวัสดิ์
Copyright (c) 2023
2023-12-272023-12-271827487การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลต้นแบบ
https://journal.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/8969
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการตัวบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลต้นแบบ 2) พัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลต้นแบบ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข 350 คน สำหรับการสอบถามเกี่ยวกับพัฒนาร่างเกณฑ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลต้นแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารโรงพยาบาล จำนวน 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสาธารณสุข จำนวน 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา จำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา หรือการพัฒนาเกณฑ์การประเมิน จำนวน 3 คน สำหรับการประเมินเกณฑ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลต้นแบบจากการพัฒนามาจากมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง 16 มาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แบบบันทึกการศึกษาจากแนวคิดมาตรฐานและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มย่อย 3) แบบสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ แบ่งระดับมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของข้อคำถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ IOC เท่ากับ 0.84 และหาความเชื่อมั่นโดยใช้ Cronbach’s Coefficient เท่ากับ 0.96 ในกรณีการวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า จากการทบทวนมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลต้นแบบรวม 16 แหล่งข้อมูล เพื่อนำมาจัดหมวดหมู่เนื้อหาพบว่า มีข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมจำนวน 8 ด้าน ดังนั้น ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลต้นแบบ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการ 2) องค์ประกอบด้านกายภาพ ชีวภาพ 3) องค์ประกอบด้านการจัดการพลังงาน 4) องค์ประกอบด้านการจัดการน้ำ 5) องค์ประกอบด้านการจัดการของเสีย 6) องค์ประกอบด้านการจัดการความปลอดภัย 7) องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และ 8) องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน ดังนั้นภาพรวมเกณฑ์ฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.73, S.D. = .494) อย่างไรก็ตามข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนางานด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลให้ดีขึ้นได้ This article aimed to study problems and needs of environmental quality indicators for model hospitals and to development of environmental quality indexes for model hospitals. The sample size was medical and public health professional of 350 peoples. Of these studies have been 9 experts including the development of draft environmental quality criteria for the model hospital, by experts, a total of 9 people, consisting of, an expert in hospital administration, 1 people, an expert in public health, 1 people, an expert Environmental aspect, 1 people, expert in environmental studies, 3 people, and, expert in education, or development of assessment criteria, 3 people. They were selected by Three different types of research were conducted using specific selection techniques and tools, including: 1) study notes from standard concepts and related research, 2) notes from small group discussions, and 3) Questionnaire of experts of the rating scale were divided into 3 levels to allow experts to express their opinion on the importance of the questions. The data were analyzed using an IOC of 0.84 and confidence findings were determined using Cronbach's Coefficient of 0.96. Analysis data by Descriptive statistics and Content Analysis. The research results were found as follows; 1) A survey of the literature and related research on the ideas of environmental quality in model hospitals, which used 16 data sources to classify the content, revealed that it contains information on 8 different components of environmental quality indexes (EQI). 2) The results of the development of environmental quality indexes in model hospitals consisted of 8 components: 1) Management component 2) Physical and biological component 3) Energy management component 4) Water management component 5) Management component of the hospital Waste 6) Safety management component 7) Environmental component for health promotion and 8) Community engagement component. Therefore overall, of EQI were appropriated at a high level (average = 3.73, S.D. = .494). However, this findings from research were usefully for developing the work, the environment quality indexes of the in all hospitals can be better.</p>จำเนียร วงษ์ศรีแก้วบุญเลิศ วงค์โพธิ์วินัย วีระวัฒนานนท์ ศิริชัย จันพุ่ม
Copyright (c) 2023
2023-12-272023-12-2718288101