โรคเบาหวานชนิดที่ ๒ และสารอะดิโพไคน์
Type 2 Diabetes Mellitus and Adipokines
Keywords:
โรคเบาหวานชนิดที่ ๒, อะดิโพไคน์, ภาวะดื้ออินสุลิน, type 2 diabetes mellitus, adipokine, adiponectin, TNF-alpha, visfatin, insulin resistanceAbstract
โรคเบาหวานชนิดที่พบบ่อยและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย คือ โรคเบาหวานชนิด ที่ไม่พึ่งอินสุลินหรือโรคเบาหวานชนิดที่ ๒ ภาวะอ้วนเกิน (obesity) เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งต่อการ เกิดโรคเบาหวานชนิดนี้ เซลล์ไขมันสร้างสารอะดิโพไคน์หลายชนิด ซึ่งเป็นตัวช่วยรักษาสมดุลของเซลล์ และมีความสัมพันธ์กับกระบวนการเมแทบอลิสมของคาร์โบฮัยเดรต รวมถึงการทำงานของอินสุลิน อะดิโพเนคตินและวิสฟาทินเป็นอะดิโพไคน์ที่มีฤทธิ์เสริมการทำงานของอินสุลิน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ๒ มีระดับอะติโพเนคตินในกระแสเลือดลดลง ซึ่งน่าจะสัมพันธ์กับภาวะดืออินสุลิน ขณะที่ TNF-α มีฤทธิ์ทำให้การส่งสัญญาณของอินสุลินบกพร่อง, อย่างไรก็ตามบทบาทของ อะดิโพเนคติน, TNF-α และวิสฟาทิน ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะดื้ออินสุลินในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ๒ ยังจะต้องทำการศึกษาและวิจัยเพิ่มเติมต่อไป The most prevalent form of diabetes mellitus is non-insulin-dependent diabetes mellitus or type 2 diabetes mellitus, which is a serious health problem in Thailand. Obesity is considered to be a risk factor for type 2 diabetes. Adipocytes secrete several adipokines that notably influence the homeostasis of cells. Adipokines have been associated with carbohydrate metabolism as well as insulin function. Adiponectin and visfatin are adipokines that work synergistically with insulin. Decreased concentrations of adiponectin in blood may be associated with insulin resistance in type 2 diabetes. The physiological role of TNF-α has been shown to impair insulin signaling. However, further studies should elucidate the relationship between the insulin resistance in type 2 diabetes and the functions of adiponectin, TNF-α and visfatin.Downloads
Published
2023-12-26
Issue
Section
Articles