ผลการต่อต้านอนุมูลอิสระของแคเทชินและความอ่อนล้า ภายหลังการออกกำลังกายที่ความหนัก 70% อัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ
Muscle Soreness Relief after Exercise at 70% MHR and Antioxidant Effects of Catechin
Keywords:
ชาเขียว, การเกิดอนุมูลอิสระ, กรดแลคติก , การออกกำลังกายแบบแอโรบิก, Green tea, Oxidative stress, Lactic acid, Aerobic exerciseAbstract
การศึกษาผลของการรับประทานสารแดเทชินสกัดจากชาเขียว ซึ่งมีสรรพคุณเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยให้แบบครั้งเดียวภายหลังการออกกำลังกายที่ความหนัก 70% อัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ ในนักศึกษาชายอายุ 18-22 ปี จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 10 คน โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับสารเลียนแบบ กลุ่มที่ 2 และ 3 ได้รับสารสกัดแคเทซิน ขนาด 254 และ 381 มิลลิกรัม ตามลำดับ ทำการทดสอบวิ่งบนทางวิ่งกลโดยค่อย ๆ เพิ่มระดับความเร็วจนกระทั่งถึง 70% ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ และรักษาระดับจนครบ 30 นาที ทั้งนี้จะมีการเก็บข้อมูลความดันโลหิต ชีพจร ระดับความอ่อนล้า และเจาะเลือดเพื่อหาปริมาณ Malondialdehyde, Creatine kinase และ Lactic acid 3 ช่วง ได้แก่ ก่อนการออกกำลังกาย หลังการออกกำลังกายทันที และภายหลัง 24 ชั่วโมง ผลการวิจัย พบว่าค่า Malondialdehyde และ Lactic acid มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม ภายหลังการออกกำลังกายที่ 70% MHR ทันที และมีแนวโน้มลดลงภายหลัง 24 ซม. สำหรับค่า Creatine kinase ภายหลังการออกกำลังกายที่ 70%, MHR ทันที และภายหลัง 24 ชม. ทุกกลุ่มยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สรุปว่าสารสกัดแคเทชิน มีประสิทธิภาพในการจัดการสภาวะ Oxidative stress ได้ดี โดยสามารถลดค่า Malondialdehyde และ Lactic acid และลดการเพิ่มขึ้นของ Creatine kinase ได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดเลียนแบบ ภายหลังการออกกำลังกายที่ 70% MHR ทันทีและภายหลัง 24 ชั่วโมง แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) โดยการได้รับสารสกัดแคเทชิน ในปริมาณที่มากกว่า (381 มิลลิกรัมต่อวัน) มีประสิทธิภาพในการจัดการสภาวะ oxidative stress ได้ดี โดยสามารถลดค่า Malondialdehyde และ Lactic acid และลดการเพิ่มขึ้นของ Creatine kinase ได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดแคเทชิน ในปริมาณที่น้อยกว่า (254 มิลลิกรัมต่อวัน) ภายหลังการออกกำลังกายที่ 70% MHR ทันทีและภายหลัง 24 ชั่วโมง แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p> 0.05 ) The purpose of this study was to determine whether the antioxidants in catechin reduce biomarkers of oxidative damage and mechanical muscle damage following a treadmill exercise at 70% MHR for 30 minutes. Thirty healthy subjects aged 18-22 years old were randomly assigned into 3 groups of 10 each. Group 1 received placebo while group 2 and 3 received 254 and 381 mg. single dose of catechin extract, respectively. In the exercise phase, the subjects started with 3 minutes walk-jog on the thread mill and then increased the speed until the subject heart rate reached 70% MHR and maintained this intensity until 30 minutes. The measurements and blood samples were taken pre- and post-exercise immediately and after 24 hours, Blood samples were analyzed for creatine kinase (muscle damage), lactic acid and malondialdehyde. Data analysis revealed that there was no significant difference of malondialdehyde, lactic acid and creatine kinase between catechin intake and placebo groups at any exercise periods (pre-and post-exercise, and 24 hour after). However, there was a significant difference of malondialdehyde, lactic acid and creatine kinase between catechin intake and placebo group. These results suggest that the protocol did induce oxidative stress and mechanical muscle damage. Morever, the results show no relationship between delayed onset muscle soreness and oxidative stress. This may be due to the protocol design and catechin extract dosage. Delayed onset muscle soreness was not related to oxidative stress production, and catechin supplementation did not attenuate markers of oxidative stress nor muscle damage in this study.Downloads
Published
2023-12-20
Issue
Section
Articles