การศึกษาความคิดเห็นภายหลังการใช้ระบบการช่วยเหลือแบบ 4A เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการเลิกสูบบุหรี่ ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี
A Study of Opinions of Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing, Chon Buri on the Use of 4A's Method towards Smoking Cessation Clients
Keywords:
ระบบการช่วยเหลือแบบ 4A , การเลิกสูบบุหรี่ , ความคิดเห็น , นักศึกษาพยาบาล , 4A's method, smoking cessation, opinions, nursing studentsAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาล ภายหลังการใช้ระบบการช่วยเหลือแบบ 4A (Ask, Advise, Assess และ Assist) เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการเลิกสูบบุหรี่ และผลของการช่วยให้ผู้รับบริการเลิกสูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี ที่ฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล จำนวน 95 คน และผู้รับบริการที่สูบบุหรี่จำนวน 95 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชุด ประกอบด้วยแผนการสอนเรื่องการช่วยให้ผู้รับบริการเลิกสูบบุหรี่โดยใช้ระบบการช่วยเหลือแบบ 4A และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษา ภายหลังการใช้ระบบการช่วยเหลือแบบ 4A สร้างโดยทีมผู้วิจัย และแบบบันทึกประวัติผู้ได้รับคำแนะนำให้เลิกสูบบุหรี่ ของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่น แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาภายหลังการใช้ระบบการช่วยเหลือแบบ 4A วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย มีดังนี้ 1. ความคิดเห็นของนักศึกษาภายหลังการใช้ระบบการช่วยเหลือแบบ 4A เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการ เลิกสูบบุหรี่ 1.1 ด้านความเพียงพอของความรู้สำหรับช่วยให้ผู้รับบริการเลิกสูบบุหรี่อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.46 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.29 1.2. ด้านความสามารถในการให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการให้เลิกสูบบุหรี่ พบว่าความมั่นใจของนักศึกษาในความสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการโดยใช้ระบบการช่วยเหลือแบบ 4A เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการเลิกสูบบุหรี่อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.83 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.39 1.3. ด้านการปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการเลิกสูบบุหรี่อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.12 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.45 2. ผลของการช่วยให้ผู้รับบริการเลิกสูบบุหรี่โดยใช้ระบบการช่วยเหลือแบบ 4A เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการ เลิกสูบบุหรี่ พบว่ามีจำนวนผู้รับบริการให้คำตอบว่าจะเลิกแต่ขอคิดก่อนยังไม่กำหนดวันมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 65.3 จากผลการวิจัยนี้แสดงว่านักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมการสูบบุหรี่ และการนำระบบการช่วยเหลือแบบ 4A เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการเลิกสูบบุหรี่ไปใช้ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งวิทยาลัยควรนำเนื้อหาเกี่ยวกับการควบคุมการสูบบุหรี่บรรจุลงในหลักสูตร This research aimed to determine the nursing student's opinions on the use of 4A's method (Ask, Advise, Assess, and Assist), and the results of 4A's method towards smoking cessation among the clients. The study sample comprised 95 second year nursing students of Boromarajonani College of Nursing, Chon Buri province enrolling in the practicum course on "Principles and Techniques of Nursing' and 95 smokers participating in the smoking cessation program. The research instruments were composed of three measurements, two of which were developed by the researchers, and the other was the client's history records using the form designated by Smoking Cessation Campaign Foundation of Thailand. One of the first two measurements was a teaching plan for smoking cessation clients employing the 4 A's Method. The other was a questionnaire assessing the nursing student's opinions towards the use of the 4A's Method. All the measurements were tested for content validity and reliability. The reliability of the questionnaire was 0.81 using Cronbach Alpha. The data were then processed and analyzed using percentage, mean, and standard deviation. The results were as follows: 1. Student’s opinions after using the 4-A methods 1.1 The students reported a moderate level of knowledge sufficiency to help the clients quit smoking with the mean at 2.46, and SD. at 0.29. 1.2 The students expressed a high level of confidence to give advice to the clients with the mean at 3.83 and SD. at 0.39. 1.3 The students reported a high level of performance to promote clients to quit smoking with the mean at 4.12 and SD. at 0.45. 2. After the implementation of the 4A's method, 65.3 percent of the clients reported that they are going to quit smoking later on but have not yet specified exactly when. The results of the study showed that the students had a good attitude towards using the 4A methods to help smokers to quit the habit, and intended to use the techniques in their jobs later on in their future careers. It is strongly recommended that the 4A method should be incorporated into the nursing curriculum.Downloads
Published
2023-12-18
Issue
Section
Articles