ความสัมพันธ์ของระดับฮอร์โมน IGF-I กับสัดส่วนร่างกายความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และเวลาใน การว่ายน้ำ

Authors

  • สุกัญญา เจริญวัฒนะ
  • ณัฐธิดา บังเมฆ

Keywords:

ระดับฮอร์โมน IGF-I, สัดส่วนร่างกาย, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, เวลาในการว่ายน้ำ

Abstract

          การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรระดับฮอร์โมน IGF-I กับสัดส่วนร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และเวลาในการว่ายน้ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนและอยู่ในสโมสรว่ายน้ำ โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 11 คน อายุระหว่าง 9-15 ปี มีประสบการณ์ว่ายน้ำ 1-5 ปี คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 1 กลุ่ม กำหนดอำนาจทดสอบทางสถิติไม่ต่ำกว่า 0.8 (p < .05) เก็บข้อมูลฮอร์โมน IGF-I จากหลอดเลือดดำบริเวณข้อพับแขนวัดรอยพับของผิวหนัง แรงบีบมือ และการว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์ 100 เมตร เป็นเวลา 2 สัปดาห์โดยมีการฝึกซ้อมในช่วงการลดปริมาณและเพิ่มคุณภาพของการว่ายน้ำ (TAPER) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์          ผลการวิจัยพบว่าระดับฮอร์โมน IGF-I มีความสัมพันธ์ทางบวกแสดงว่าระดับฮอร์โมนมีค่าสูงขึ้นสัมพันธ์กับค่าตัวแปร ได้แก่ น้ำหนักตัว ส่วนสูง ความกว้างของช่วงแขน มวลกล้ามเนื้อ (r=.73, .87, .89, .83 ที่ p<.01 ตามลำดับ) และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน (r=.66, p<.05) นอกจากนี้ การว่ายน้ำยังส่งผลต่อระดับฮอร์โมน IGF-I และมีความสัมพันธ์ทางลบกับเวลาในการว่ายน้ำ แสดงถึงระดับฮอร์โมนเพิ่มมากเมื่อเวลาในการว่ายน้ำในท่าฟรีสไตล์ 100 เมตรลดลง ซึ่งแสดงถึงการมีประสิทธิภาพในการว่ายน้ำเพิ่มมากขึ้นด้วย             The purpose of this research was to study the correlation of IGF-I concentration, body composition, muscle strength and swimming time. The participants were 11 students from Assumption College Sriracha, Chonburi swimming club aged 9-15 years old, having 1-5 years swimming experience. The sample size was calculated based on the previous study with the power of test 0.8 (p < .05). Data were collected during the taper of the periodization. Measurement of IGF-I hormone levels from blood samples, skinfold thickness, and grip strength was conducted before and after freestyle 100-meter swimming for 2 weeks. The statistics employed were descriptive and multiple correlations.          The results showed that the IGF-I concentration was positively correlated, indicating that the hormone concentration was higher in relation to the variable values with body weight, height, arm span, fat-free mass (r=.73, .87, .89, .83, p<.01 respectively) and muscle strength (r=.66, p<.05). In addition, swimming also affects the level of IGF-I. There is also a negative correlation with swimming time, indicating a hormone IGF-I increase, when the swimming time reduced in the freestyle 100 m, indicating the increase of swimming efficiency.

Downloads