ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในกลุ่มที่มีรูปแบบการดื่มแบบเสี่ยงต่ำหรือเสี่ยงสูง

Authors

  • นุสรา ศรีกิจวิไลศักดิ์
  • สิริมา มงคลสัมฤทธิ์

Keywords:

โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตน, ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม, การดื่มแอลกอฮอล์รูปแบบเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำ

Abstract

รูปแบบการดื่มแอลกอฮอล์มี 4 รูปแบบ คือการดื่มแบบเสี่ยงต่ำ เสี่ยงสูง อันตรายและแบบติด ซึ่งในสองรูปแบบหลังจำเป็นต้องได้รับการบำบัดแต่สองรูปแบบแรกสามารถใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดหรือเลิกพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มที่มีรูปแบบการดื่มแบบเสี่ยงต่ำละเสี่ยงสูง ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตนและทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม โดยใช้รูปแบบการศึกษากึ่งทดลองกับกลุ่ม ทดลอง 35 คนและกลุ่มควบคุม 35 คน ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพสมรรถนะแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)ระดับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ มีความแตกต่างกัน(p<0.001) และระดับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังทดลองมีความแตกต่างกัน (p <0.001) ระดับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่พบพฤติกรรมการดื่มระดับสูง (>3วัน/สัปดาห์) มีเพียงกลุ่มพฤติกรรมการดื่มในระดับปานกลาง(1-3วัน/สัปดาห์) และระดับน้อย (≤4วัน/เดือน) ทั้งนี้ในกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงของระดับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ จากระดับปานกลางเป็นระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 64.71 (p<0.001) แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในกลุ่มควบคุม ดังนั้นการประยุกต์แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตนและทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในรูปแบบเสี่ยงต่ำหรือเสี่ยงสูงได้ There are four patterns of alcohol consumption; low risk drinker, hazardous drinker, harmful drinker and dependent drinker. The last two patterns require treatment for alcoholism and first two patterns may show improvement with a behavioral change program. The objectives of this study were to assess and further develop the effectiveness of behavioral change program for low risk or hazardous drinking individuals. The program was developed from the theory of health belief model self-efficacy theory and social support theory. The study design was quasi-experiment comprising 35 subjects and 35 controls. The result showed that after intervention, the significant increased mean scores of health belief model, self-efficacy and social support were found among the experimental group (p<0.001). The experimental group had significantly better alcohol consumption level than before the experimentation (p<0.001) and hadsignificantly different from the control group (p<0.001). The level of alcohol consumption, the only low level (< 4 days/month) and moderate level (1-3 days/week) was found in both groups. Following the program, the low level of alcohol consumption at the moderate level was statistically significant decreased (64.71%,P value < 0.001). No change was seen in the control group. Therefore, the use of the combined health belief model, self-efficacy theory and social support theory can be applied effectively in the reduction of alcohol consumption in low risk drinker and hazardous drinker individuals. 

Downloads