การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการศึกษาการกระจายความเข้มข้นของไอโอดีนในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • สุณีรัตน์ ยั่งยืน
  • ธิดารัตน์ สมดี
  • อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์
  • นฤเศรษฐ์ ประเสริฐศรี
  • สุวิมล สงกลาง

Keywords:

ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์, ไอโอดีน

Abstract

            การวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาความเข้มข้นของไอโอดีนในน้ำ ดิน และพืชผัก โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในพื้นที่บ้านหนองคู ต.หนองปลิง อ.เมือง จ. มหาสารคาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะแหล่งไอโอดีนในธรรมชาติ และเก็บตัวอย่างดิน น้ำบริโภค น้ำอุปโภคและพืชผัก จำนวน200 ตัวอย่าง เพื่อตรวจวิเคราะห์หาปริมาณไอโอดีน โดยใช้วิธี Sandell-Kolthoff reaction และวิธีของ Moxon และ Dixon สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการสำรวจแหล่งของไอโอดีนในธรรมชาติ พบว่า ส่วนใหญ่แหล่งน้ำอุปโภค-บริโภคคือน้ำฝน (ร้อยละ 40.0 และ ร้อยละ 90.0 ตามลำดับ) ลักษณะเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ร้อยละ 42.0 และมีสีดำเทาปนดำ หรือเทาแก่ ร้อยละ 42.0 ชนิดของผักที่ปลูกเป็นประเภทพืชสมุนไพร ร้อยละ 40.0 ผลการวิเคราะห์หาปริมาณไอโอดีนในน้ำพบว่า น้ำอุปโภคมีค่าเฉลี่ยของไอโอดีนในน้ำเท่ากับ 61.54 μg/l โดยน้ำฝนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (69.23 μg/l) และน้ำบริโภคซึ่งเป็นน้ำฝนมีค่าเฉลี่ยของไอโอดีนในน้ำเท่ากับ 71.25 μg/l ส่วนปริมาณไอโอดีนในดินมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 43.95 μg/100g โดยดินเหนียวที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนปริมาณไอโอดีนในพืชผัก พบว่าพืชผักมีปริมาณของไอโอดีน ระหว่าง 2.67-45.90μg/100g (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.45 μg/100g) ผักที่มีปริมาณไอโอดีนมากที่สุดคือ แมงลัก ต้นหอม มะเขือเทศ และกระถิน ตามลำดับ ส่วนการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อแสดงลักษณะการกระจายของปริมาณไอโอดีน พบว่า น้ำอุปโภค ส่วนใหญ่มีการกระจายอยู่ระหว่าง 40.01-60.00 μg/l น้ำบริโภค ส่วนใหญ่มีการกระจายอยู่ระหว่าง 50.01-65.00 μg/l ในดิน ส่วนใหญ่มีการกระจายอยู่ระหว่าง40.01-50.0 μg/100g และในพืชผัก ส่วนใหญ่มีการกระจายอยู่ระหว่าง 15.01-20.00 μg/100g ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถแสดงลักษณะการกระจายของปริมาณไอโอดีนในธรรมชาติได้ชัดเจนขึ้น โดยสามารถระบุพื้นที่ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการขาดสารไอโอดีน และใช้เป็นข้อมูลในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดสารไอโอดีน โดยการเสริมไอโอดีนในระบบห่วงโซ่อาหารต่อไป             This survey research was aimed to investigate the sources of iodine concentration in water, topsoil and local vegetables by applying Geographic Information System (GIS) at Ban Nong Koo, Nongpling Sub-district, Muang District, Mahasarakham Province. The concentration of iodine was analyzed with Sandell-Kolthoff reactionusing Moxon and Dixon Method from 200 randomly selected specimens taken from natural water source, topsoil and local vegetables. Descriptive statistics such frequency, percentage, mean, median, and standard deviation was used for data analysis. The results revealed that 40 % had rain water for domestic use and 90% hadrain water for consumption. Soil morphology and texture was Loamy-Sandy (42%) and Gray-Darkgray Loamy-Sandy (42%). The villagers cultivated mostly herb(40.0%). Average water iodine concentration in domestic use water was 61.54 μg/l.Rain water had the highest average concentration of iodine (69.23 μg/l), and rainwater for consumption had the average concentration of 71.25 μg/l. Average soil iodine concentration was 43.95 μg/100g, of which clay was the highest. Iodine concentrationin vegetables ranged from 2.67 to 45.90 μg/100g with an average of 20.45 μg/100g. The highest iodine concentration in vegetables was found in hairy basil (Ocimum basilicum L.f. var. citratum Back.), followed by green shallot (Alliumcepa var. aggregatum), tomato (Lycopersicon esculentum Mill.), and white popinac (Leucaena leucocephala Lamk. de Wit), respectively. GIS application revealed that iodine concentration in drinking water was 40.01-60.00 μg/l, and was 50.01-65.00 μg/l in domestic use, 40.01-50.0 μg/100g in soil, and 15.01-20.00 μg/100g in vegetables. The results of this study demonstrated that GIS application could illustrate a more vivid distribution of iodine concentration in natural sources. Iodine deficient areas could be identified, and used as the data source for iodine deficiency prevention programby future supplementation of iodine in the food chain.

Downloads