พัฒนาการและการบรรเลงวงเครื่องสายผสมเปียโน คณะเกตุดุริยาคม
Keywords:
เครื่องสายผสมเปียโน, คณะเกตุดุริยาคม, กระสวนทำนองAbstract
พัฒนาการและการบรรเลงวงเครื่องสายผสมเปียโน คณะเกตุดุริยาคม เป็นงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก โครงการสู่มหาวิทยาลัยวิจัย : Talent Management มหาวิทยาลัยมหิดล ผลการวิจัยพบว่า วงเครื่องสายผสมคณะเกตุดุริยาคมก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2491 พร้อมกันนั้นก็เกิดนักดนตรีอาชีพและนักดนตรีสมัครเล่นจากวงเครื่องสายผสมขึ้นเป็น จำนวนมาก คุณครูประกอบ สุกัณหะเกตุ หัวหน้าคณะเกตุดุริยาคม เป็นนักเรียนโรงเรียนนาฏดุริยางค์รุ่นแรก มีความชำนาญในการบรรเลงซอด้วงและไวโอลิน ท่านมีผลงานการประพันธ์มากกว่า 20 บทเพลง ขณะเดียวกันก็มีนักดนตรีอาชีพที่มีฝีมือเป็นจำนวนมากผลัดเปลี่ยนเข้ามาร่วมบรรเลง ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างไปจากคณะอื่น ๆ นิยมบรรเลงบทเพลงประเภทบังคับทางและกึ่งบังคับทาง พบว่าไวโอลิน มีการใช้กลวิธีพิเศษต่าง ๆ และดำเนินทำนองอย่างซอด้วง เช่น สำนวนการลงจบก่อนหมดจังหวะ สำนวนเก็บสลับกับสำนวนจาว ๆ สอดแทรกด้วยการลักจังหวะ เหลื่อมจังหวะในบทเพลง ขณะ เดียวกันก็พบการใช้กลวิธีพิเศษของซอด้วงในไวโอลิน เช่น การพรมนิ้ว สลับกับการโยกสาย (Vibrato) รวมถึงมีการใช้กลุ่มเสียงในไวโอลินได้อย่างครบถ้วนทุกสาย ภายใต้การประดิษฐ์ทำนองที่มีการไล่เรียงอย่างเป็นระเบียบ ในขณะที่เปียโดนมีรูปแบบการบรรเลงโดยใช้กระสวนทำนองผสมผสาน การใช้คอร์ดอย่างตะวันตก และมีการเลือกใช้คอร์ดในกลุ่มเสียงหลัก มือขวาทำหน้าที่บรรเลง ทำนองเก็บ สลับทำนองห่าง ๆ กลุ่มเครื่องดนตรีไทยทำหน้าที่บรรเลงทางกลาง ซึ่งมีลักษณะห่างๆ สลับกับการแปรทำนองเป็นส่วนใหญ่ เสียงประสานในเปียโนช่วยเสริมการบรรเลง ภายใต้รูปแบบ จังหวะที่เรียบง่าย และการเคลื่อนที่ของโน้ตซึ่งมีทิศทางสนับสนุนทางกลางได้อย่างชัดเจนในส่วนของการเทียบเสียงเครื่องดนตรีไทยในวงเครื่องสายผสมเปียโน พบว่าเครื่องสีจะถูกปรับเสียงให้สูง ขึ้น 1 เสียง และใช้ขลุ่ยกรวดหรือขลุ่ยเปียโน ซึ่งมีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออ 1 เสียง ทั้งนี้เพื่อให้ สามารถบรรเลงร่วมกันได้อย่างกลมกลืน “The Development and Principle of “ Ketduriyakom” Thai String Assembled Piano ” research project was funded by Mahidol University’s Project towards a Research University: Talent Management. The findings reveal that “Ketduriyakom” Thai string ensemble was established in 1948 when many professional and amateur musicians played in string ensemble bands. Khru Prakob Sukanhaket, “Ketduriyakom” band leader, was among the first batch of students of School of Music and Drama and proficient in the Treble Fiddle (Sor Duang) and the violin. He composed more than 20 numbers for the band. In addition, many skilled professional musicians take turns participating in the performance, a factor that makes “Ketduriyakom” stand out from other bands. The numbers performed are of both the principal melodic style without variation and the semi-principal melodic style. The violinist employs special techniques and plays the melodies in the style of the Treble Fiddler such as ending before the downbeat, semi-tapping and semi-lengthening the notes, producing thin texture and synchopating. Also, special Treble Fiddle techniques such as trilling alternating with vibrato are also found in the performance of the violin, which produces melodic patterns that are systematically arranged. The piano follows the melodic patterns combined with western chords in major keys, with the right hand playing denser melodies and less dense melodies alternatingly. The Thai instruments play Tang Klang (a type of main melodies) in alternation with variating the melodies. The piano helps harmonize the sounds in simple patterns and with the movement of the notes which clearly supports Tang Klang (a type of main melodies). Regarding the tuning of the Thai instruments in the Thai string ensemble combined with piano, the fiddles are tuned up to be one note higher than usual, and Kruad Flute or Piano Flute is used in place of Piang Or Flute because it is one note higher, so that all the instruments are played together harmoniously.Downloads
Issue
Section
Articles